โพสต์เมื่อ 13 ก.ค. 2020
ชื่ออื่น : ถ้ำฝ่ามือแดง
ที่ตั้ง : อุทยานแห่งชาติน้ำพอง ม.8 บ้านดอนกอก ต.บ้านผือ อ.หนองเรือ
ตำบล : บ้านผือ
อำเภอ : หนองเรือ
จังหวัด : ขอนแก่น
พิกัด DD : 16.5869 N, 102.578164 E
จากแยกสามเหลี่ยมในตัวจังหวัดขอนแก่นหรือในเทศบาลนครขอนแก่น ให้ใช้ถนนมะลิวัลย์ (ทางหลวงหมายเลข 12) มุ่งหน้าอำเภอหนองเรือ (ทางทิศตะวันตก) ประมาณ 28 กิโลเมตร พบถนนเข้าสู่เขื่อนอุบลรัตน์ทางขวามือ (ต้องกลับรถเพื่อใช้ถนนเส้นดังกล่าว) ไปตามถนนมุ่งหน้าเขื่อนอุบลรัตน์ประมาณ 4.2 กิโลเมตร พบสามแยกให้เลี้ยวขวา (มุ่งหน้าเขื่อน) ไปตามถนนประมาณ 6.5 กิโลเมตร ถึงบ้านดอนกอก พบสี่แยกให้เลี้ยวซ้าย ไปประมาณ 240 เมตร พบสี่แยกให้เลี้ยวขวา (มุ่งหน้าเขื่อน) ไปตามถนนประมาณ 3.4 กิโลเมตร พบถนนลูกรังขนาดเล็กทางขวามือ เลี้ยวขวาไปตามถนนเส้นนี้อีก 750 เมตร ถึงเชิงเขาทางขึ้นสู่แหล่งภาพเขียนสี เดินขึ้นเขาไปประมาณ 75 เมตร ถึงเพิงผาถ้ำลายมือ 1 เดินไปตามหน้าผาทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 300 เมตร จะพบถ้ำลายมือ 2
ถ้ำลายมือ 2 ตั้งอยู่บนเทือกเขาภูพานคำ ซึ่งเป็นขอบด้านทิศตะวันออกของเขื่อนอุบลรัตน์ ทำให้มองเห็นเขื่อนได้อย่างชัดเจน มีทิวทัศน์สวยงาม เหมาะสำหรับเป็นสถานที่พักผ่อนและท่องเที่ยวชมความงามตามธรรมชาติและภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์ถ้ำลายมือ 1 และ 2 แต่เนื่องจากถ้ำลายมือ 2 ปรากฏภาพจำนวนน้อย จึงไม่ได้รับการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว
สภาพทางเดินระหว่างถ้ำลายมือ 1 และ 2 สภาพเป็นป่ารกมาก ยากแก่การเข้าถึง แหล่งภาพเขียนสีถ้ำลายมือ 1 และ 2 นับว่ามีศักยภาพด้านการท่องเที่ยว ทั้งคุณค่าของตัวแหล่งเองและคุณค่าของแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติโดยรอบที่มีทั้งเขื่อนอุบลรัตน์ อุทยานแห่งชาติน้ำพอง และสวนรุกชาติลุ่มน้ำพอง (โสกแต้) แต่ปัจจุบันถ้ำลายมือ 2 ยังไม่ได้รับการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว
ผู้สนใจสามารถเข้าเยี่ยมชมภาพเขียนสีถ้ำลายมือได้ทุกวัน โดยไม่เสียค่าเข้าชม มีที่พักภายในอุทยานและรีสอร์ทบริเวณเขื่อนอุบลรัตน์ สามารถติดต่อที่ทำการอุทยานแห่งชาติน้ำพองได้ที่
ตู้ ปณ.13 (ดอนโมง) อ.หนองเรือ จ.ขอนแก่น 40240
โทร. 043-358-074, 043-248-006
โทรสาร 043-358-074
อีเมล namphong_np@dnp.go.th
อุทยานแห่งชาติน้ำพอง, กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช, กรมศิลปากร
ถ้ำลายมือ 3 มีลักษณะก้อนหินทรายขนาดใหญ่ตั้งอยู่บนพื้นหิน อยู่ห่างจากถ้ำลายมือ 1 มาทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 300 เมตร ลักษณะเป็นก้อนหินรูปสามเหลี่ยมวางหงายขึ้น ทำให้มีหลืบหินข้างใต้ ทางทิศใต้และตะวันออกเฉียงใต้ของหินเป็นผนังเรียบ ปรากฏร่องรอยภาพเขียนสี
ถ้ำลายมือ 3 ตั้งอยู่บนเทือกเขาภูพานคำ ที่ทอดตัวยาวตามแนวทิศเหนือ-ใต้ และเป็นส่วนขอบด้านทิศตะวันออกของเขื่อนอุบลรัตน์ ธรณีสัณฐานเป็นหินทรายในหมวดหินภูกระดึงต่อเนื่องกับหมวดหินพระวิหาร บริเวณเชิงเขาด้านทิศตะวันตกเป็นพื้นที่ทับถมของตะกอนน้ำพาและตะกอนภูเขา ปัจจุบันเป็นพื้นที่เกษตรกรรม ถัดออกไปอีก 750 เมตรเป็นถนนและเขื่อนอุบลรัตน์ (ลำน้ำเชิญ) ตามลำดับ
สภาพโดยทั่วไปบนเขาเป็นป่าเต็งรัง มีก้อนหินทรายขนาดใหญ่น้อยกระจายตัวอยู่ทั่วไป ดินเป็นดินร่วนปนทราย ทางเดินขึ้นสู่แหล่งรกชัฏ
ลำน้ำเชิญ
ลักษณะธรณีสัณฐานเป็นหินทรายในหมวดหินภูกระดึงต่อเนื่องกับหมวดหินพระวิหาร
ชื่อผู้ศึกษา : พเยาว์ เข็มนาค
ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2526
วิธีศึกษา : สำรวจ, ศึกษาศิลปะถ้ำ
องค์กรร่วม / แหล่งทุน : กรมศิลปากร
ผลการศึกษา :
โครงการโบราณคดีประเทศไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) นำโดยนายพเยาว์ เข็มนาค (กรมศิลปากร 2532 : 271-273) สำรวจภาพเขียนสีที่ถ้ำลายมือ 1 และ 2รวมทั้งสันนิษฐานถึงสภาพสังคมของผู้สร้างสรรค์ภาพชื่อผู้ศึกษา : สถาพร ขวัญยืน
ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2528
วิธีศึกษา : ศึกษาศิลปะถ้ำ
องค์กรร่วม / แหล่งทุน : กรมศิลปากร
ผลการศึกษา :
โครงการโบราณคดีประเทศไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) โดยนายสถาพร ขวัญยืน และคณะ (โครงการโบราณคดีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2528) สำรวจและคัดลอกภาพเขียนสีที่ถ้ำลายมือ 1 และ 2 รวมทั้งสันนิษฐานถึงสภาพสังคมของผู้สร้างสรรค์ภาพชื่อผู้ศึกษา : พเยาว์ เข็มนาค
ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2539
วิธีศึกษา : ศึกษาศิลปะถ้ำ
องค์กรร่วม / แหล่งทุน : กรมศิลปากร
ผลการศึกษา :
พเยาว์ เข็มนาค (2539) รวบรวมและเรียบเรียงข้อมูลศิลปะถ้ำยุคก่อนประวัติศาสตร์ของไทย ในหนังสือ “ศิลปะถ้ำสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศ” รวมถึงภาพเขียนสีที่ถ้ำลายมือ 1 และ 2ชื่อผู้ศึกษา : พัชรี สาริกบุตร
ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2543
วิธีศึกษา : ศึกษาศิลปะถ้ำ
องค์กรร่วม / แหล่งทุน : ม.ศิลปากร
ผลการศึกษา :
ผศ.พัชรี สาริกบุตร (2543) คณะโบราณคดี ม.ศิลปากร รวบรวม ศึกษา และวิเคราะห์ตีความภาพเขียนสีและภาพสลักยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่พบในประเทศไทย รวมทั้งภาพเขียนสีที่ถ้ำลายมือ 1 และ 2ภาพเขียนปรากฎอยู่ใต้หลืบหินด้านทิศใต้และด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ เขียนด้วยสีแดงคล้ำ มีมือภาพคนแบบพ่น 1 ภาพ เป็นภาพมือขวา กับภาพลายเส้นคดผสมกับลายเส้นคู่และโค้งขนาน คล้ายกับภาพคนแบบกิ่งไม้ ที่พบโดยทั่วไปในแหล่งภาพเขียนสีของภาคอีสาน (กรมศิลปากร 2532 ; โครงการโบราณคดีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2528 ; พเยาว์ เข็มนาค 2539)
พเยาว์ เข็มนาค (2532 : 273) สันนิษฐานว่าด้วยเหตุที่สภาพของแหล่งภาพเขียนเป็นหน้าผาแคบ ไม่มิดชิดพอที่จะป้องกันอันตรายได้ ดังนั้นจึงไม่เหมาะสำหรับการอยู่อาศัยถาวร ดังนั้นผู้เขียนภาพจึงน่าจะเป็นกลุ่มชนที่อาศัยอยู่บนพื้นที่ราบ เป็นชุมชนในสังคมกสิกรรม อายุประมาณ 4,000-3,000 ปีมาแล้ว
กรมศิลปากร. แหล่งโบราณคดีประเทศไทย เล่ม 3. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2532.
โครงการโบราณคดีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. รายงานการสำรวจแหล่งภาพเขียนสีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ จังหวัดขอนแก่น. กรุงเทพฯ : กองโบราณคดี กรมศิลปากร, 2528.
พเยาว์ เข็มนาค. ศิลปะถ้ำสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : กองโบราณคดี กรมศิลปากร, 2539.
พัชรี สาริกบุตร. “เขาเขียน.” ภาพเขียนสีและภาพสลัก : ศิลปะสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทย. (ออนไลน์), 2543. เข้าถึงเมื่อ 23 กรกฎาคม 2557. แหล่งที่มา http://www.era.su.ac.th/RockPainting/south/index.html