โพสต์เมื่อ 13 ก.ค. 2020
ที่ตั้ง : สำนักสงฆ์ธาตุกุดแห่น้อย ม.2 บ้านนาดอกไม้ ต.ชุมแพ อ.ชุมแพ
ตำบล : ชุมแพ
อำเภอ : ชุมแพ
จังหวัด : ขอนแก่น
พิกัด DD : 16.514048 N, 102.050821 E
จากที่ว่าการอำเภอชุมแพ ใช้ถนนชายทุ่ง มุ่งหน้าลงทิศใต้สู่บ้านนาดอกไม้ ประมาณ 4 กิโลเมตร พบสามแยก ให้ใช้ถนนเบี่ยงขวา ไปตามถนนประมาณ 1.1 กิโลเมตร ถึงบ้านนาดอกไม้ พยสามแยกให้เลี้ยวซ้าย ไปตามถนนอีกประมาณ 2.3 กิโลเมตร ถึงสำนักสงฆ์ธาตุกุดแห่น้อย โบราณสถานตั้งอยู่ภายในสำนักสงฆ์
โบราณสถถานธาตุกุดแห่งน้อยได้รับการขุดค้นศึกษา บูรณะ และปรับปรุงภูมิทัศน์จากกรมศิลปากรแล้ว ปัจจุบันอยู่ในสภาพดี และได้รับการเคารพสักการะจากชาวบ้านในพื้นที่เป็นอย่างมาก
ผู้สนใจสามารถเข้าเยี่ยมชมและสักการะได้ทุกวัน โดยไม่เสียค่าเข้าชม มีป้ายคำบรรยายให้ข้อมูลและแผนผังโบราณสถาน
กรมศิลปากร, สำนักสงฆ์ธาตุกุดแห่น้อย
โบราณสถานธาตุกุดแห่น้อยตั้งอยู่ภายในสำนักสงฆ์ธาตุกุดแห่น้อย อยู่ห่างจากชุมชนบ้านนาดอกไม้มาทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ 600 เมตร สภาพพื้นที่เป็นเนินดิน (ลานตะพัก) ในคุ้งลำน้ำธรรมชาติสายหนึ่งที่เป็นลำน้ำสาขาของลำน้ำเชิญ โดยลำน้ำเชิญอยู่ห่างออกไปทางทิศใต้ของโบราณสถานประมาณ 500 เมตร
สภาพพื้นที่โดยรวมมีลักษณะเป็นลูกคลื่นลอนลาดทางตะวันออกของเทือกเขาเพชรบูรณ์ และอยู่ห่างจากภูเวียงมาทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ 11 กิโลเมตร พื้นที่โดยรอบแหล่งเป็นพื้นที่เกษตรกรรม เป็นที่ลุ่มที่เกิดจากการทับถมของตะกอนน้ำพา
ลำน้ำเชิญ, แม่น้ำชี
ธรณีสัณฐานเป็นหินทรายในหมวดหินน้ำพอง
ชื่อผู้ศึกษา : กรมศิลปากร
ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2551
ชื่อผู้ศึกษา : กรมศิลปากร
ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2553
วิธีศึกษา : บูรณปฏิสังขรณ์
โบราณสถานธาตุกุดแห่น้อย เป็นสิมหรืออุโบสถร้าง อายุราวพุทธศตวรรษที่ 22-24 สมัยล้านช้าง ยังไม่ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถาน
โบราณสถานธาตุกุดแห่น้อย ประกอบไปด้วยฐานสิม (อุโบสถ) ก่อด้วยอิฐสอดิน ผังสี่เหลี่มผืนผ้า ขนาดกว้าง 9 เมตร ยาว 11 เมตร หันหน้าไปทางทิศตะวันตก ผนังด้านหลังทึบ ส่วนผนังอีก 3 ด้านเหลือร่องรอยเฉพาะส่วนฐานแต่สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นสิมโปร่ง คือมีผนังทึบด้านหลัง และส่วนด้านหน้าและด้านข้างเปิดโล่ง ภายในสิมมีเสาไม้รองรับโครงสร้างหลังคาที่ทำจากไม้
ด้านในสุดของฐานอาคารเป็นที่ประดิษฐานธาตุ (เจดีย์) ซึ่งชาวบ้านเรียกว่าธาตุกุดแห่น้อย องค์ธาตุก่ออิฐสอดินถือปูน อยู่ในแผนผังรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส โดยมีการก่อขยายมุขด้านทิศตะวันตกและทิศใต้เพิ่มเติมในสมัยหลัง ปัจจุบันองค์ธาตุอยู่ในสภาพชำรุด คงเหลือแต่เพียงส่วนฐานเท่านั้น
โบราณสถานแห่งนี้กำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ 22-24 สมัยล้านช้าง ได้รับการศึกษาและอนุรักษ์ครั้งหลังสุดระหว่าง พ.ศ.2551-2553
นอกจากนี้ จากการขุดค้นและขุดแต่งที่ผ่านมา ทำให้พบหลักฐานทางโบราณคดีที่สำคัญหลายชิ้น เช่น พระพุทธรูปสำริด พระพุทธรูปดินเผา ใบเสมา และเงินโบราณ (เงินฮาง) ซึ่งปัจจุบันหลักฐานเหล่านี้จัดเก็บอยู่ภายในกุฏิเจ้าอาวาส
http://damrong102.blogspot.com/2012/05/blog-post_26.html
http://www.bt-50.com/topic.php?q_id=26864