โพสต์เมื่อ 13 ก.ค. 2020
ชื่ออื่น : เตาโบราณบ้านหมอสอ
ที่ตั้ง : ม.8 บ้านหมอสอ ต.พระแท่น (เทศบาลตำบลพระแท่นลำพระยา) อ.ท่ามะกา
ตำบล : พระแท่น
อำเภอ : ท่ามะกา
จังหวัด : กาญจนบุรี
พิกัด DD : 13.997089 N, 99.806282 E
เขตลุ่มน้ำหลัก : แม่กลอง
เขตลุ่มน้ำรอง : ลำหมอสอ
จากตัวอำเภอท่ามะกา (บริเวณหน้าที่ว่าการอำเภอ) ใช้ถนนแสงชูโต (ทางหลวงหมายเลข 323) ประมาณ 5 กิโลเมตร ถึงสี่แยกตำบลท่าเรือ ให้เลี้ยวขวาใช้ทางหลวงหมายเลข 3081 ไปตามถนนประมาณ 7.3 กิโลเมตร พบทางหลวงชนบทหมายเลข กจ.4026 ทางขวามือ ให้เลี้ยวขวาใช้ถนนเส้นดังกล่าว มุ่งหน้าตำบลพระแท่น ไปตามถนน 3.8 กิโลเมตร (บริเวณบ้านหมอสอ) จะพบป้าย “เตาเผาโบราณบ้านหมอสอ” และ “ศูนย์แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เตาเผาโบราณและวัฒนธรรมไทยทรงดำ บ้านหมอสอ หมู่ที่ 8” ทางซ้ายมือ เลี้ยวซ้ายใช้ถนนเข้าบ้านชาวบ้านไปอีกประมาณ 50 เมตร ถึงเตาเผาโบราณบ้านหมอสอ
เตาโบราณบ้านหมอสอได้รับการขุดค้นขุดแต่งและศึกษาจากกรมศิลปากรแล้ว โดยการสนับสนุนเป็นอย่างดีจากท้องถิ่น และได้สร้างหลังคาคลุมทั้ง 2 เตา นอกจากนั้นท้องถิ่นยังได้พัฒนาพื้นที่ให้เป็นแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับเตาเผาโบราณและวัฒนธรรมไทยทรงดำของบ้านหมอสอ และเนื่องจากเตาโบราณตั้งอยู่ในพื้นที่ “ศาลเจ้าพ่อปิ่นแก้วและศาลเจ้าแม่มะลิซ้อน” และลานบุญของหมู่บ้าน ทั้งยังเป็นมรดกวัฒนธรรมสำคัญของหมู่บ้าน เตาโบราณจึงได้รับความเคารพและการอนุรักษ์ดูแลจากเจ้าของที่ดิน ท้องถิ่น และชาวบ้านหมอสอ
ปัจจุบันเตาโบราณบ้านหมอสอมีจำนวน 2 เตา (เตาหมายเลข 1 และเตาหมายเลข 2) ตั้งอยู่ภายในที่ดินของนางสมปอง บัวผัน (บ้านเลขที่ 19) และนางจำปี แฮวอู (บ้านเลขที่ 4) โดยทั้งสองเป็นญาติพี่น้องกัน (นางสมปองเป็นพี่สะใภ้ของนางจำปี) และเตาก็ตั้งอยู่ระหว่างบ้านทั้ง 2 หลัง ที่ดินผืนนี้แม้ว่าจะเป็นที่ดินมีโฉนด แต่เจ้าของที่ดินก็อนุญาตให้ใช้เป็นที่สาธารณะ เนื่องจากเป็นที่ตั้งของศาลเจ้าที่ประจำหมู่บ้าน ด้านทิศเหนือของเตาติดกับพื้นที่เกษตรกรรมและบ่อน้ำ ส่วนด้านอื่นๆ เป็นบ้านเรือน
อย่างไรก็ตาม จากการสำรวจพบว่าป้ายของเตาโบราณมีสภาพชำรุด หลุดล้มลง สิ่งของจัดแสดง อาคารศูนย์เรียนรู้ และป้ายนิทรรศการอยู่ในสภาพที่ค่อนข้างขาดการดูแลเท่าที่ควร อีกทั้งเนื่องจากแหล่งเตาตั้งอยู่ในพื้นที่บ้านเรือนราษฎร ทำให้มีรถบรรทุกขนาดใหญ่ที่ขนส่งสินค้าทางการเกษตรเข้ามาจอดอยู่เสมอ
ชาวบ้านหมอสอซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวไทยทรงดำ ยังคงพยายามรักษาวัฒนธรรมของตนไว้ได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะด้านภาษาและพิธีต่างๆ เช่น งานบุญเดือน 6 (งานบุญประจำปี) พิธีเสนเฮือน มีการใช้พื้นที่แหล่งเตาเป็นศูนย์แลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านวัฒนธรรมของไทยทรงดำ มีการติดตั้งป้ายให้ข้อมูลเกี่ยวกับวัฒนธรรมไทยทรงดำและเตาเผาโบราณ รวมทั้งจัดแสดงข้าวของเครื่องใช้ของชาวไทยทรงดำในบริเวณเตาหมายเลข 2 ในงานบุญเดือน 6 จะมีการจัดพิธีทำบุญประจำปีบริเวณที่ตั้งศาลเจ้าพ่อปิ่นแก้ว-เจ้าแม่มะลิซ้อนหรือบริเวณแหล่งเตานี้
ผู้สนใจสามารถเข้าเยี่ยมชมเตาโบราณบ้านหมอสอได้ทุกวัน โดยไม่เสียค่าเข้าชม
หมายเลขโทรศัพท์เทศบาลตำบลพระแท่น 034-603-613-4
นางสมปอง บัวผัน (เจ้าของที่ดินและผู้ดูแล), นางจำปี แฮวอู (เจ้าของที่ดินและผู้ดูแล), เทศบาลตำบลพระแท่นลำพระยา
แหล่งเตาเผาโบราณบ้านหมอสอ อยู่ในพื้นที่ตำบลพระแท่น อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี สภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นที่ราบลุ่มที่เกิดจากการทับถมของตะกอนน้ำพาในยุคควอเทอร์นารี บ้านหมอสอที่เป็นที่ตั้งของเตาเป็นเนินดินเตี้ยๆ ริมตลิ่งลำหมอสอหรือคลองหมอสอ (ไหลผ่านด้านทิศเหนือและตะวันออกของเนินดิน) ปัจจุบันตัวเตาเผาอยู่ห่างจากลำหมอสอในปัจจุบันประมาณ 120 เมตร ซึ่งในอดีตก่อนที่จะสร้างเขื่อนวชิราลงกรณ์ ลำหมอสอเคยมีระดับน้ำขึ้นมาสูงถึงชายตลิ่งที่ห่างจากเตาเผาเพียง 35 เมตรเท่านั้น
ลำหมอสอนี้สามารถเชื่อมต่อได้กับแม่น้ำแม่กลองทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ บริเวณที่เรียกว่า “อ่าวท่าสาร” ในเขต ต.ท่าเรือ (ปัจจุบันตัวเตาห่างจากแม่น้ำแม่กลองมาทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 7.5 กิโลเมตร) และเชื่อมต่อได้กับลำห้วยยางทางทิศตะวันออก ซึ่งเป็นลำห้วยที่ไหลผ่านด้านทิศเหนือของชุมชนโบราณกำแพงแสน ต่อเนื่องออกสู่แม่น้ำท่าจีนได้บริเวณวัดบางปลา อ.บางเลน จ.นครปฐม
ปัจจุบันเตาโบราณบ้านหมอสอมีจำนวน 2 เตา (เตาหมายเลข 1 และเตาหมายเลข 2) ตั้งอยู่ภายในที่ดินของนางสมปอง บัวผัน (บ้านเลขที่ 19) และนางจำปี แฮวอู (บ้านเลขที่ 4) โดยทั้งสองเป็นญาติพี่น้องกัน (นางสมปองเป็นพี่สะใภ้ของนางจำปี) และเตาก็ตั้งอยู่ระหว่างบ้านทั้ง 2 หลัง ที่ดินผืนนี้แม้ว่าจะเป็นที่ดินมีโฉนด แต่เจ้าของที่ดินก็อนุญาตให้ใช้เป็นที่สาธารณะ เนื่องจากเป็นที่ตั้งของศาลเจ้าที่ประจำหมู่บ้าน ด้านทิศเหนือของเตาติดกับพื้นที่เกษตรกรรมและบ่อน้ำ ส่วนด้านอื่นๆ เป็นบ้านเรือน
แม่น้ำแม่กลอง, ลำหมอสอ
ที่ราบลุ่มที่เกิดจากการทับถมของตะกอนน้ำพาในสมัยโฮโลซีน
ชื่อผู้ศึกษา : เขมชาติ เทพไชย, วสันต์ เทพสุริยานนท์, จตุรพร สุขอินทร์, คำภา วุฒิไกรกัลยา
ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2543
วิธีศึกษา : สำรวจ
ผลการศึกษา :
วันศุกร์ที่ 1 ธันวาคม 2543 นายเขมชาติ เทพไชย ผู้อำนวยการสำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ 2 สุพรรณบุรี ได้รับแจ้งจากนายจตุรพร สุขอินทร์ ผู้สื่อข่าวท้องถิ่นหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ประจำจังหวัดกาญจนบุรีว่าได้พบแหล่งเตาโบราณที่ ต.พระแท่น อ.ท่ามะกา จึงได้เดินทางมาตรวจสอบข้อเท็จจริงพร้อมด้วยนายวสันต์ เทพสุริยานนท์ นักโบราณคดี ในวันเสาร์ที่ 2 ธันวาคม 2543 โดยมีนายจตุรพร สุขอินทร์ และนางคำภา วุฒิไกรกัลยา ผู้ใหญ่บ้าน ม.8 บ้านหมอสอ เป็นผู้นำสำรวจชื่อผู้ศึกษา : กรมศิลปากร
ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2545
ผลการศึกษา :
สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ 2 สุพรรณบุรี ได้รับจัดสรรงบประมาณจากกรมศิลปากร เพื่อดำเนินการขุดแต่งและขุดค้นทางโบราณคดีที่แหล่งเตาโบราณบ้านหมอสอในเดือนพฤษภาคม โดยได้รับความอนุเคราะห์อย่างดียิ่งจาก อ.บ.ต.พระแท่น นายขอม บัวผัน เจ้าของที่ดิน (เสียชีวิตแล้ว เป็นสามีของนางสมปอง บัวผัน เจ้าของที่ดินในปัจจุบัน) นางคำภา-นายอำนาจ วุฒิไกลกัลยา ตลอดจนชาวบ้านในพื้นที่แหล่งเตาเผาโบราณบ้านหมอสอ อยู่ในพื้นที่ตำบลพระแท่น อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี สภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นที่ราบลุ่มที่เกิดจากการทับถมของตะกอนน้ำพาในยุคควอเทอร์นารี บ้านหมอสอที่เป็นที่ตั้งของเตาเป็นเนินดินเตี้ยๆ ริมตลิ่งลำหมอสอหรือคลองหมอสอ (ไหลผ่านด้านทิศเหนือและตะวันออกของเนินดิน) ปัจจุบันตัวเตาเผาอยู่ห่างจากลำหมอสอในปัจจุบันประมาณ 120 เมตร ซึ่งในอดีตก่อนที่จะสร้างเขื่อนวชิราลงกรณ์ ลำหมอสอเคยมีระดับน้ำขึ้นมาสูงถึงชายตลิ่งที่ห่างจากเตาเผาเพียง 35 เมตรเท่านั้น
ลำหมอสอนี้สามารถเชื่อมต่อได้กับแม่น้ำแม่กลองทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ บริเวณที่เรียกว่า “อ่าวท่าสาร” ในเขต ต.ท่าเรือ (ปัจจุบันตัวเตาห่างจากแม่น้ำแม่กลองมาทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 7.5 กิโลเมตร) และเชื่อมต่อได้กับลำห้วยยางทางทิศตะวันออก ซึ่งเป็นลำห้วยที่ไหลผ่านด้านทิศเหนือของชุมชนโบราณกำแพงแสน ต่อเนื่องออกสู่แม่น้ำท่าจีนได้บริเวณวัดบางปลา อ.บางเลน จ.นครปฐม
ในสมัยโบราณเส้นทางน้ำเหล่านี้คงเป็นเส้นทางคมนาคมที่สำคัญในการติดต่อระหว่างคนต่างพื้นที่ การที่ลำคลองหมอสอสามารถเชื่อมต่อกับเส้นทางน้ำอื่นๆ ได้ โดยเฉพาะแม่น้ำแม่กลองและแม่น้ำท่าจีน จึงอธิบายได้ว่าสิ่งที่ผลิตจากแหล่งเตาโบราณบ้านหมอสอสามารถส่งออกเป็นสินค้าไปจำหน่ายให้กับคนต่างพื้นที่โดยเส้นทางน้ำดังกล่าว
ชุมชนโบราณใกล้กับแหล่งเตา เช่น ชุมชนโบราณกำแพงแสน (อยู่ห่างออกไปทางทิศตะวันออกประมาณ 18 กิโลเมตร) ชุมชนโบราณพงตึก (อยู่ห่างออกไปทางทิศตะวันตกประมาณ 14 กิโลเมตร) ชุมชนวัดพระแท่นดงรัก (ชุมชนขนาดใหญ่สมัยอยุธยา ห่างออกไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ 3.5 กิโลเมตร)
เตาหมายเลข 2 ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเตาหมายเลข 1 ปัจจุบันมีการสร้างอาคารคลุมทั้ง 2 เตา (เสาเป็นคอนกรีต โครงสร้างหลังคาเป็นโครงเหล็ก กระเบื้องลอน ไม่มีผนัง) ก่อรั้วอิฐเตี้ยๆ และราวเหล็กโดยรอบ
ทั้ง 2 เตา ได้รับการขุดค้นขุดแต่งจากกรมศิลปากรแล้ว โดยเตาหมายเลข 2 อยู่ลึกลงไปจากผิวดินใช้งานปัจจุบัน ส่วนเตาหมายเลข 1 อยู่สูงกว่าพื้นใช้งานปัจจุบันเล็กน้อย สภาพเตาภายในพื้นที่ล้อมรั้วในปัจจุบันอยู่ในสภาพดี แสดงถึงการได้รับการดูแลเก็บกวาดอยู่สม่ำเสมอ พื้นที่รอบเตา (นอกรั้ว) มีเศษอิฐและเศษภาชนะดินเผาเนื้อดินกระจายอยู่ทั่วไป ไม่หนาแน่น
เตาเผาโบราณบ้านหมอสอทั้ง 2 เตาที่ขุดค้นศึกษาพบว่าเป็นเตาเผาระบบน้ำความร้อนขึ้น (updraft kiln) เป็นเตาทรงกลมขนาดใหญ่ ไม่น่าจะมีส่วนหลังคาเตา สร้างเตาบนเนินดินธรรมชาติหรือขุดเนินลาดริมตลิ่งเข้าไปเพื่อสร้างเตา พื้นเตาอัดดินเรียบแน่น ขอบเตาก่อด้วยอิฐซ้อนกัน 2-3 ก้อน จากนั้นจึงพอกด้วยดินเหนียวเป็นผนังหนา สูงประมาณ 1.3-1.5 เมตร ส่วนล่างของเตาสำหรับใส่เชื้อเพลิง กั้นด้วยอิฐสอดินเรียงเป็นแท่นสำหรับวางวัตถุที่จะนำมาเผา
หลักฐานจากเตาเผาโบราณบ้านหมอสอ พบเศษภาชนะดินเผาน้อย ไม่พบเศษภาชนะดินเผาที่เสียจากการเผา แต่กลับพบชั้นปูนขาวที่ริมคลองหมอสอ ประกอบกับพบเศษปูนขาวที่ติดอยู่กับก้อนอิฐหลายก้อนภายในตัวเตา ผู้ขุดค้นจึงสันนิษฐานว่าเตาเผานี้น่าจะเป็นเตาปูนขาวสมัยโบราณ สามารถกำหนดอายุจากโบราณวัตถุที่พบได้ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 21-22 หรือสมัยอยุธยาตอนปลาย หรือราว 300-250 ปีมาแล้ว
แหล่งเตาเผาแห่งนี้นับน่าจะเป็นแหล่งผลิตอุตสาหกรรมผลิตปูนขาวที่มีขนาดใหญ่และสำคัญแห่งหนึ่งในแถบภูมิภาคตะวันตกของประเทศไทยในช่วงสมัยปลายกรุงศรีอยุธยา การเกิดขึ้นของชุมชนและแหล่งเตาน่าจะสัมพันธ์กับการค้นพบองค์พระแท่น และการสร้างวัดพระแท่นดงรัง รวมทั้งโบราณสถานที่อยู่ใกล้เคียง ส่วนการร้างไปของชุมชนและกิจกรรมในแหล่งเตาเผาน่าจะสืบเนื่องจากภัยสงครามในช่วงเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 จนถึงต้นกรุงรัตนโกสินทร์
วัตถุดิบประเภทหินปูนที่นำมาผลิตปูนขาวที่เตาแห่งนี้ น่าจะมาจากพื้นที่ใกล้เคียงในจังหวัดกาญจนบุรีและจังหวัดใกล้เคียงในภาคตะวันตก และผลผลิตที่ได้ก็น่าจะส่งขายทางเรือไปยังท้องถิ่นต่างๆ ทั่วทั้งภาคตะวันตกและภาคกลางในรูปแบบปูนก้อนหรือปูนที่ตำให้แตกและมีขนาดเล็กลงเพื่อง่ายต่อการขนส่ง
ชุมชนโบราณใกล้กับแหล่งเตา เช่น ชุมชนโบราณกำแพงแสน (อยู่ห่างออกไปทางทิศตะวันออกประมาณ 18 กิโลเมตร) ชุมชนโบราณพงตึก (อยู่ห่างออกไปทางทิศตะวันตกประมาณ 14 กิโลเมตร) ชุมชนวัดพระแท่นดงรัก (ชุมชนขนาดใหญ่สมัยอยุธยา ห่างออกไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ 3.5 กิโลเมตร)
อย่างไรก็ตาม เตาเผานี้ยังอาจใช้เผาภาชนะดินเผาเนื้อดินใช้ในชุมชนด้วย แต่น่าจะเป็นกิจกรรมเสริมในการใช้งานจากเตาเผา
นอกจากนี้ ผู้ขุดค้นยังพบว่าบริเวณฝั่งตรงข้ามคลองหมอสอกับแหล่งเตา ยังปรากฏซากกองอิฐโบราณในไร่อ้อย ซึ่งเชื่อว่าน่าจะเป็นซากเจดีย์สมัยอยุธยา และมีเศษภาชนะร่วมสมัยดังกล่าวกระจายอยู่ทั่วไปในบริเวณไร่อ้อย
ที่ด้านหน้าหรือด้านทิศใต้ของเตาหมายเลข 2 หรือด้านทิศตะวันตกของเตาหมายเลข 1 เป็นที่ตั้งของ “ศาลเจ้าพ่อปิ่นแก้วและศาลเจ้าแม่มะลิซ้อน” ศาลเจ้าที่ประจำหมู่บ้าน (จากการสัมภาษณ์ทำให้ได้ข้อมูลว่าพื้นที่บริเวณนี้ทั้งในอดีตและปัจจุบันใช้เป็นลานบุญของหมู่บ้าน) ส่วนด้านทิศเหนือ ตะวันออก และใต้ ของเตาหมายเลข 1 ยังมีศาลพระภูมิเจ้าที่ตั้งอยู่อีกด้านละ 1 ศาล
บริเวณเตาหมายเลข 2 เป็นที่ตั้งของ “ศูนย์ประสานงานเครือข่ายมรดกศิลปวัฒนธรรมบ้านหมอสอ” และเป็นพื้นที่จัดแสดงเครื่องมือเครื่องใช้พื้นบ้านของชาวไทยทรงดำบ้านหมอสอวางจัดแสดงอยู่ เช่น กี่ทอผ้า เตา ภาชนะดินเผา อุปกรณ์จักสานต่างๆ
ส่วนประวัติความเป็นมาของชาวไทยทรงดำบ้านหมอสอนั้น บรรพบุรุษอพยพมาจาก ต.เขาย้อย จ.เพชรบุรี เดินทางด้วยวัวเทียมเกวียนมาพบบริเวณพื้นที่แห่งนี้ซึ่งเป็นที่ราบลุ่ม มีป่า และลุ่มน้ำหมอสอปลาชุกชุม พื้นที่สามารถทำไร่ทำนาได้ เหมาะกับการตั้งถิ่นฐาน จึงตั้งบ้านเรือนอยู่อาศัย เวลาผ่านไปจึงกลายเป็นชุมชนที่ใหญ่ขึ้นจนกระทั่งปัจจุบัน
รายละเอียดของการศึกษาแต่ละเตาโดยกรมศิลปากร
เตาหมายเลข 1 ก่อนการขุดค้นศึกษาทางโบราณคดีพบเพียงเตาโบราณหมายเลข 1 เพียงเตาเดียว อยู่ในพื้นที่ของนายขอม บัวผัน เป็นเตาทรงกลมแบบเปิด ไม่มีหลังคา ชนิดระบายความร้อนขึ้น (updraft kiln) ตัวเตาทำด้วยดินเหนียว มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 4 เมตร ผนังเตาสูงจากพื้นประมาณ 50 เซนติเมตร ขอบเตาด้านล่างพบอิฐก่อเรียงเป็นฐานซ้อนกัน 2-3 ก้อน และพบอิฐขนาดเดียวกันกระจัดกระจายอยู่ภายในเตา ที่ผนังเตาพบน้ำเคลือบเยิ้มไหลติดอยู่ แสดงให้ทราบว่าเตานี้เคยมีการเผาไหม้ด้วยความร้อนสูงจนหลอมละลายเอาแร่ธาตุต่างๆ ที่มีอยู่ในเนื้อดินไหลออกมา เมื่อเย็นลงจึงเกาะติดอยู่ที่ผนังเตา ส่วนช่องใส่ไฟอยู่ทางด้านทิศเหนือของตัวเตา ทำเป็นโพรงยื่นออกมากกว้างประมาณ 90 เซนติเมตร
นอกจากนี้ ยังพบภาชนะดินเผาเนื้อดินหลายชิ้นติดอยู่ที่ผนังเตา ทั้งส่วนปากภาชนะและส่วนตัว บางชิ้นมีการตกแต่งลายซี่หวีและขูดสลักเป็นลายทาง
เตาหมายเลข 2 ตั้งอยู่ติดกับเตาหมายเลข 1 (ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเตาหมายเลข 1) ขณะที่ดำเนินงานขุดแต่งหมายเลข 1 ชาวบ้านหมอสอที่มาชมการดำเนินงานได้เล่าให้ฟังว่าเตาลักษณะนี้มีอยู่อีก 1 เตา บริเวณศาลเจ้าที่ประจำหมู่บ้านที่เรียกว่า “ศาลเจ้าพ่อปิ่นแก้วและศาลเจ้าแม่มะลิซ้อน” ซึ่งอดีตเป็นพื้นที่เนินลาดลงสู่ลำคลองหมอสอ ต่อมาชาวบ้านช่วยกันซื้อดินมาถมปรับพื้นให้ราบ เพื่อใช้เป็นลานทำบุญประจำปีของหมู่บ้าน การขุดศึกษาเตาหมายเลข 2 นี้ ได้รับฉันทานุมัติจากชาวบ้านหมู่ 8 เป็นอย่างดี
จากการขุดศึกษาในครั้งนั้นพบว่าเป็นเตาเผาทรงกลม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 5.5 เมตร ผนังเตาก่อพอกด้วยดินเหนียว มีความสูงจากพื้นเตาประมาณ 130-150 เซนติเมตร หนาประมาณ 40 เซนติเมตร ชนิดระบายความร้อนขึ้น (updraft kiln) ไม่ปรากฏส่วนของหลังคาเตา ด้านทิศเหนือของเตาพอกดินยื่นออกมาเป็นประเปาะ ทำเป็นช่องโพรงทะลุถึงภายในตัวเตา กว้างประมาณ 120 เซนติเมตร ได้ทำการขุดหลุมทดสอบบริเวณนี้ไม่พบการทับถมของชั้นวัตถุที่น่าจะนำมาเผาภายในตัวเตาแต่อย่างใด
การขุดค้นภายในตัวเตาได้พบชั้นเปลือกหอยน้ำจืดหนาประมาณ 10 เซนติเมตร ที่ทับถมซ้อนกันเป็นจำนวนมาก และน่าจะเป็นหอยที่ตายโดยธรรมชาติมากกว่าที่จะถูกนำมากองรวมกันโดยคน เพราะไม่พบร่องรอยการตัดแต่งเปลือกหอย ชี้ให้เห็นว่าบริเวณนี้มีการเอ่อท่วมของน้ำจากลำหมอสออยู่เป็นระยะ และเป็นชั้นการทิ้งร้างของตัวเตาเผาแห่งนี้ ถัดลงไปเป็นชั้นกองอิฐซ้อนทับกันระเกะระกะ ใต้ชั้นอิฐเป็นชั้นถ่านและพื้นเตา ซึ่งมีชั้นความหนาประมาณ 1 เมตร
หลุมขุดค้น นอกจากการขุดศึกษาที่เตาโบราณแล้ว คณะทำงานยังดำเนินการขุดค้นทางโบราณคดีในพื้นที่ใกล้เคียงจำนวน 2 หลุม ขนาด 2x2 เมตร โดยหลุมที่พบหลักฐานสำคัญคือ หลุมบริเวณชายตลิ่งคลองหมอสอ ได้พบชั้นปูนขาวกองทับถมกันหนาประมาณ 20 เซนติเมตร นอกจากนี้ในชั้นเดียวกันยังพบชิ้นส่วนภาชนะดินเผาเนื้อแกร่งเขียนสีน้ำเงินใต้เคลือบจำนวน 2 ชิ้น ผลิตจากแหล่งเตาในประเทศจีนสมัยราชวงศ์หมิง และอิฐหน้าวัว 1 ก้อน