โบราณสถานหมายเลข 8 เมืองคูบัว


โพสต์เมื่อ 4 มิ.ย. 2021

ชื่ออื่น : วัดคูบัว

ที่ตั้ง : ม.5 บ้านคูบัว

ตำบล : คูบัว

อำเภอ : เมือง

จังหวัด : ราชบุรี

พิกัด DD : 13.490725 N, 99.831167 E

เขตลุ่มน้ำหลัก : แม่กลอง

เขตลุ่มน้ำรอง : แม่น้ำอ้อม, ห้วยคูบัว, ห้วยชินสีห์

เส้นทางเข้าสู่แหล่ง

โบราณสถานหมายเลข ตั้งอยู่ภายในเมืองโบราณคูบัว ห่างจากวัดคูบัวไปทางทิศใต้ประมาณ 150 เมตร ตรงข้ามกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพเฉลิมพระเกียรติ ตำบลคูบัว

ประโยชน์ทางการท่องเที่ยว

เป็นแหล่งท่องเที่ยว

รายละเอียดทางการท่องเที่ยว

โบราณสถานหมายเลข ได้รับการดูแลรักษาและปรับปรุงภูมิทัศน์ค่อนข้างดี สามารถพัฒนาศักยภาพให้เป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญในเส้นทางทางท่องเที่ยวภายในเมืองโบราณคูบัวได้มากกว่าปัจจุบัน

หน่วยงานที่ดูแลรักษา

กรมศิลปากร

การขึ้นทะเบียน

ไม่ขึ้นทะเบียน

ภูมิประเทศ

ที่ราบ

สภาพทั่วไป

โบราณสถานหมายเลข ตั้งอยู่ในพื้นที่ด้านทิศเหนือภายในคูเมืองของเมืองโบราณคูบัว ห่างจากวัดคูบัวไปทางทิศใต้ประมาณ150 เมตร

ก่อนการขุดแต่งในปี พ..2504 โบราณสถานแห่งนี้มีสภาพเป็นเนินโบราณสถานรกร้าง บนซากโบราณสถานปกคลุมด้วยดิน วัชพืช และไม้ยืนต้น ปัจจุบันได้รับการขุดแต่ง บูรณะ และปรับปรุงภูมิทัศน์โดยกรมศิลปากร จนมีสภาพค่อนข้างดี

ความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง

10 เมตร

ทางน้ำ

คูเมืองห้วยคูบัว

สภาพธรณีวิทยา

[ดู เมืองคูบัว]

ยุคทางโบราณคดี

ยุคประวัติศาสตร์

สมัย/วัฒนธรรม

สมัยทวารวดี

อายุทางโบราณคดี

ราวพุทธศตวรรษที่ 13-15 / พ.ศ.1200-1500 / 1300-1000 BP

ประวัติการศึกษา

ชื่อผู้ศึกษา : สมศักดิ์ รัตนกุล

ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2504

วิธีศึกษา : ขุดแต่ง

องค์กรร่วม / แหล่งทุน : กรมศิลปากร

ผลการศึกษา :

สมศักดิ์ รัตนกุล ขุดแต่งโบราณสถานหมายเลข 8 เมืองคูบัว 3 ระยะ โดยระยะที่ 1 ระหว่างวันที่ 4-25 พฤษภาคม, ระยะที่ 2 ระหว่างวันที่ 4-20 สิงหาคม และระยะที่ 3 ระหว่างวันที่ 15 กันยายน–15 พฤศจิกายน พ.ศ.2504

ชื่อผู้ศึกษา : กรมศิลปากร

ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2537

วิธีศึกษา : ขุดแต่ง

องค์กรร่วม / แหล่งทุน : กรมศิลปากร

ผลการศึกษา :

พ.ศ.2537 กรมศิลปากรขุดแต่งทั้งเนินโบราณสถานอีกครั้ง

ชื่อผู้ศึกษา : กรมศิลปากร

ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2538

วิธีศึกษา : บูรณปฏิสังขรณ์

องค์กรร่วม / แหล่งทุน : กรมศิลปากร

ผลการศึกษา :

พ.ศ.2538 กรมศิลปากรบูรณะและเสริมความมั่นคง

ประเภทของแหล่งโบราณคดี

ศาสนสถาน

สาระสำคัญทางโบราณคดี

สันนิษฐานว่าโบราณสถานหมายเลข 8 เป็นฐานของเจดีย์ขนาดใหญ่ ก่อด้วยอิฐ

ในชุดฐานชั้นล่างหรือชั้นที่ 1 ส่วนล่างสุดเป็นฐานก่อด้วยอิฐขนาดใหญ่ ผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ความยาวด้านละประมาณ 20.8เมตร ถัดขึ้นไปเป็นฐานบัว รองรับฐานหน้ากระดานที่มีการเจาะเป็นช่องขนาดเท่าๆกันโดยรอบ เหนือขึ้นไปเป็นฐานชั้นที่ 2 ในฐานชั้นที่ 1 นี้ พบร่องรอยปูนฉาบบางส่วน

ฐานชั้นที่ 2 เป็นฐานบัวยกเก็จในผังสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีการย่อมุม ส่วนท้องไม้เจาะเป็นช่องสี่เหลี่ยม

ส่วนบนของเจดีย์ไม่ปรากฏรูปแบบที่แน่ชัด

.ดร.ศักดิ์ชัย สายสิงห์ (2547 : 112) ให้ความเห็นว่าการทำฐานยกเก็จหรือยกกระเปาะ ทำให้ผนังอาคารเกิดเป็นช่อง เกิดความสวยงาม และคงมีวัตถุประสงค์เพื่อการประดับงานประติมากรรมด้วย เจดีย์ที่มีการยกเก็จขึ้นที่มุมทั้งสี่ ทำให้เกิดลักษณะคล้ายๆกับเสาประดับมุม ลักษณะเช่นนี้อาจเปรียบเทียบได้กับงานสถาปัตยกรรมที่ร่วมสมัยกัน เช่น ปราสาทของศิลปะจามในระยะแรกๆ ที่เรียกว่า “กาลัน” และ “จันทิ” ในศิลปะชวากลาง หรือปราสาทขอมในสมัยก่อนเมืองพระนคร

ผู้เรียบเรียงข้อมูล-ผู้ดูแลฐานข้อมูล

ทนงศักดิ์ เลิศพิพัฒน์วรกุล

บรรณานุกรม

ระบบฐานข้อมูลแหล่งมรดกทางศิลปวัฒนธรรม และระบบภูมิสารสนเทศ โครงการสำรวจแหล่งมรดกทางศิลปวัฒนธรรม [Online]. Accessed 30 March 2011. Available from http://www.gis.finearts.go.th

ศักดิ์ชัย สายสิงห์ศิลปะทวารวดี วัฒนธรรมพุทธศาสนายุคแรกเริ่มในดินแดนไทยกรุงเทพฯ เมืองโบราณ, 2547.

สมศักดิ์ รัตนกุลโบราณคดีเมืองคูบัวกรุงเทพฯ กรมศิลปากร (จัดพิมพ์เนื่องในงานพระราชทานเพลิงศพ ว่าที่ ร..สมศักดิ์ รัตนกุล), 2535.

สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณสถานแห่งชาติที่ ราชบุรีคูบัว ความสัมพันธ์กับชุมชนทวารวดีในบริเวณใกล้เคียงกรุงเทพฯ กรมศิลปากร, 2541.