บ้านสงเปือย ต.สงเปือย อ.คำเขื่อนแก้ว จ.ยโสธร ชุมชนโบราณดงเมืองเตยปรากฏการตั้งถิ่นฐานมาตั้งแต่เมื่อประมาณ 2,500 ปีมาแล้ว ต่อเนื่องมาจนถึงพุทธศตวรรษที่ 18 มีคูน้ำคันดินล้อมรอบเมืองโบราณ
ต.พระธาตุ อ.นาดูน จ.มหาสารคาม พระธาตุนาดูนสร้างขึ้นในปี พ.ศ.2528-2529 บริเวณที่ตั้งของพระธาตุนาดูน เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่ได้จากเจดีย์สำริดขนาดเล็ก (ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติขอนแก่น) ที่พบในบริเวณที่ดินของนายทองดี ปะวะปูตา
ม.2 บ้านสระไข่น้ำ ต.กุดตุ้ม อ.เมืองชัยภูมิ จ.ชัยภูมิ, วัดสุลาลัย ต.โพนทอง อ.เมืองชัยภูมิ จ.ชัยภูมิ หลักฐานทางโบราณคดีที่พบอยู่ภายในวัดสุลาลัย หรือวัดสระไข่น้ำ (วัดสุลาลัยอยู่ในเขตตำบลโพนทอง แต่พื้นที่โดยรอบเป็นตำบลกุดตุ้ม) คือ เสมาหินทราย (สภาพสมบูรณ์และเกือบสมบูรณ์) 13 ใบ ฐานประติมากรรม 1 ฐาน
ต.หัวทะเล อ.บำเหน็จณรงค์ จ.ชัยภูมิ สันนิษฐานได้ว่าโบราณสถานแห่งนี้น่าจะเป็นอาคารแบบปราสาทหินขนาดเล็กหรือกู่ในวัฒนธรรมเขมร ก่อขึ้นด้วยศิลาแลงและหินทราย (ส่วนฐานอาจเป็นศิลาแลง) หันด้านหน้าอาคารไปทางทิศตะวันออก
ต.หนองไผ่ อ.เมืองชัยภูมิ จ.ชัยภูมิ สันนิษฐานว่าปรางค์ดอนกู่เป็นอาคารที่ก่อสร้างขึ้นเป็นที่พักคนเดินทางหรือธรรมศาลาในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 อายุราวพุทธศตวรรษที่ 18
ต.ในเมือง (เทศบาลเมืองชัยภูมิ) อ.เมืองชัยภูมิ จ.ชัยภูมิ ปัจจุบันหลักฐานทางโบราณคดีของปราสาทอยู่ภายในวัดสระแก้วที่ถูกระบุว่าเป็นปราสาทเมืองน้อยใต้นั้น น่าจะเป็นปราสาทที่พังทลายลงหมดแล้ว ชิ้นส่วนประกอบสถาปัตยกรรมและโบราณวัตถุต่าง ๆ ถูกเก็บไว้ด้านในและนอกศาลาแปดเหลี่ยมภายในวัดสระแก้ว
อยู่ระหว่างบ้านโสกคร้อ และบ้านหนองฉิม ต.หนองฉิม อ.เนินสง่า จ.ชัยภูมิ จากรูปทรงโดยทั่วไปสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นฐานประติมากรรม อายุอยู่ในยุคประวัติศาสตร์ (สมัยทวารวดี-สมัยเขมร)
ต.บ้านชวน อ.บำเหน็จณรงค์ จ.ชัยภูมิ หินตั้ง ปัจจุบันบริเวณอยู่กลางคันนา การปักหินตั้งของคนโบราณมีวัตถุประสงค์เกี่ยวพันกับความเชื่อ สันนิษฐานว่ามีอายุก่อนพุทธศตวรรษที่ 19
โรงเรียนบ้านชุมแพ ม.10 ถ.ชายทุ่ง บ้านชุมแพ ต.ชุมแพ อ.ชุมแพ จ.ขอนแก่น
เลขที่ 441 บ้านพระลับ ถ.หลังเมือง เทศบาลนครขอนแก่น ต.ในเมือง อ.เมืองขอนแก่น จ.ขอนแก่น