เขาตาจีน


โพสต์เมื่อ 19 พ.ค. 2022

ที่ตั้ง : ม.7 บ้านดอน

ตำบล : นายาง

อำเภอ : ชะอำ

จังหวัด : เพชรบุรี

พิกัด DD : 12.856337 N, 99.957396 E

เขตลุ่มน้ำหลัก : เพชรบุรี, อ่าวไทย

เส้นทางเข้าสู่แหล่ง

จากโบราณสถานทุ่งเศรษฐี มุ่งหน้าไปทางทิศเหนือตามถนนประมาณ กิโลเมตร หรือหากมาจากตัวเมืองเพชรบุรี ใช้ถนนเพชรเกษม (ทางหลวงหมายเลข 4) มุ่งหน้าลงใต้ ผ่าน อ.บ้านลาด และ อ.ท่ายาง เมื่อเข้าสู่ อ.ชะอำ ต.ดอนขุนห้วย ให้เลี้ยวซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข 3174 ประมาณ กิโลเมตร เลี้ยวขวามุ่งหน้าตัว ต.นายาง ประมาณ กิโลเมตร (ผ่านตัว ต.นายางจะพบเขาตาจีนและสำนักสงฆ์ถ้ำเจดีย์น้ำเขาตาจีนอยู่ทางขวามือ

ประโยชน์ทางการท่องเที่ยว

เป็นแหล่งท่องเที่ยว

รายละเอียดทางการท่องเที่ยว

ปัจจุบันถ้ำบนเขาตาจีนเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมของสำนักสงฆ์ถ้ำเจดีย์น้ำเขาตาจีน ที่ตั้งอยู่เชิงเขาด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ และยังเป็นสถานที่ให้ประชาชนสักการะพระพุทธรูป พร้อมทั้งชื่นชมความสวยงามของถ้ำและเขาตาจีน

หน่วยงานที่ดูแลรักษา

กรมศิลปากรกรมป่าไม้

การขึ้นทะเบียน

ไม่ขึ้นทะเบียน

ภูมิประเทศ

ถ้ำ/เพิงผา

สภาพทั่วไป

บนเขาตาจีนมีถ้ำตั้งอยู่ทางด้านทิศใต้ ปากถ้ำหันไปทางทิศตะวันตก ภายในถ้ำพบเศษอิฐเป็นจำนวนมาก คาดว่าเดิมมีสิ่งก่อสร้างแต่ถูกรื้อทำลายโดยพวกลักลอบขุดหาโบราณวัตถุจนหมดสภาพ ปัจจุบันมีพระภิกษุเข้าไปปรับพื้นที่และเทพื้นซีเมนต์ปิดหลุมลักลอบขุด

ความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง

7-67 เมตร

สภาพธรณีวิทยา

เขาตาจีนเป็นเขาหินปูนลูกโดด อยู่ห่างจากชายฝั่งทะเลปัจจุบันประมาณ กิโลเมตร และอยู่ทางทิศเหนือของเขาจอมปราสาท ระยะทางประมาณ 800 เมตร 

พื้นที่โดยรอบเป็นที่ราบน้ำขึ้นถึง (Old tidal flat) ที่เกิดจากการทับถมของตะกอนน้ำกร่อยและตะกอนน้ำทะเล และมีพื้นที่บางส่วนที่เป็นหาดทรายเดิม (Old sandy beach)

ยุคทางโบราณคดี

ยุคประวัติศาสตร์

สมัย/วัฒนธรรม

สมัยทวารวดี

อายุทางโบราณคดี

ราวพุทธศตวรรษที่ 12-16 / พ.ศ.1100-1600

ประวัติการศึกษา

ชื่อผู้ศึกษา : กรมศิลปากร

ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2540

วิธีศึกษา : สำรวจ

องค์กรร่วม / แหล่งทุน : กรมศิลปากร

ผลการศึกษา :

พ.ศ.2540 สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ 1 ราชบุรี กรมศิลปากร สำรวจทางโบราณคดีในถ้ำเขาตาจีน เนื่องในโครงการจัดทำแผนแม่บทเพื่ออนุรักษ์พัฒนาเมืองคูบัว

ประเภทของแหล่งโบราณคดี

ศาสนสถาน

สาระสำคัญทางโบราณคดี

จากการสำรวจของสำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ ราชบุรี (2540 : 83) ภายในถ้ำบนเขาตาจีน พบอิฐขนาดใหญ่ ขนาดกว้างประมาณ 18 เซนติเมตร หนา 8 เซนติเมตร มีแกลบข้าวผสมมาก คล้ายอิฐแบบทวารวดี สันนิษฐานว่าในอดีตอาจมีโบราณสถานที่ก่อด้วยอิฐอยู่ภายในถ้ำ แต่ปัจจุบันถูกทำลายจนไม่เหลือสภาพแล้ว ส่วนภายนอกถ้ำพบเศษภาชนะดินเผา เนื้อหนา เผาด้วยอุณหภูมิต่ำ ลักษณะคล้ายฐานภาชนะ

เมื่อพิจารณาจากทำเลที่ตั้งและลักษณะของหลักฐาน สันนิษฐานว่าโบราณสถานก่ออิฐภายในถ้ำบนเขาตาจีน มีอายุอยู่ในสมัยวัฒนธรรมทวารวดี และน่าจะมีความสัมพันธ์กับชุมชนสมัยทวารวดีบริเวณทุ่งเศรษฐี ที่อยู่ห่างออกไปทางทิศใต้ประมาณ 700-800เมตร โดยอาจจะเป็นศาสนสถานประเภทถ้ำ (หรือเจติยสถาน) ที่อยู่ไกลจากชุมชน ในลักษณะของวัดป่า ดังเช่นเขางู จ.ราชบุรี ถ้ำเขาสมอคอน จ.ลพบุรี ถ้ำพระโพธิสัตว์ จ.สระบุรี ถ้ำเขาถมอรัตน์ จ.เพชรบูรณ์ เป็นต้น

บรรณานุกรม

ระบบฐานข้อมูลแหล่งมรดกทางศิลปวัฒนธรรม และระบบภูมิสารสนเทศ โครงการสำรวจแหล่งมรดกทางศิลปวัฒนธรรม [Online]. Accessed 30 March 2011. Available from http://www.gis.finearts.go.th

สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณสถานแห่งชาติที่ 1 ราชบุรี. คูบัว : ความสัมพันธ์กับชุมชนทวารวดีในบริเวณใกล้เคียง. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2541.

สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณสถานแห่งชาติที่ 1 ราชบุรี. ทุ่งเศรษฐี: บราณสถานทวารวดี ชายฝั่งทะเลเพชรบุรี. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2543.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง