โบราณสถานบนเขาจอมปราสาท


โพสต์เมื่อ 7 ส.ค. 2021

ชื่ออื่น : เขาจอมปราสาท

ที่ตั้ง : บ้านโคกเศรษฐี

ตำบล : เขาใหญ่

อำเภอ : ชะอำ

จังหวัด : เพชรบุรี

พิกัด DD : 12.847003 N, 99.95125 E

เขตลุ่มน้ำหลัก : เพชรบุรี, อ่าวไทย

เส้นทางเข้าสู่แหล่ง

เขาจอมปราสาทอยู่ด้านหลัง (ด้านทิศตะวันตกของวัดทุ่งเศรษฐีและโบราณสถานทุ่งเศรษฐี

ประโยชน์ทางการท่องเที่ยว

ไม่เป็นแหล่งท่องเที่ยว

รายละเอียดทางการท่องเที่ยว

ปัจจุบันโบราณสถานบนเขาจอมปราสาทไม่ได้เป็นแหล่งท่องเที่ยว เนื่องมาจากโบราณสถานเสื่อมสภาพและการเดินเท้าขึ้นยอดเขาเป็นไปด้วยความยากลำบาก แม้ว่าเขาจอมปราสาทอยู่ในเขตวนอุทยานนางพันธุรัตซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สำคัญแห่งหนึ่งในจังหวัดเพชรบุรี

หน่วยงานที่ดูแลรักษา

กรมศิลปากรกรมป่าไม้

การขึ้นทะเบียน

ไม่ขึ้นทะเบียน

ภูมิประเทศ

ภูเขา

สภาพทั่วไป

ซากโบราณสถานบนยอดเขาจอมปราสาท ไม่สามารถระบุรูปทรงได้แน่ชัด เนื่องจากถูกทำลายจนหมดสภาพ บริเวณที่สันนิษฐานว่าเป็นที่ตั้งโบราณสถาน พบเศษอิฐกระจายอยู่มากกว่าบริเวณอื่น เป็นส่วนที่อยู่สูงที่สุดทางด้านทิศตะวันออก ถ้ามองมาจากทะเลจะสามารถเห็นได้อย่างชัดเจน

ความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง

134 เมตร

สภาพธรณีวิทยา

เขาจอมปราสาทเป็นเทือกเขาหินปูนเทือกเดียวกับเขาเจ้าลายใหญ่ เทือกเขานี้ยาวกว่า 5 กิโลเมตร วางตัวในแนวเหนือ-ใต้ ห่างจากแนวชายทะเลปัจจุบันประมาณ 4 กิโลเมตร 

ยุคทางโบราณคดี

ยุคประวัติศาสตร์

สมัย/วัฒนธรรม

สมัยทวารวดี

อายุทางโบราณคดี

พุทธศตวรรษที่ 12-16 / พ.ศ.1100-1600

ประวัติการศึกษา

ชื่อผู้ศึกษา : กรมศิลปากร

ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2540

วิธีศึกษา : สำรวจ

องค์กรร่วม / แหล่งทุน : กรมศิลปากร

ผลการศึกษา :

พ.ศ.2540 สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ 1 ราชบุรี (2541: 81-82) กรมศิลปากร สำรวจแหล่งโบราณคดีบนเขาจอมปราสาท เนื่องในโครงการจัดทำแผนแม่บทเพื่ออนุรักษ์พัฒนาเมืองคูบัว

ประเภทของแหล่งโบราณคดี

ศาสนสถาน

สาระสำคัญทางโบราณคดี

จากการสำรวจในปี พ.ศ.2540 (สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ ราชบุรี 2541: 81-82) พบก้อนอิฐกลุ่มหนึ่งกระจัดกระจายอยู่บนยอดเขาจอมปราสาท อิฐมีขนาดใหญ่ ขนาดกว้างประมาณ 20 เซนติเมตร หนา 8 เซนติเมตร เนื้ออิฐหยาบ มีแกลบข้าวผสมมาก ลักษณะอิฐเป็นแบบเดียวกับที่ใช้สร้างเจดีย์ทุ่งเศรษฐีที่ตั้งอยู่ที่เชิงเขาจอมปราสาท ซึ่งเป็นโบราณสถานในวัฒนธรรมทวารวดี นอกจากอิฐแล้วยังพบร่องรอยปูนฉาบ แต่พบเพียงเล็กน้อย

ร่องรอยของสิ่งก่อสร้างบนยอดเขาจอมปราสาทแม้ไม่สามารถระบุลักษณะได้ชัดเจน แต่จากคำบอกเล่าของชาวบ้านกล่าวว่าเป็นเจดีย์ จึงอาจสันนิษฐานในเบื้องต้นได้ว่า อาจเป็นสิ่งก่อสร้างทางพุทธศาสนา และมีความเกี่ยวข้องกับเจดีย์ทุ่งเศรษฐีที่ตั้งอยู่เชิงเขาจอมปราสาทด้านทิศตะวันออก นอกจากนี้โบราณสถานบนยอดเขาแห่งนี้ ยังอาจใช้เป็นจุดสังเกตของนักเดินเรือ เนื่องจากชุมชนโบราณที่บ้านโคกเศรษฐี อยู่ในเส้นทางเดินเรือเลียบชายฝั่ง นอกจากจะใช้สภาพภูมิศาสตร์คือภูเขาเป็นจุดสังเกตแล้ว ยังอาจสร้างสิ่งก่อสร้างเป็นจุดสังเกตด้วย

ผู้เรียบเรียงข้อมูล-ผู้ดูแลฐานข้อมูล

ทนงศักดิ์ เลิศพิพัฒน์วรกุล

บรรณานุกรม

ระบบฐานข้อมูลแหล่งมรดกทางศิลปวัฒนธรรม และระบบภูมิสารสนเทศ โครงการสำรวจแหล่งมรดกทางศิลปวัฒนธรรม [Online]. Accessed 30 March 2011. Available from http://www.gis.finearts.go.th

สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณสถานแห่งชาติที่ ราชบุรีคูบัว ความสัมพันธ์กับชุมชนทวารวดีในบริเวณใกล้เคียงกรุงเทพฯ กรมศิลปากร, 2541.

สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณสถานแห่งชาติที่ ราชบุรี. ทุ่งเศรษฐี โบราณสถานทวารวดี ชายฝั่งทะเลเพชรบุรีกรุงเทพฯ กรมศิลปากร, 2543.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ภาพเกี่ยวกับแหล่งโบราณคดี