หนองหินตั้ง


โพสต์เมื่อ 13 ก.ค. 2020

ที่ตั้ง : อยู่ระหว่างบ้านโสกคร้อ และบ้านหนองฉิม ต.หนองฉิม อ.เนินสง่า

ตำบล : หนองฉิม

อำเภอ : เนินสง่า

จังหวัด : ชัยภูมิ

พิกัด DD : 15.542387 N, 101.950233 E

เขตลุ่มน้ำหลัก : ชี

เส้นทางเข้าสู่แหล่ง

จากตัวอำเภอเนินสง่า ใช้ทางหลวงหมายเลข 2180 มุ่งหน้าทางทิศตะวันตกสู่ตำบลหนองฉิม ประมาณ 3.5 กิโลเมตร เมื่อเข้าถึงตัวตำบลหนองฉิมให้ใช้ถนนที่มุ่งหน้าลงทิศใต้สู่บ้านโสกคร้อ ปรมาณ 1.8 กิโลเมตร พบสามแยกให้เลี้ยวขวา ประมาณ 200 เมตร พบสามแยกให้เลี้ยวซ้าย ไปตามถนนอีกประมาณ 550 เมตร จะพบบ่อน้ำที่เป็นที่ตั้งของแหล่งโบราณคดีหนองหินตั้งอยู่ทางซ้ายมือ

ประโยชน์ทางการท่องเที่ยว

ไม่เป็นแหล่งท่องเที่ยว

รายละเอียดทางการท่องเที่ยว

หลักฐานทางโบราณคดีไม่ได้รับการอนุรักษ์ใดๆ แต่น่าจะมีการจัดการที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อของคนปัจจุบัน สังเกตได้จากศาลที่ตั้งอยู่ด้านข้าง

หน่วยงานที่ดูแลรักษา

เอกชน

การขึ้นทะเบียน

ขึ้นทะเบียนของกรมศิลปากร

รายละเอียดการขึ้นทะเบียน

หนองหินตั้งได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานในราชกิจจจานุเบกษา เรื่องการกำหนดจำนวนโบราณสถานสำหรับชาติ เล่ม 53 หน้า 903 วันที่ 2 สิงหาคม 2479

ภูมิประเทศ

ที่ราบ

สภาพทั่วไป

สภาพพื้นที่โดยทั่วไปบริเวณหนองหินตั้งเป็นที่ราบ ปัจจุบันเป็นพื้นที่เกษตรกรรม ทั้งทำไร่และทำนา พื้นที่ที่ราบดังกล่าวเกิดจากการทับถมของตะกอนน้ำพาเป็นหลัก มีล้ำน้ำธรรมชาติขนาดเล็ก 2 สาย โดยอยู่ห่างออกไปทางทิศใต้ของแหล่งประมาณ 500 เมตร 1 สาย และอยู่ห่างออกไปทางทิศเหนือของแหล่งประมาณ 650 เมตร 1 สาย ซึ่งลำน้ำนี้จะไหลออกสู่บึงละหานซึ่งอยู่ห่างออกไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ 8 กิโลเมตร และไหลออกสู่แม่น้ำชีในที่สุด

หลักฐานทางโบราณคดีพบอยู่บริเวณคันดินระหว่างขอบบ่อน้ำกับไร่ของชาวบ้าน ใต้ต้นไม้ใหญ่ มีไม้พุ่มและใบไม้แห้งกองทับถมอยู่โดยรอบ

ความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง

199 เมตร

ทางน้ำ

แม่น้ำชี

สภาพธรณีวิทยา

ธรณีสัณฐานเป็นหินเกลือในหมวดหินมหาสารคาม (Mahasarakham Formation – KTms) ยุคครีเทเชียส

ยุคทางโบราณคดี

ยุคประวัติศาสตร์

ประวัติการศึกษา

ไม่พบผลลัพธ์

ประเภทของแหล่งโบราณคดี

ศาสนสถาน

สาระสำคัญทางโบราณคดี

หลักฐานทางโบราณคดีพบอยู่บริเวณคันดินระหว่างขอบบ่อน้ำกับไร่ของชาวบ้าน ใต้ต้นไม้ใหญ่ มีไม้พุ่มและใบไม้แห้งกองทับถมอยู่โดยรอบ ลักษณะเป็นก้อนหินทรายสีชมพูทรงลูกบาศก์จำนวน 1 ก้อน ขนาดกว้าง 60 เซนติเมตร ยาว 60 เซนติเมตร สูง 35 เซนติเมตร มีรูตรงกลางทะลุถึงกันระหว่างด้านบนและล่าง เส้นผ่าศูนย์กลางรู 10 เซนติเมตร มีการเซาะเป็นร่อง 3 ร่องอยู่ตรงกลางก้อนหินในแนวขวาง มีร่องรอยการขุดเซาะตกแต่งก้อนหินในสมัยโบราณและร่องรอยหินกะเทาะแตกร่อนที่เกิดจากการกระทำในสมัยปัจจุบันอยู่ทั่วทั้งก้อน นอกจากนี้ โคนต้นไม้หินก้อนนี้ยังเป็นที่ตั้งของศาลขนาดเล็ก

จากรูปทรงโดยทั่วไปสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นฐานประติมากรรม อายุอยู่ในยุคประวัติศาสตร์ (สมัยทวารวดี-สมัยเขมร) จากการสอบถามชาวบ้านได้ข้อมูลว่า ฐานประติมากรรมดังกล่าวพบอยู่ในตำแหน่งที่ตั้งปัจจุบันมาเป็นเวลานานแล้ว (อย่างน้อยก็หลายสิบปี) และชาวบ้านยังมีการขุดพบโบราณวัตถุและชิ้นส่วนประติมากรรมต่างๆ ที่ทำจากหินอีกหลายชิ้นในพื้นที่แถบนี้

ผู้เรียบเรียงข้อมูล-ผู้ดูแลฐานข้อมูล

ทนงศักดิ์ เลิศพิพัฒน์วรกุล

บรรณานุกรม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ภาพเกี่ยวกับแหล่งโบราณคดี