เมืองคูบัว อ.เมืองราชบุรี จ.ราชบุรี เป็นเมืองโบราณสมัยทวารวดีที่มีคูน้ำและคันดินล้อมรอบ แผนผังเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามุมมน พบหลักฐานของการอยู่อาศัยเป็นชุมชนขนาดใหญ่ และศาสนสถานจำนวนมาก
ตั้งอยู่มุมด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือนอกคูเมืองของเมืองโบราณคูบัว ต.คูบัว อ.เมืองราชบุรี จ.ราชบุรี เป็นเจดีย์สมัยยทวารวดี ปัจจุบันหลงเหลืออยู่เพียงเฉพาะส่วนฐานเจดีย์สี่เหลี่ยมจัตุรัส ก่อด้วยอิฐ การขุดแต่งในปี พ.ศ.2504 พบผอบเงินที่ตอนกลางขององค์เจดีย์ ภายในเป็นผอบทองบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ 5 องค์
ตั้งอยู่นอกคูเมืองของเมืองโบราณคูบัวด้านทิศตะวันตก ต.คูบัว อ.เมืองราชบุรี จ.ราชบุรี เป็นโบราณสถานสมัยทวารวดี ขุดค้นพบประติมากรรมปูนปั้นที่นับว่ามีคุณค่ายิ่งต่อการศึกษาเกี่ยวกับวัฒนธรรมของผู้คนสมัยวัฒนธรรมทวารวดี เช่น ภาพบุคคลถูกมัดมือติดกันหรือภาพนักโทษ ภาพกลุ่มสตรีกำลังเล่นดนตรี ภาพเทวดา และภาพสตรี 2 คน (เจ้านายกับบ่าว) เป็นต้น
ตั้งอยู่ด้านทิศใต้นอกคูเมืองของเมืองโบราณคูบัว ต.คูบัว อ.เมืองราชบุรี จ.ราชบุรี เป็นเจดีย์ก่ออิฐสมัยทวารวดี โดยรอบพบโบราณวัตถุที่ทำด้วยดินเผามากกว่าโบราณสถานแห่งอื่นๆ ในเมืองคูบัว ทั้งชิ้นส่วนพระพุทธรูป พระโพธิสัตว์ เทวรูป เศียรยักษ์ ศีรษะคนต่างชาติ (แขก) หัวสิงโต ลวดลายประดับสถูป เป็นต้น
ตั้งอยู่ทิศใต้นอกเมืองโบราณคูบัว ต.คูบัว อ.เมืองราชบุรี จ.ราชบุรี สันนิษฐานว่าเป็นส่วนฐานของเจดีย์สมัยทวารวดี ที่มีการทำฐานยกเก็จหรือยกกระเปาะ ทำให้เกิดลักษณะคล้ายๆกับเสาประดับมุม อาจเปรียบเทียบได้กับงานสถาปัตยกรรมที่ร่วมสมัยกัน เช่น "กาลัน" ในศิลปะจาม “จันทิ” ในศิลปะชวากลาง หรือปราสาทขอมในสมัยก่อนเมืองพระนคร
ตั้งอยู่ภายในเมืองโบราณคูบัว ต.คูบัว อ.เมืองราชบุรี จ.ราชบุรี เป็นเจดีย์ขนาดใหญ่ สมัยทวารวดี เป็นเจดีย์ที่มีการยกเก็จขึ้นที่มุมทั้งสี่ ทำให้เกิดลักษณะคล้ายๆกับเสาประดับมุม อาจเปรียบเทียบได้กับงานสถาปัตยกรรมที่ร่วมสมัยกัน เช่น "กาลัน" ในศิลปะจาม “จันทิ” ในศิลปะชวากลาง หรือปราสาทขอมในสมัยก่อนเมืองพระนคร