โพสต์เมื่อ 13 ก.ค. 2020
ชื่ออื่น : พระราชวังโบราณ
ที่ตั้ง : ต.ในเมือง (เทศบาลเมืองกำแพงเพชร) อ.เมืองกำแพงเพชร
ตำบล : ในเมือง
อำเภอ : เมือง
จังหวัด : กำแพงเพชร
พิกัด DD : 16.490601 N, 99.517979 E
เขตลุ่มน้ำหลัก : ปิง
สระมนตั้งอยู่ในเมืองโบราณกำแพงเพชร ในพื้นที่ด้านทิศเหนือของส่วนของบริเวณกลางเมือง ติดกับกำแพงเมืองกำแพงเพชรทางด้านทิศเหนือ บริเวณประตูสะพานโคม และอยู่ทางทิศเหนือของโบราณสถานวัดแก้ว ปัจจุบันอยู่ในเขตเทศบาลเมืองกำแพงเพชร ริมถนนราชดำเนิน 2 (ทางหลวงหมายเลข 101)
เข้าชมได้ทุกวัน ไม่มีเวลาเปิด–ปิด ไม่เสียค่าธรรมเนียมเข้าชม
กรมศิลปากร
ขึ้นทะเบียนของกรมศิลปากร
1. ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 52 ตอนที่ 75 วันที่ 8 มีนาคม 2478
2. ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 54 วันที่ 3 มกราคม 2480
3. ประกาศขึ้นทะเบียนกำหนดขอบเขตอีกครั้งในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 85 ตอนที่ 41 วันที่ 7 พฤษภาคม 2511
ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2534
สระมนตั้งอยู่ในเมืองโบราณกำแพงเพชร ในพื้นที่ด้านทิศเหนือของส่วนของบริเวณกลางเมือง ติดกับกำแพงเมืองกำแพงเพชรทางด้านทิศเหนือ บริเวณประตูสะพานโคม และอยู่ทางทิศเหนือของโบราณสถานวัดแก้ว ปัจจุบันอยู่ในเขตเทศบาลเมืองกำแพงเพชร
แม่น้ำปิง
ดินปนทรายและมีชั้นทรายตะกอนแม่น้ำ เนื่องจากบริเวณนี้แต่เดิมเป็นที่ราบลุ่มริมฝั่งแม่น้ำปิง ต่อมาแม่น้ำปิงตื้นเขินขึ้นเนื่องจากการทับถมของตะกอนทรายและดินปนทรายจึงเกิดเป็นที่ราบบริเวณเมืองกำแพงเพชรนี้
ชื่อผู้ศึกษา : พิทยา ดำเด่นงาม
ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2508
วิธีศึกษา : ขุดแต่ง, ศึกษาสถาปัตยกรรม
องค์กรร่วม / แหล่งทุน : กรมศิลปากร
ผลการศึกษา :
แผนผังมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส กึ่งกลางพื้นที่มีสระรูปมนเกือบกลม สันนิษฐานว่าเป็นพระราชวังของผู้ครองเมืองกำแพงเพชร ตัวอาคารคงทำด้วยไม้จึงไม่เหลือหลักฐาน (กรมศิลปากร 2514 : 8 – 9)ชื่อผู้ศึกษา : วรยศ ทัศนปิติกุล
ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2526
วิธีศึกษา : ขุดค้น
องค์กรร่วม / แหล่งทุน : ม.ศิลปากร
ผลการศึกษา :
จากการขุดค้นพบหลักฐานตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 19 ซึ่งเป็นหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับที่อยู่อาศัย และสันนิษฐานว่าพื้นที่นี้อาจเป็นวังหรือที่อยู่ของชนชั้นปกครองในสมัยอยุธยา (วรยศ ทัศนปิติกุล 2526 : 49 – 53)ชื่อผู้ศึกษา : ห้างหุ้นส่วนจำกัด สามเพชร
ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2549
วิธีศึกษา : ขุดค้น, ขุดตรวจ, ทำผัง
องค์กรร่วม / แหล่งทุน : กรมศิลปากร
ผลการศึกษา :
ทำการขุดค้นทางโบราณคดี สามารถสรุปผลจากหลักฐานที่พบ ว่าบริเวณสระมนมีชั้นวัฒนธรรมที่มีการอยู่อาศัยตั้งแต่ราวปลายพุทธศตวรรษที่ 19 ต่อเนื่องมาจนถึงพุทธศตวรรษที่ 24 คืนตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงสมัยอยุธยา ส่วนการขุดตรวจพบแนวโบราณสถานก่อด้วยศิลาแลงซึ่งเป็นแนวที่ไม่ต่อเนื่องกันจึงไม่สามารถบอกหน้าที่การใช้งานได้ และขุดตรวจแนวคันดินที่สันนิษฐานว่าเป็นกำแพงของสระมนก็ไม่พบร่องรอยการก่อสร้างจึงสันนิษฐานว่าเดิมเคยเป็นคันดินที่ใช้กำแพงที่ทำจากไม้ปักเรียงกัน (ห้างหุ้นส่วนจำกัด สามเพชร, 2550 : 133 - 135)สระมน ตั้งอยู่ทางด้านทิศเหนือของวัดพระแก้วติดกับกำแพงเมืองกำแพงเพชรทางด้านทิศเหนือ บริเวณประตูสะพานโคม ลักษณะผังบริเวณเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีคันดินเป็นขอบเขตรอบนอก ภายในมีแนวคูน้ำรูปสี่เหลี่ยมขนานกับแนวคันดินทั้งสี่ด้านจึงแบ่งพื้นที่ออกเป็นสองส่วนคือ เขตชั้นนอกและชั้นใน ตรงกลางของพื้นที่มีสระน้ำรูปสี่เหลี่ยมที่เรียกกันว่า สระมน จากการขุดแต่งทางโบราณคดีพบฐานอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าก่อด้วยศิลาแลงภายในคันดินรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าหรือที่เรียกกันว่าสระมน อาจเป็นบริเวณที่อยู่อาศัย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชวินิจฉัยว่าน่าจะเป็นวังของเจ้าเมือง (กรมศิลปากร 2552 : 69 - 70)
กรมศิลปากร. นำชมอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์สมาพันธ์ , 2552.
กรมศิลปากร. รายงานการสำรวจและขุดแต่งบูรณะโบราณวัตถุสถานเมืองเก่ากำแพงเพชร เมืองศรีสัชชนาลัย พ.ศ.2508-2512. พระนคร : ม.ป.ท. , 2514.
วรยศ ทัศนปิติกุล. “การขุดค้นทางโบราณคดีที่สระมนหรือเขตพระราชวังเดิม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร” สารนิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต (โบราณคดี) คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2526
ห้างหุ้นส่วนจำกัด สามเพชร. การขุดค้น ขุดตรวจ ทางโบราณคดีบริเวณพื้นที่โบราณสถานสระมน (วังโบราณ) อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร เขตในกำแพงเมือง ตำบลในเมือง อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร. ม.ป.ท., 2550
Google map 2015 [Online]. Accessed 14 February 2015. Available from https://maps.google.com