โพสต์เมื่อ 18 มิ.ย. 2021
ชื่ออื่น : ถ้ำฤๅษีเขางู, ถ้ำพระ, ถ้ำฤๅษีสมาธิคุปต์, เขางู
ที่ตั้ง : ต.เกาะพลับพลา อ.เมืองราชบุรี
ตำบล : เกาะพลับพลา
อำเภอ : เมือง
จังหวัด : ราชบุรี
พิกัด DD : 13.574917 N, 99.777294 E
เขตลุ่มน้ำหลัก : แม่กลอง
เขตลุ่มน้ำรอง : คลองหนองใหญ่
ใช้ทางหลวงหมายเลข 3087 (สายราชบุรี-จอมบึง-สวนผึ้ง) จากตัวจังหวัดราชบุรี ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ประมาณ 8 กิโลเมตร เมื่อพบสามแยกก็เลี้ยวขวาแล้วไปอีกประมาณ 1 กิโลเมตร จะพบอุทยานหินเขางูและสวนสาธารณะเขางูอยู่ด้านซ้ายมือ ทางขึ้นสู่ถ้ำฤๅษีอยู่ภายในบริเวณสวนสาธารณะเขา
เทศบาลตำบลเขางู, กรมศิลปากร
ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 52 ตอนที่ 75 หน้า 3696 วันที่ 8 มีนาคม 2478
เป็นถ้ำหนึ่งในเทือกเขางู ซึ่งเป็นเขาหินปูน บริเวณที่เรียกว่าเขาลาดกล้วย ปากถ้ำหันสู่ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ อยู่สูงจากพื้นดินประมาณ 8 เมตร มีทางขึ้นอยู่บริเวณสวนสาธารณะเขางู (ซึ่งอยู่เชิงเขาด้านทิศตะวันออก) ภายในถ้ำประกอบด้วย 2 คูหา คูหาใหญ่เรียกกันมาแต่เดิมว่า “ถ้ำฤๅษี” หรือ “ถ้ำพระ” มีขนาดประมาณ 12.80x5.16 เมตร สูง 8 เมตร (ภายในมีภาพสลักพระพุทธรูปประทับห้อยพระบาท) ส่วนคูหาเล็กอยู่ทางทิศตะวันตกของคูหาใหญ่ มีผู้ตั้งชื่อให้ภายหลังว่า “ถ้ำฤๅษีสมาธิคุปต์” มีขนาดประมาณ 10.20x4.08 เมตร (ภายในมีภาพสลักพระพุทธรูปประทับยืน)
ปัจจุบัน มีการเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นที่บางประการ เช่น มีการทำบันไดซีเมนต์จากเชิงเขาขึ้นสู่ปากถ้ำ และเทพื้นซีเมนต์บริเวณหน้าถ้ำรวมทั้งภายในถ้ำ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวและพุทธศาสนิกชนที่มาสักการะพระพุทธรูป
แม่น้ำแม่กลอง อยู่ห่างจากเทือกเขางูไปทางทิศตะวันออกประมาณ 4 กิโลเมตร และห่างออกไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 3.3 กิโลเมตร มีคลองหนองใหญ่ อยู่ห่างออกไปทางทิศตะวันออกประมาณ 1.1 กิโลเมตร
ชื่อผู้ศึกษา : M.L. de Lajonquiere
ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2452
วิธีศึกษา : ประวัติศาสตร์ศิลปะ
ผลการศึกษา :
M.L. de Lajonquiere เสนอรายงานการสำรวจและศึกษาศิลปวัตถุในประเทศไทย โดยได้จัดโบราณสถานสระแก้ว อำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี, ศิลาสลักเป็นรูปมกรคายสิงโต พระพุทธรูปปางแสดงธรรม และธรรมจักร ที่พบในจังหวัดนครปฐม และพระพุทธรูปห้อยพระบาทที่ถ้ำงู จังหวัดราชบุรี เป็นกลุ่ม “ศิลปะฮินดูไม่ใช่เขมร”ชื่อผู้ศึกษา : กรมศิลปากร
ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2517
วิธีศึกษา : สำรวจ
องค์กรร่วม / แหล่งทุน : กรมศิลปากร
ผลการศึกษา :
แผนกสำรวจ กองโบราณคดี กรมศิลปากร สำรวจเพื่อขึ้นทะเบียนโบราณสถานชื่อผู้ศึกษา : สุนิสา มั่นคง, ประคอง รักอู่, อรพินธุ์ การุณจิตต์
ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2538
วิธีศึกษา : สำรวจ
องค์กรร่วม / แหล่งทุน : กรมศิลปากร
ผลการศึกษา :
วันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ.2538 สุนิสา มั่นคง, ประคอง รักอู่ และอรพินธุ์ การุณจิตต์ สำรวจแหล่งโบราณคดีในจังหวัดราชบุรี รวมทั้งแหล่งโบราณคดีเทือกเขางู ทั้งถ้ำฤๅษี ถ้ำจีน ถ้ำจาม และถ้ำฝาโถ เพื่อจัดทำทะเบียนโบราณสถานในเขตหน่วยศิลปากรที่ 2ชื่อผู้ศึกษา : ยอร์ช เซเดส์
ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2472
วิธีศึกษา : ศึกษาเอกสาร/จารึก
ผลการศึกษา :
ยอร์ช เซเดส์ (George Cœdès) (2472) ได้อ่านจารึกหลักนี้ เป็นครั้งแรกในปี พ.ศ.2472 โดยอ่านได้ว่า “ปุญ วฺระ ฤษิ --- ศฺรี สมาธิคุปต”ชื่อผู้ศึกษา : ยอร์ช เซเดส์
ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2504
วิธีศึกษา : ศึกษาเอกสาร/จารึก
ผลการศึกษา :
ยอร์ช เซเดส์ (2504) แปลและอธิบายจารึกดังกล่าวได้ว่า “การบุญของฤษี --- ศรี สมาธิคุปตะ”ชื่อผู้ศึกษา : ชะเอม แก้วคล้าย
ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2529
วิธีศึกษา : ศึกษาเอกสาร/จารึก
ผลการศึกษา :
ชะเอม แก้วคล้าย (2529) อ่านและแปลจารึกหลักนี้ได้ว่า “ปุญกรมชฺระ ศฺรีสมาธิคุปฺต (ะ)” แปลว่า “พระศรีสมาธิคุปตะเป็นผู้บริสุทธิ์ด้วยการกระทําบุญ” นอกจากนั้นยังมีคำอธิบายเพิ่มเติมด้วยในคูหาใหญ่ (หรือเรียกกันว่าถ้ำฤๅษี) ที่ผนังถ้ำมีภาพสลักนูนต่ำพระพุทธรูปประทับห้อยพระบาทสมัยทวารวดี สูงประมาณ 2.5 เมตร พระหัตถ์ขวาแสดงปางแสดงธรรมเทศนา (วิตรรกะมุทรา) พระหัตถ์ซ้ายวางบนพระเพลา พระพักตร์ค่อนข้างเหลี่ยม ครองจีวรห่มเฉียงบางแนบพระองค์ เห็นขอบชายอุตราสงฆ์ระหว่างพระชงค์ชัดเจน พาดสังฆาฏิสั้น ระหว่างข้อพระบาททั้ง 2 ข้าง มีจารึกอักษรปัลลวะตอนปลาย ภาษาสันสกฤต รูปแบบอักษรเป็นแบบที่นิยมใช้ในอินเดียใต้ในช่วงราวพุทธศตวรรษที่ 12 อ่านว่า “ปุญกรมชระ ศรีสมาธิคุปต(ะ)” แปลว่า การบุญของฤษี --- ศรี สมาธิคุปตะ (ยอร์ช เซเดส์ 2504) หรือ พระศรีสมาธิคุปตะเป็นผู้บริสุทธิ์ด้วยการกระทำบุญ (ชะเอม แก้วคล้าย 2529) ซึ่งอาจเป็นการบอกชื่อผู้สร้างพระพุทธรูป คือ ฤๅษีสมาธิคุปตะ หรือ พระศรีสมาธิคุปตะ ว่าเป็น ผู้บริสุทธิ์ด้วยการทำบุญ
ลักษณะของพระพุทธรูปนั่งห้อยพระบาทองค์นี้คล้ายกับพระพุทธรูปนั่งห้อยพระบาทในถ้ำอชันตา ประเทศอินเดีย ซึ่งมีลักษณะศิลปะอินเดียแบบคุปตะ อายุราวพุทธศตวรรษที่ 11 (พิริยะ ไกรฤกษ์ 2544; ศักดิ์ชัย สายสิงห์ 2547) แต่จากการศึกษาด้านประวัติศาสตร์ศิลปะ พบว่าพระพุทธรูปองค์นี้มีลักษณะพระพักตร์แบบพื้นเมืองอย่างแท้จริง ซึ่งกำหนดอายุได้ราวพุทธศตวรรษที่ 13-14 (เกสรา จาติกวนิช 2545; ศักดิ์ชัย สายสิงห์ 2547; พิริยะ ไกรฤกษ์ 2544) รวมทั้งการแสดงปางและมุทรา ก็มีความเป็นพื้นเมืองมากกว่าอิทธิพลของอินเดีย กล่าวคือ พระพุทธรูปยกพระหัตถ์ขวาขึ้นแสดงวิตรรกะมุทรา คือการจีบพระอังคุฐกับพระดัชนีเป็นวงกลม อันหมายถึงธรรมจักร พระหัตถ์ซ้ายวางไว้บนพระเพลา ในลักษณะเดียวกับปางสมาธิ ซึ่งถือว่าเป็นรูปแบบเฉพาะของศิลปะทวารวดี ต่างจากปางเดียวกันนี้ที่พบในศิลปะคุปตะของประเทศอินเดีย ที่มักแสดงปางวิตรรกะด้วยการจีบนิ้วพระหัตถ์ขวาเป็นวงกลม ส่วนพระหัตถ์ซ้ายอยู่ในลักษณะประคอง (สุภัทรดิศ ดิศกุล 2516)
กรมทรัพยากรธรณี. การจำแนกเขตเพื่อการจัดการด้านธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดราชบุรี. กรุงเทพฯ: บริษัท แอดวานซ์ วิชั่น เซอร์วิส จำกัด, 2551.
กรมศิลปากร. ราชบุรี. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, 2534.
สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ 1 ราชบุรี กรมศิลปากร. คูบัว: ความสัมพันธ์กับชุมชนทวารวดีในบริเวณใกล้เคียง. กรุงเทพฯ: บริษัท สำนักพิมพ์สมาพันธ์ จำกัด, 2541.
กองโบราณคดี กรมศิลปากร. ทะเบียนโบราณสถานในเขตหน่วยศิลปากรที่ 2. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, 2538.
เกสรา จาติกวนิช. “พุทธประวัติในประติมากรรมทวารวดี.” วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2545.
ชะเอม แก้วคล้าย. “จารึกถ้ำฤาษีเขางูเมืองราชบุรี.” ใน จารึกในประเทศไทย เล่ม 1: อักษรปัลลวะ หลังปัลลวะ พุทธศตวรรษที่ 12-14, 68-71. กรุงเทพฯ: หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2529.
เชษฐ์ ติงสัญชลี. “ศิลปะทวารวดี.” ใน ความก้าวหน้าในการศึกษาโบราณคดีและเมืองโบราณในวัฒนธรรมทวารวดี, 39-43. สุพรรณบุรี : สำนักงานศิลปากรที่ 2 สุพรรณบุรี กรมศิลปากร, 2546.
เด่นโชค มั่นใจ. สภาพทางธรณีวิทยาและการสำรวจความมั่นคงของหน้าผาหินบริเวณเขางู ตำบลเขางู อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี. สำนักธรณีวิทยา กรมทรัพยากรธรณี, 2550.
พิริยะ ไกรฤกษ์. ทวารวดีและศรีวิชัยในทัศนะของนักประวัติศาสตร์ศิลปะ. กรุงเทพฯ: ม.ป.พ., 25--?.
พิริยะ ไกรฤกษ์. รากเหง้าแห่งศิลปะไทย. กรุงเทพฯ: ริเวอร์บุ๊คส์, 2553.
พิริยะ ไกรฤกษ์. อารยธรรมไทย: พื้นฐานทางประวัติศาสตร์ศิลปะ เล่ม 1 ศิลปะก่อนพุทธศตวรรษที่ 19. กรุงเทพฯ: บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), 2544.
ผาสุข อินทราวุธ. ทวารวดี: การศึกษาเชิงวิเคราะห์จากหลักฐานทางโบราณคดี. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อักษรสมัย, 2542.
ยอร์ช เซเดส์. “หลักที่ 22 จารึกถ้ำฤาษีเขางูเมืองราชบุรี.” ใน ประชุมศิลาจารึกสยาม ภาคที่ 2: จารึกกรุงทวารวดี เมืองละโว้ และประเทศราชขึ้นแก่กรุงศรีวิชัย, 35. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์พิพรรฒนากร, 2472.
ยอร์ช เซเดส์. “จารึกที่ 22 จารึกในถ้ำฤษี เขางู.” ใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 2: จารึกทวารวดี ศรีวิชัย ละโว้ = Recueil des inscriptions du Siam deuxieme partie: inscriptions de Dvaravati, de Crivijaya et de Lavo, 20. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, 2504.
ศักดิ์ชัย สายสิงห์. “การแบ่งยุคสมัยของงานประติมากรรมสมัยทวารวดี.” ใน ความก้าวหน้าในการศึกษาโบราณคดีและเมืองโบราณในวัฒนธรรมทวารวดี, 35-38. สุพรรณบุรี: สำนักงานศิลปากรที่ 2 สุพรรณบุรี กรมศิลปากร, 2546.
ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศิลปะทวารวดี: วัฒนธรรมพุทธศาสนายุคแรกเริ่มในดินแดนไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เมืองโบราณ, 2547.
สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ. ตำนานพุทธเจดีย์สยาม. พระนคร: โรงพิมพ์โสภรณพิพรรฒธนากร, 2469.
สุภัทรดิศ ดิศกุล. “วิวัฒนาการของประติมากรรมสมัยทวารวดี.” วารสารโบราณคดี 5, 2 (ตุลาคม 2516): 195-207.
de Lajononquiere, M.L. “Le domaine archaéologique de l'Indochine.” Bulletin de la archaéologiue de l'Indochine (1909),188-262.
de Lajononquiere, M.L. “Essai d'inventaire archaéologique du Siam.” Bulletin de la archaeologiue de l'Indochine (1911-1912),19-181.