โพสต์เมื่อ 13 ก.ค. 2020
ชื่ออื่น : วัดใน
ที่ตั้ง : เลขที่ 12 ถ.ชัยพฤกษ์ แขวงตลิ่งชัน เขตตลิ่งชัน
ตำบล : ตลิ่งชัน
อำเภอ : เขตตลิ่งชัน
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร
พิกัด DD : 13.78339 N, 100.463482 E
เขตลุ่มน้ำหลัก : เจ้าพระยา
เขตลุ่มน้ำรอง : คลองบางกอกน้อย, คลองวัดไก่เตี้ย
จากถนนบรมราชชนนีฝั่งขาออก (บริเวณใต้สะพานข้ามคลองบางกอกน้อย) ใช้ถนนชัยพฤกษ์ (มุ่งหน้าบางขุนนนท์) เข้าไปประมาณ 250 เมตร พบวัดนครป่าหมากทางขวามือ
วัดนครป่าหมากมีการจัดงานเนื่องในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาต่างๆ ปัจจุบันมีการใช้ศาลาการเปรียญเป็นสถานที่ให้บริการนวดและอบสมุนไพร รวมทั้งเปิดสอนหลักสูตรการนวดแผนไทยด้วย
หมายเลขโทรศัพท์วัดนครป่าหมาก 02-435-9464
วัดนครป่าหมาก
วัดนครป่าหมากเป็นวัดที่ยังคงมีการใช้งานอยู่ในปัจจุบัน ตั้งอยู่ริมถนนชัยพฤกษ์และริมคลองวัดไก่เตี้ย (ฝั่งด้านทิศใต้ของคลอง) ห่างจากคลองบางกอกน้อยมาทางทิศตะวันตกประมาณ 200 เมตร และห่างจากคลองชักพระขึ้นมาทิศเหนือประมาณ 450 เมตร
วัดตั้งอยู่บนพื้นที่ราบลุ่ม น้ำท่วมถึง เกิดจากการทับถมของตะกอนน้ำพา สภาพพื้นที่โดยรอบวัดปัจจุบันเป็นชุมชนเมือง มีสิ่งปลูกสร้างต่างๆ หนาแน่น
คลองวัดไก่เตี้ย, คลองบางกอกน้อย, แม่น้ำเจ้าพระยา
ตั้งอยู่บนที่ราบลุ่มบางกอกหรือที่ราบลุ่มกรุงเทพ เกิดจากการทับถมของตะกอนน้ำพาในยุคควอเทอร์นารี (Quaternary Period)
ชื่อผู้ศึกษา : ประยูร อุลุชาฏะ (น. ณ ปากน้ำ)
ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2513
วิธีศึกษา : สำรวจ
ผลการศึกษา :
ประยูร อุลุชาฏะ (2514) สำรวจวัดนครป่าหมาก และสันนิษฐานอายุสมัยจากรูปแบบอุโบสถและพระพุทธรูปภายในอุโบสถปีที่ศึกษา : พ.ศ.2546, พ.ศ.2547
วิธีศึกษา : บูรณปฏิสังขรณ์
ผลการศึกษา :
ปรับพื้นลานรอบอุโบสถและบูรณะยกแนวกำแพงแก้วรวมทั้งซุ้มประตูภายนอกให้สูงขึ้นตามชื่อผู้ศึกษา : ศรัณย์ ทองปาน
ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2549?
วิธีศึกษา : สำรวจ, ประวัติศาสตร์
องค์กรร่วม / แหล่งทุน : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
ผลการศึกษา :
ศรัณย์ ทองปาน (2549?) รวบรวมข้อมูลทางประวัติศาสตร์รวมถึงข้อมูลต่างๆ ของวัด และสำรวจเพื่อสร้างฐานข้อมูลของวัดในเขตตลิ่งชัน เสนอต่อศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)ชื่อผู้ศึกษา : วลัยลักษณ์ ทรงศิริ
ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2552
วิธีศึกษา : สำรวจ, ประวัติศาสตร์
องค์กรร่วม / แหล่งทุน : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
ผลการศึกษา :
รวบรวมและศึกษาข้อมูลด้านต่างๆ ทางสังคมวัฒนธรรมในพื้นที่เขตตลิ่งชัน เสนอเป็นรายงานวิจัย “ศึกษาประวัติศาสตร์และการเปลี่ยนแปลงทางสังคมวัฒนธรรมชุมชนในพื้นที่ตลิ่งชัน” ต่อศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)ชื่อผู้ศึกษา : วิชญดา ทองแดง, ศรัณย์ ทองปาน
ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2555
วิธีศึกษา : สำรวจ, ประวัติศาสตร์
องค์กรร่วม / แหล่งทุน : เมืองโบราณ
ผลการศึกษา :
วิชญดา ทองแดง และศรัณย์ ทองปาน (2555) รวบรวมข้อมูลทางประวัติศาสตร์รวมถึงข้อมูลต่างๆ ของวัด และสำรวจบันทึกสภาพปัจจุบันวัดนครป่าหมากเป็นวัดราษฎร์ สังกัดมหานิกาย ประวัติวัดตามข้อมูลของสำนักงานพระพุทธศาสนาระบุว่าสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2400 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาหลังสุดเมื่อ 19 มีนาคม 2550
ประวัติวัดฉบับกรมการศาสนา (2526 : 119) กล่าวว่า วัดนครป่าหมากสร้างเมื่อใดไม่ปรากฏหลักฐาน แต่เดิมชาวบ้านมักเรียกว่า “วัดใน” ในอดีตได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ.2430 จึงสันนิษฐานว่าน่าจะสร้างขึ้นประมาณ พ.ศ.2400
ลำดับเจ้าอาวาสเท่าที่สืบค้นได้ (ศรัณย์ ทองปาน 2549? : 107) คือ หลวงปู่ท้วม, พระอธิการนาค นาโค พ.ศ.2471-2512, พระครูประโชติธรรมรัตน์ (ประโชติ เตชธมฺโม)
สิ่งสำคัญภายในวัด (ศรัณย์ ทองปาน 2549? : 107-108) ได้แก่
อุโบสถ หันหน้าไปทางทิศตะวันออก สู่ถนนชัยพฤกษ์ สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2520 หน้าบันปูนปั้นเป็นภาพพระพุทธรูปปางมารวิชัย ท่ามกลางเครือเถาลายกนก
ประยูร อุลุชาฏะ (2514 : 262) ให้ความเห็นว่า อุโบสถหลังเดิมเป็นทรงเก่าสมัยอยุธยา แต่ได้รับการปฏิสังขรณ์ใหม่
ภายในประดิษฐานพระประธาน ประยูร อุลุชาฏะ (2514 : 262) ระบุว่าเป็นพระพุทธรูปหินทรายปางสมาธิ ขนาดหน้านัก 4 ศอกเศษ น่าจะมีอายุถึงสมัยอยุธยาตอนต้นหรือตอนกลาง
ส่วนพระพุทธรูปขนาดย่อมเบื้องซ้าย-ขวาพระประธาน น่าจะสร้างขึ้นในสมัยอยุธยาเช่นเดียวกัน และด้วยลักษณะพระพักตร์ที่มีเค้าศิลปะลพบุรี จึงอาจเก่าแก่ไปถึงสมัยอยุธยาตอนต้น (ประยูร อุลุชาฏะ 2514 : 262)
ระหว่าง พ.ศ.2547-2548 มีการปรับพื้นลานรอบอุโบสถ รวมถึงบูรณะยกแนวกำแพงแก้วและซุ้มประตูภายนอกให้สูงขึ้นตาม
ส่วนผนังภายในเขียนภาพจิตรกรรมฝีมือช่างสมัยปัจจุบัน ผนังด้านข้างเป็นภาพพุทธประวัติ ผนังด้านหน้าเขียนภาพประเพณี 12 เดือน เขียนขึ้นเมื่อ พ.ศ.2547
ศาลาการเปรียญ กว้าง 11 เมตร ยาว 30 เมตร ชั้นบนเป็นอาคารไม้ ชั้นล่างเป็นคอนกรีต มีป้ายว่าเป็นโรงเรียนพระปริยัติธรรม แต่ปัจจุบันใช้เป็นสถานที่ให้บริการนวดและอบสมุนไพร ทั้งยังเปิดสอนหลักสูตรการนวดแผนไทยด้วย
ศาลาร้อยปี หลวงปู่ท้วม หลวงปู่นาค อยู่ทางด้านเหนือของอุโบสถ ภายในประดิษฐานรูปเหมือนอดีตเจ้าอาวาส 2 รูป คือ หลวงปู่ท้วม หลวงปู่นาค (อดีตเจ้าอาวาส)
กรมการศาสนา. ประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม 2. กรุงเทพฯ. กรมการศาสนา 2526.
ประยูร อุลุชาฏะ (น. ณ ปากน้ำ). ศิลปกรรมในบางกอก. พระนคร ; เกษมบรรณกิจ, 2514.
วลัยลักษณ์ ทรงศิริ. การศึกษาภูมิหลังและการเปลี่ยนแปลงทางสังคมวัฒนธรรมชุมชนในพื้นที่ตลิ่งชัน. กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), 2552.
วิชญดา ทองแดง และศรัณย์ ทองปาน. ชุมทางตลิ่งชัน : ย่านเก่า[ก่อน]กรุงเทพฯ. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, 2555.
ศรัณย์ ทองปาน. โครงการสำรวจเพื่อสร้างฐานข้อมูลของวัดในเขตตลิ่งชัน. กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), 2549?.
ศรัณย์ ทองปาน และวิชญดา ทองแดง. “ชุมทางตลิ่งชัน.” เมืองโบราณ 32, 4 (ต.ค.-ธ.ค. 2549) : 43-57.