โพสต์เมื่อ 13 ก.ค. 2020
ที่ตั้ง : อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ต.เมืองเก่า อ.เมืองสุโขทัย
ตำบล : เมืองเก่า
อำเภอ : เมือง
จังหวัด : สุโขทัย
พิกัด DD : 17.018692 N, 99.673465 E
เขตลุ่มน้ำหลัก : ยม
เขตลุ่มน้ำรอง : คลองเสาหอ
โบราณสถานวัดเจดีย์งามตั้งอยู่ในกำแพงนอกเมืองเก่าสุโขทัยไปทางทิศตะวันตกบนเขาเจดีย์งาม จากประตูอ้อ ซึ่งเป็นประตูเมืองด้านทิศตะวันตก ไปตามถนนประมาณ 1 กิโลเมตร จะพบสามแยกบริเวณหน้าหอเทวาลัยและวัดป่ามะม่วง ให้เลี้ยวซ้ายไปตามถนนอีกประมาณ 2.3 กิโลเมตร จะพบวัดช้างรอบทางขวามือ ตรงข้ามฝั่งถนนกับวัดพระบาทน้อย
วัดช้างรอบตั้งอยู่นอกเมืองเก่าสุโขทัยไปทางทิศตะวันตก ผู้สนใจสามารถเข้าเยี่ยมชมได้ทุกวัน โดยไม่เสียค่าเข้าชม ดูแลรักษาโดยอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย กรมศิลปากร
ที่บริเวณลานจอดรถของอุทยานฯ ศูนย์บริการนักท่องเที่ยวมีบริการ รถราง นำชมรอบ ๆ บริเวณอุทยานฯ อัตราค่าบริการ นักท่องเที่ยว ชาวไทย 10 บาท ชาวต่างชาติ 20 บาท นอกจากนั้นที่บริเวณด้านหน้าอุทยานฯ มีบริการรถจักรยานของเอกชนให้เช่า
การเดินทางจากตัวเมืองสุโขทัย นักท่องเที่ยวสามารถนั่งรถประจำทางสายเมืองเก่า (รถสองแถว) มีรถออกทุก 20 นาที จอดรอบบริเวณท่ารถใกล้ป้อมยามตำรวจมาลงที่หน้าอุทยานฯ มีรถออกทุก 20 นาที
หมายเลขโทรศัพท์ที่ทำการอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย โทร.055-697-527 โทรสาร 055-697310
กรมศิลปากร
ขึ้นทะเบียนของ UNESCO
วันที่ 12 ธันวาคม 2534 ที่เมืองคาร์เทจ ประเทศตูนีเซีย เป็นมรดกโลกตามบัญชีลำดับที่ 574
โบราณสถานวัดช้างรอบเป็นวัดร้างตั้งอยู่ที่ลาดเชิงเขาด้านทิศใต้ของเขาสะพานหิน ทิศตะวันออกของเขาพระบาท นอกเมืองสุโขทัยไปทางทิศตะวันตก โดยห่างจากคูเมืองด้านทิศตะวันตกไปทางทิศตะวันตกประมาณ 2.1 กิโลเมตร ห่างจากคลองเสาหอไปทางทิศเหนือประมาณ 1.5 กิโลเมตร ห่างจากวัดพระบาทน้อยมาทางทิศตะวันออกประมาณ 100 เมตร ห่างจากวัดอรัญญิกมาทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 100 เมตร ห่างจากวัดสะพานหินมาทางทิศใต้ประมาณ 500 เมตร
คลองเสาหอ, แม่น้ำยม
เขาสะพานหินและเขาพระบาทน้อยเป็นเขาหินปูนในหมวดหินก้างปลา กลุ่มหินลำปาง ยุคไทรแอสซิก ช่วง 245-210 ล้านปีมาแล้ว (กรมทรัพยากรธรณี 2551 : 15) ก่อตัวขึ้นในสภาวะแวดล้อมการสะสมตะกอนทะเลในเขตภาคเหนือของไทย
ชื่อผู้ศึกษา : สุภัทรดิศ ดิศกุล
ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2521
วิธีศึกษา : ประวัติศาสตร์ศิลปะ, ศึกษาสถาปัตยกรรม
องค์กรร่วม / แหล่งทุน : คณะกรรมการกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ
ผลการศึกษา :
ศ.ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล (2521) ทรงศึกษา รวบรวม และจัดทำเนื้อหาเกี่ยวกับศิลปะสุโขทัย (โครงการอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย)ชื่อผู้ศึกษา : พิเศษ เจียจันทร์พงษ์
ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2546
วิธีศึกษา : ประวัติศาสตร์ศิลปะ, ศึกษาสถาปัตยกรรม, ประวัติศาสตร์
องค์กรร่วม / แหล่งทุน : กรมศิลปากร
ผลการศึกษา :
พิเศษ เจียจันทร์พงษ์ นักโบราณคดีกรมศิลปากร รวบรวมและศึกษาข้อมูลโบราณสถานในอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ศรีสัชนาลัย และกำแพงเพชร แล้วเผยแพร่ในเอกสาร “นำชมอุทยานประวัติศาสตร์ สุโขทัย ศรีสัชนาลัย กำแพงเพชร”โบราณสถานวัดช้างรอบเป็นวัดร้างในเขตอรัญญิกของเมืองสุโขทัย ตั้งอยู่ที่ลาดเชิงเขาด้านทิศใต้ของเขาสะพานหิน ทิศตะวันออกของเขาพระบาท ในเทือกเขาประทักษ์ นอกเมืองสุโขทัยไปทางทิศตะวันตก โดยตั้งอยู่ห่างจากคูเมืองด้านทิศตะวันตกไปทางทิศตะวันตกประมาณ 2.1 กิโลเมตร ห่างจากคลองเสาหอไปทางทิศเหนือประมาณ 1.5 กิโลเมตร ห่างจากวัดพระบาทน้อยมาทางทิศตะวันออกประมาณ 100 เมตร ห่างจากวัดอรัญญิกมาทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 100 เมตร ห่างจากวัดสะพานหินมาทางทิศใต้ประมาณ 500 เมตร
โบราณสถานสำคัญประกอบด้วย เจดีย์ประธาน เป็นเจดีย์ทรงกลมแบบลังกา ฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีช้างโผล่ครึ่งตัว มีจำนวน 24 เชือก อุโบสถอยู่ด้านหน้าหรือด้านทิศตะวันออกของเจดีย์ประธาน ขนาด 6 ห้อง เสาศิลาแลง มีเจดีย์ราย 5 องค์ล้อมรอบเจดีย์ประธานและโบสถ์ (สุภัทรดิศ ดิศกุล 2521 : 93 ; พิเศษ เจียจันทร์พงษ์ 2546 : 35)
กรมทรัพยากรธรณี. การจำแนกเขตเพื่อการจัดการด้านธรณีวิทยา และทรัพยากรธรณี จังหวัดสุโขทัย. กรุงเทพฯ : กรมทรัพยากรธรณี, 2551.
พิเศษ เจียจันทร์พงษ์. นำชมอุทยานประวัติศาสตร์ สุโขทัย ศรีสัชนาลัย กำแพงเพชร. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2546.
สุภัทรดิศ ดิศกุล, ม.จ. ศิลปสุโขทัย. กรุงเทพฯ :คณะกรรมการฝ่ายวัฒนธรรม ยูเนสโก, 2521.