ถ้ำไทร1


โพสต์เมื่อ 4 มิ.ย. 2021

ที่ตั้ง : ม.3 บ้านพุไทร ต.ห้วยแม่เพรียง อ.แก่งกระจาน

ตำบล : ห้วยแม่เพรียง

อำเภอ : แก่งกระจาน

จังหวัด : เพชรบุรี

พิกัด DD : 12.850889 N, 99.544639 E

เขตลุ่มน้ำหลัก : เพชรบุรี

ประโยชน์ทางการท่องเที่ยว

ไม่เป็นแหล่งท่องเที่ยว

หน่วยงานที่ดูแลรักษา

กรมศิลปากร

การขึ้นทะเบียน

ไม่ขึ้นทะเบียน

ภูมิประเทศ

ถ้ำ/เพิงผา

สภาพทั่วไป

ถ้ำไทรเป็นถ้ำหินปูนขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของเทือกเขาสามยอด ซึ่งเป็นเทือกเขาหนึ่งในเขตเทือกเขาตะนาวศรีในพื้นที่ทางทิศตะวันตกของจังหวัดเพชรบุรี

สภาพทั่วไปบริเวณนอกถ้ำเป็นป่า มีต้นไม้ขึ้นปกคลุม ช่องทางเข้าสู่ถ้ำมีหลายแห่ง แต่ช่องทางหลักอยู่ทางด้านทิศตะวันออก ภายในถ้ำคูหาแรกมีขนาดใหญ่ อยู่ลึกลงไปจากปากถ้ำประมาณ 20 เมตร ขนาดกว้างประมาณ 180 ตารางเมตร แสงสว่างสามารถส่องลอดเข้ามายังบริเวณด้านหน้าของคูหาได้ พื้นคูหาของถ้ำมีดินทับถมอยู่ค่อนข้างหนา บางแห่งมีร่องรอยการขุดมูลค้างคาว ทางด้านใต้มีหลืบคูหาถ้ำเล็กๆยาวเข้าไป

ความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง

230 เมตร

ทางน้ำ

ห้วยมะเร็ว

สภาพธรณีวิทยา

ถ้ำไทร1 เป็นถ้ำหินปูนขนาดใหญ่ในเทือกเขาสามยอด ซึ่งเป็นเทือกเขาหินปูนยุคเพอร์เมียน (Permian period อายุประมาณ 286-245 ล้านปีมาแล้ว) ในเขตเทือกเขาทางทิศตะวันตกของจังหวัดเพชรบุรีและของประเทศไทย

พื้นที่บริเวณนี้จัดอยู่ในพื้นที่เขตเทือกเขาและที่ราบหุบเขาบ้านพุไทร ซึ่งอยู่ห่างจากเขื่อนแก่งกระจานไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ กิโลเมตร สภาพพื้นที่เป็นที่ราบลูกคลื่นลอนชัน ความลาดชัน 4-6 % ความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ140-300 เมตร ด้านทิศเหนือและทิศตะวันตกติดต่อกับเขตเขาดอกไม้และเขามะเร็ว ส่วนด้านทิศใต้เป็นภูเขาหินปูนขนาดใหญ่ ชื่อ “เขาสามยอด” มีห้วยมะเร็ว ซึ่งเป็นลำห้วยขนาดเล็กไหลหล่อเลี้ยงพื้นที่ ปัจจุบันอยู่ในสภาพตื้นเขิน ไม่มีน้ำในฤดูแล้ง นอกจากนี้ระหว่างพื้นที่ราบหุบเขายังมีภูเขาหินปูนลูกโดดขนาดเล็กหลายลูกแทรกตัวสลับอยู่ 

ยุคทางโบราณคดี

ยุคก่อนประวัติศาสตร์

สมัย/วัฒนธรรม

สมัยหินใหม่

อายุทางโบราณคดี

6,000-4,000 ปีมาแล้ว, 3,500-1,500 ปีก่อนพุทธศักราช

ประวัติการศึกษา

ชื่อผู้ศึกษา : พยุง วงษ์น้อย, เดชา สุดสวาท

ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2545

วิธีศึกษา : สำรวจ, ขุดตรวจ

องค์กรร่วม / แหล่งทุน : กรมศิลปากร

ผลการศึกษา :

พ.ศ.2545 สำนักงานศิลปากรที่ 1 ราชบุรี ดำเนินการสำรวจแหล่งโบราณคดีถ้ำไทร1 และขุดตรวจทางโบราณคดี ณ แหล่งโบราณคดีแห่งนี้ระหว่างวันที่ 6-19 มีนาคม พ.ศ.2545 ใน “โครงการศึกษาวิจัยพัฒนาการของชุมชนก่อนประวัติศาสตร์ต้นแม่น้ำเพชรบุรี” หลุมขุดตรวจดังกล่าวมีจำนวน 2 หลุม ได้แก่ หลุมขุดตรวจสอบ A1 และ B5 ทั้ง 2 หลุม มีขนาด 2x2 เมตร โดยหลุม A1 อยู่บริเวณทิศตะวันตกเฉียงใต้ภายในคูหาใหญ่ ส่วนหลุม B5 อยู่กลางคูหาของถ้ำไทร1

ประเภทของแหล่งโบราณคดี

แหล่งอยู่อาศัย

สาระสำคัญทางโบราณคดี

การสำรวจและขุดตรวจทางโบราณคดีในปี พ.ศ.2545 พบหลักฐานทางโบราณคดีตั้งแต่ระดับผิวดินจนถึงระดับความลึกประมาณ 120 ซ.ม. (ประมาณ -180 cm.dt.)

โบราณวัตถุที่สำคัญที่พบจากแหล่งโบราณคดีแห่งนี้ ได้แก่ ขวานหินขัด (รูปสี่เหลี่ยมคางหมู ไม่มีบ่า ขนาดกว้าว 4.6 .ยาว 6.1 .และหนา ..) เศษภาชนะดินเผาเนื้อดิน (จากการสำรวจพบชิ้นส่วนของหม้อก้นกลม ส่วนเศษภาชนะดินเผาที่ได้จากการขุดค้นพบว่าเป็นเศษภาชนะดินเผาที่มีเนื้อภาชนะหยาบ มีปริมาณเม็ดกรวดทรายปนอยู่มาก ความหนา 0.2-0.5 .ขึ้นรูปด้วยมือ เผาด้วยอุณหภูมิต่ำ ทำให้ภาชนะดินเผาสุกไม่ทั่วถึงกัน ผิวภาชนะมีสีน้ำตาลดำ ส่วนการตกแต่งที่ผิวส่วนใหญ่ไม่สามารถพิจารณาได้แน่ชัด เนื่องจากความผุกร่อน ชิ้นที่ศึกษาได้ก็พบว่าผิวภาชนะเรียบชิ้นส่วนเครื่องประดับ ทำจากกระดูกสัตว์หรือเขาสัตว์ (ขนาดกว้าง 0.9 .ยาว 3.6 .และหนา 0.6 .ลักษณะเป็นรูปวงโค้ง ด้านหลังเรียบแบน ส่วนหนึ่งมีรอยปาดโค้ง ด้านหน้าเป็นสันนูนโค้ง ขอบด้านนอกลาดโค้ง ขอบด้านในตัดเอียงลาดเล็กน้อย บนสันนูนมีรอยตกแต่งด้วยการใช้วัตถุปลายแหลมขนาดเล็กกดหรือตอกให้เป็นจุดเล็กๆเรียงต่อกันเป็นรูปสามเหลี่ยมหลายรูปเรียงต่อเนื่องกัน ส่วนปลายด้านหนึ่งตัดตรง อีกด้านหนึ่งหักชำรุดกระดูกของสัตว์ขนาดเล็ก และเปลือกหอยฝาเดียว

จากสภาพแวดล้อมที่เป็นภูเขา หุบเขา ปกคลุมด้วยป่าไม้ และมีลำห้วยไหลผ่าน รวมไปถึงข้อมูลที่ได้จากหลักฐานทางโบราณคดีที่ สันนิษฐานได้ว่าในช่วงเวลาราว 6,000 – 4,000 ปีมาแล้ว ได้มีมนุษย์เข้ามาใช้พื้นที่ภายในถ้ำไทร1 เพื่อเป็นที่อยู่อาศัยหรือที่พักพิงชั่วคราว เช่น เป็นที่พักชั่วคราวหรือที่พักค้างแรมขณะล่าสัตว์และหาของป่า เป็นต้น

(พยุง วงษ์น้อย และเดช สุดสวาท 2547)

ผู้เรียบเรียงข้อมูล-ผู้ดูแลฐานข้อมูล

ทนงศักดิ์ เลิศพิพัฒน์วรกุล

บรรณานุกรม

พยุง วงษ์น้อย และเดชา สุดสวาท. พัฒนาการของชุมชนก่อนประวัติศาสตร์ต้นแม่น้ำเพชบุรีราชบุรีสำนักงานศิลปากรที่ ราชบุรี, 2547.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง