แหล่งโบราณคดี


แสดง 1 ถึง 20 จาก 106 ผลลัพธ์

บ้านเขากระจิว

ตั้งอยู่ ต.ท่ายาง อ.ท่ายาง จ.เพชรบุรี ก่อนการก่อตั้งวัดเขากระจิวในสมัยรัตนโกสินทร์ บนยอดเขากระจิวมีเจดีย์อยู่ 1 องค์ และได้รับการบูรณะขึ้นใหม่ ซึ่งเจดีย์องค์เดิมอาจเป็นเจดีย์สมัยทวารวดี เนื่องจากมีร่องรอยซากโบราณสถานและแนวถนนโบราณที่ปูด้วยอิฐขนาดใหญ่ เชื่อมต่อจากเนินเขาไปยังเนินโบราณสถานสมัยทวารวดีที่อยู่หลังโรงเรียนวัดเขากระจิว

อ่านเพิ่มเติม

โบราณสถานบนเขาจอมปราสาท

ตั้งอยู่บ้านโคกเศรษฐี ต.เขาใหญ่ อ.ชะอำ พบกลุ่มก้อนอิฐกระจัดกระจายอยู่บนยอดเขาจอมปราสาท สันนิษฐานว่าเป็นโบราณสถานสมัยทวารวดี เนื่องจากลักษณะอิฐเป็นแบบเดียวกับที่ใช้สร้างเจดีย์ทุ่งเศรษฐี ที่ตั้งอยู่เชิงเขาจอมปราสาท

อ่านเพิ่มเติม

ดอยมะขามป้อม 1

ดอยมะขามป้อม 1 ตั้งอยู่ภายในอุทยานแห่งชาติตากสินมหาราช บ้านห้วยปลาหลด ต.พะวอ อ.แม่สอด จ.ตาก จากหลักฐานทางโบราณคดีสันนิษฐานว่าเป็นที่อยู่อาศัยหรือทำกิจกรรมของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ สมัยหินใหม่ และน่าจะเป็นแหล่งที่เกี่ยวข้องกับเส้นทางเดินทัพระหว่างพม่า-ไทย สมัยกรุงศรีอยุธยา ช่วงพุทธศตวรรษที่ 20-22

อ่านเพิ่มเติม

ดอยมะขามป้อม 2

ดอยมะขามป้อม 2 ตั้งอยู่ภายในอุทยานแห่งชาติตากสินมหาราช บ้านห้วยปลาหลด ต.พะวอ อ.แม่สอด จ.ตาก จากหลักฐานทางโบราณคดีสันนิษฐานว่าเป็นที่อยู่อาศัยหรือทำกิจกรรมของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ สมัยหินใหม่ และน่าจะเป็นแหล่งที่เกี่ยวข้องกับเส้นทางเดินทัพระหว่างพม่า-ไทย สมัยกรุงศรีอยุธยา ช่วงพุทธศตวรรษที่ 20-22

อ่านเพิ่มเติม

เขายี่สาร

วัดเขายี่สาร ตั้งอยู่ ม.1 บ้านเขายี่สาร ต.เขายี่สาร อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม สร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนปลาย ในรัชสมัยสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 หรือพระเจ้าเสือ เป็นวัดและโบราณสถานบนเขาเพียงแห่งเดียวของ จ.สมุทรสงคราม ภายในมีสิ่งก่อสร้างที่แสดงถึงความโดดเด่นด้านงานศิลปะของท้องถิ่น ทั้งสถาปัตยกรรมและจิตรกรรม

อ่านเพิ่มเติม

ออบหลวง

ตั้งอยู่ในอุทยานแห่งชาติออบหลวง เขตติดต่อระหว่าง อ.ฮอด และ อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ เป็นแหล่งโบราณคดีในภาคเหนือแห่งแรกที่พบหลักฐานเกี่ยวกับสำริดและโลหวิทยา และยังพบหลักฐานที่เก่าไปถึงสมัยหินกลางและหินใหม่

อ่านเพิ่มเติม

เมืองชัยบุรี

เมืองชัยบุรี ต.ชัยบุรี อ.เมืองพัทลุง, ต.มะกอกเหนือ และ ต.พนมวังก์ อ.ควนขนุน จ.พัทลุง มีการใช้พื้นที่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 21-24 โดยช่วงหนึ่งอาจใช้เป็นศูนย์กลางของเมืองพัทลุง ดังที่ปรากฎหลักฐานทางด้านเอกสาร เช่นในจดหมายเหตุของ De Lamane ที่เขียนขึ้นราว พ.ศ.2229 

อ่านเพิ่มเติม

ภาพเขียนสีเป็นพระพุทธรูป, แหล่งโบราณสถานถ้ำศิลป์

ถ้ำศิลป์ ตั้งอยู่บ้านบันนังลูวา ต.หน้าถ้ำ อ.เมืองยะลา จ.ยะลา ปรากฏหลักฐานทางโบราณคดียุคก่อนประวัติศาสตร์ทั้งภาพเขียนบนผนังถ้ำ เศษภาชนะดินเผา เครื่อมือหินขัด ลูกปัดเปลือกหอย อายุราว 3,000 ปีมาแล้ว และศิลปกรรมบนผนังถ้ำยุคประวัติศาสตร์ สมัยศรีวิชัย-สมัยสุโขทัย

อ่านเพิ่มเติม

ภาพเขียนสีเขายะลา

เขายะลา อยู่ใน ต.ลิดล และ ต.ยะลา อ.เมืองยะลา จ.ยะลา พบหลักฐานทางโบราณคดียุคก่อนประวัติศาสตร์ในถ้ำและเพิงผาหลายแห่งบนเขายะลา โดยเฉพาะภาพเขียนสี ทั้งเขียนด้วยสีแดงและสีดำ นอกจากนั้นยังพบชิ้นส่วนกะโหลกมนุษย์ เศษภาชนะดินเผา เครื่องมือหินกะเทาะ ขวานหินขัด ดินสีแดง ที่อาจใช้สำหรับสร้างผลงานบนผนังถ้ำ อายุของแหล่งโบราณคดีราว 3,000-2,000 ปีมาแล้ว เป็นต้นมา

อ่านเพิ่มเติม

เขาสามแก้ว

ตั้งอยู่ที่บ้านสามแก้ว อ.เมืองชุมพร เป็นชุมชนยุคก่อนประวัติศาสตร์จนถึงสมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ ตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 2 และเจริญในช่วงพุทธศตวรรษที่ 5 -10 มีการสร้างกำแพงดินล้อมรอบชุมชน มีการสร้างคูน้ำหรือทางระบายน้ำ มีการจัดแบ่งพื้นที่อุตสาหกรรมไว้นอกเขตชุมชน

อ่านเพิ่มเติม

เมืองโบราณไชยา

อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี

อ่านเพิ่มเติม

ภาพเขียนสีค่ายประตูผา

ตั้งอยู่ที่ บ้านจำปุย ต.บ้างดง อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง พบภาพเขียนสียุคก่อนประวัติศาสตร์กระจายอยู่หลายกลุ่มเป็นระยะๆ รวมแล้วมากกว่า 1,872 ภาพ และพบหลุมฝังศพของคนก่อนประวัติศาสตร์ ในสมัยหินใหม่ เมื่อ 2,900-3,200 ปีมาแล้ว 

อ่านเพิ่มเติม

ภูซาง

ต.นาซาว อ.เมืองน่าน จ.น่าน แหล่งโบราณคดีภูซาง หรือดอยภูซาง ในอดีต (ประมาณ 700 ถึงกว่า 3,000 ปีมาแล้ว) น่าจะเป็นแหล่งผลิตเครื่องมือหินในระดับอุตสาหกรรรม เพราะพบหลักฐานที่แสดงถึงกระบวนการผลิตเครื่องมือหินเป็นจำนวนมากและกระจายตัวอยู่หนาแน่นเป็นบริเวณกว้าง

อ่านเพิ่มเติม

ภูเขาทอง

ต.กำพวน อ.สุขสำราญ จ.ระนอง แหล่งโบราณคดีแห่งนี้เป็นเมืองท่ายุคแรก ๆ ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีการติดต่อทางการค้ากับอินเดียอย่างชัดเจน หลักฐานสำคัญที่พบมีทั้งลูกปัดแก้ว ลูกปัดหินกึ่งมีค่า ลูกปัดทอง เครื่องปั้นดินเผาจากทั้งที่ผลิตในท้องถิ่นและจากดินแดนตะวันตก

อ่านเพิ่มเติม

ถ้ำเขาเทียมป่า

ตั้งอยู่ ม.8 บ้านหนองครก ต.หนองปรือ อ.รัษฎา จ.ตรัง พบหลักฐานทางโบราณคดีของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์สมัยหินใหม่ อายุราว 2,000-3,000 ปี  โดยหลักฐานที่สำคัญคือหม้อ 3 ขา และขวานหินขัด

อ่านเพิ่มเติม

ภูโล้น

ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของวัดถ้ำเขาคีรีบรรพต บ้านภูเขาทอง ต.บ้านม่วง อ.สังคม จ.หนองคาย บริเวณริมแม่น้ำโขง เป็นเหมืองแร่ทองแดงที่อาจจะเก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย พบร่องรอยกิจกรรมการทำเหมืองแร่หลายจุดด้วยกัน ทั้งซากเหมืองใต้ดิน ปล่อง อุโมงค์ ลานบดแร่

อ่านเพิ่มเติม

ถ้ำอาจารย์สิม

ตั้งอยู่ที่วัดพระพุทธบาทภูเก้า อุทยานแห่งชาติภูเก้า-ภูพานคำ บ้านดงบาก ต.นิคมพัฒนา อ.โนนสัง จ.หนองบัวลำภู พบหลักฐานทางโบราณคดีที่สำคัญคือ ภาพเขียนสียุคก่อนประวัติศาสตร์ ภาพคน ภาพปลา รวมถึงภาพเชิงสัญลักษณ์ต่างๆ

อ่านเพิ่มเติม

ภาพเขียนสีเขาจันทร์งาม

ตั้งอยู่ภายในวัดเลิศสวัสดิ์ (เขาจันทร์งาม) ต.ลาดบัวขาว อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา เป็นแหล่งศิลปะถ้ำยุคก่อนประวัติศาสตร์เพียงแห่งเดียวในจังหวัดนครราชสีมาเท่าที่พบในปัจจุบัน มีอายุอยู่ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย ภาพเด่นมีรูปกลุ่มคนทั้งวัยเด็กและผู้ใหญ่ รวมถึงภาพสุนัข

อ่านเพิ่มเติม

ถ้ำมึ้ม

วัดพระพุทธบาทภูเก้า ม.10 บ้านดงบาก ต.นิคมพัฒนา อ.โนนสัง จ.หนองบัวลำภู

อ่านเพิ่มเติม

เขาเขียน

ตั้งอยู่ในอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา ต.เกาะปันหยี อ.เมืองพังงา จ.พังงา ปรากฏภาพเขียนสียุคก่อนประวัติศาสตร์ อายุราว 5,000-2,000 ปีมาแล้ว สันนิษฐานว่าวาดโดยคนก่อนประวัติศาสตร์ที่อาศัยในบริเวณนี้ และนักเดินเรือสมัยโบราณที่แวะมาจอดพักหลบมรสุม

อ่านเพิ่มเติม