โพสต์เมื่อ 16 ม.ค. 2022
ที่ตั้ง : ต.พระธาตุ อ.นาดูน
ตำบล : พระธาตุ
อำเภอ : นาดูน
จังหวัด : มหาสารคาม
พิกัด DD : 15.703254 N, 103.227114 E
เขตลุ่มน้ำหลัก : มูล, ชี, เสียว
เขตลุ่มน้ำรอง : ลำแฮด, ห้วยเลิง, ห้วยวังกะฮุง, ห้วยกุดขี้นาค
ออกเดินทางจากอำเภอมหาสารคาม ไปตามทางหลวงหมายเลข 2040 เลี้ยวขวาเข้าทางหลวงสาย 2045 เลี้ยวขวาเข้าทาง รพช.สายนาดูน-นาเชือก เลี้ยวซ้ายทางเข้าพระธาตุนาดูน อีก 1 กิโลเมตร ถึงพระธาตุนาดูน ซึ่งอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอนาดูนไปทางทิศใต้ประมาณ 1 กิโลเมตร
สามารถเข้าสักการะและเยี่ยมชมได้ทุกวัน โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
มูลนิธิพระธาตุนาดูน, จังหวัดมหาสารคาม, กรมศิลปากร
บริเวณที่ตั้งพระธาตุนาดูน เป็นที่ราบลูกคลื่นสลับกัน ไม่มีแม่น้ำไหลผ่าน มีป่าเบญจพรรณเหลือบ้างเล็กน้อย
สภาพในอดีตมีลักษณะเป็นดงที่ชุกชุมไปด้วยสัตว์ป่าหลายชนิด มีทำเลที่ตั้งที่อุดมสมบูรณ์ เหมาะสมแก่การทำเกษตรกรรม ตั้งถิ่นฐานได้ โดยอาศัยหนองน้ำดูนเป็นแหล่งอุปโภคบริโภค ปัจจุบันหนองน้ำดูนอยู่ทางทิศเหนือของบ้านน้ำดูน จึงได้เรียกชื่อว่า บ้านหนองดูน หรือบ้านนาดูน)
ลำน้ำเสียว, ห้วยเลิง, ห้วยวังกะฮุง, ห้วยกุดขี้นาค, ลำแฮด, แม่น้ำมูล, แม่น้ำชี
บริเวณที่ตั้งพระธาตุนาดูน เป็นที่ราบลูกคลื่นสลับกัน ไม่มีแม่น้ำไหลผ่าน มีป่าเบญจพรรณเหลือบ้างเล็กน้อย ลักษณะดินส่วนใหญ่เป็นดินปนทราย ในฤดูแล้งเก็บน้ำไม่อยู่ บางแห่งมีดินเกลือปะปนซึ่งมีมากทางทิศตะวันออกและทิศใต้
ธรณีสัณฐานเป็นหินเคลย์ ในหมวดหินมหาสารคาม กลุ่มหินโคราช
ชื่อผู้ศึกษา : สถาพร ขวัญยืน
ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2523
วิธีศึกษา : ศึกษาสภาพแวดล้อม, ศึกษารูปเคารพ
ผลการศึกษา :
ศึกษาองค์ประกอบในพระพิมพ์ ประกอบจากดินเหนียว ทราย กรวด ศิลาแลง แกลบข้าว บางองค์มีเมล็ดข้าวอยู่ด้วยกรรมวิธีเผากลางแจ้งชื่อผู้ศึกษา : มยุรี วีระประเสิรฐ
ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2530
วิธีศึกษา : ศึกษาความเชื่อ, ประวัติศาสตร์ศิลปะ, ศึกษารูปเคารพ
ผลการศึกษา :
พระพิมพ์นาดูนมีความเป็นศิลปะทวารวดีท้องถิ่นค่อนข้างมาก และแสดงให้เห็นถึงอิทธิพลจากวัฒนธรรมทวารวดีภาคกลางซึ่งแผ่ขยายสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือพร้อมกับพุทธศาสนาเถรวาท อย่างไรก็ตามลักษณะบางประการยังแสดงให้เห็นถึงความเกี่ยวข้องกับอินเดีย ตลอดจนวัฒนธรรมเขมรสมัยก่อนเมืองพระนครและสมัยเมืองพระนคร โดยพระพิมพ์สร้างขึ้นเนื่องในพุทธศาสนาเถรวาท ขณะเดียวกันก็มีร่องรอยความคิดของพุทธศาสนามหายานด้วยชื่อผู้ศึกษา : วิริยา อุทธิเสน
ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2546
วิธีศึกษา : ประวัติศาสตร์ศิลปะ, ศึกษารูปเคารพ
ผลการศึกษา :
นำพระพิมพ์จากแหล่งเมืองโบราณนครจัมปาศรี และจาก อ.กันทรวิสัย จ.มหาสารคาม เมืองฟ้าแดดสงยาง อ.กมลาไสย จ.กาฬสินธุ์ เมืองไพร อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด มาจัดกลุ่มได้ 8 กลุ่ม โดยใช้ความแตกต่างในอิริยาบถ และมุทรา และจำนวนพระพุทธรูปชื่อผู้ศึกษา : บรูโน ดาแชงส์
ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2533
วิธีศึกษา : ประวัติศาสตร์ศิลปะ, ศึกษาการจัดการน้ำ
ผลการศึกษา :
ศึกษาการจัดการน้ำของเมืองโบราณนครจัมปาศรี และศาสนสถานในศาสนาฮินดู ได้แก่ กู่น้อย กู่สันตรัตน์ ประวัติความเป็นมาของเมืองแบ่งได้เป็น 4 ระยะ ระยะแรกตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 11-12 ส่วนระยะสุดท้ายเสื่อมลงจากอิทธิพลของเขมรราวพุทธศตวรรษที่ 17-18พระธาตุนาดูน ตั้งอยู่บริเวณโคกดงเค็ง เนื้อที่ของโคกประมาณ 902 ไร่ รูปแบบพระธาตุนาดูนเป็นเจดีย์ฐานสี่เหลี่ยมจตุรัส ฐานชั้นล่างสุดเป็นลานประทักษิณ มีประติมากรรมนูนสูงเป็นมารแบกโดยรอบรวม 40 ตัว ฐานอีกสองชั้นเป็นฐานสูงอยู่ในผังยกเก็จ ที่กึ่งกลางทั้งสี่ด้านเจาะเป็นซุ้มจระนำประดิษฐานพระพุทธรูปประทับยืน ผนังประดับด้วยภาพพระเครื่องที่ขุดพบบริเวณนี้ ตอนบนของฐานชั้นที่สองและสามประดับด้วยเจดีย์ประจำมุม ถัดขึ้นไปเป็นองค์ระฆังขนาดใหญ่ ส่วนยอดเป็นบัวคลุ่ม ปล้องไฉน และปลียอด รูปแบบพระธาตุนาดูน จำลองมาจากสถูปสำริดที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และมีรูปแบบฐานประยุกต์มาจากศาสนสถานสมัยทวารวดี พระธาตุนาดูนมีขนาดกว้าง 35.7 เมตร สูง 50.5 เมตร
พระธาตุนาดูนสร้างขึ้นในปี พ.ศ.2528-2529 โดยกรมศิลปากร และรัฐบาลในสมัยนั้น เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่ได้จากเจดีย์สำริดขนาดเล็ก (ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติขอนแก่น) ที่พบในบริเวณที่ดินของนายทองดี ปะวะปูตา ห่างจากองค์พระธาตุไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 2 กิโลเมตร
โดยเหตุผลที่ไม่สร้างพระธาตุนาดูนบนที่ที่ขุดพบ เพราะที่ขุดพบเป็นที่นาของราษฎรมีเนื้อที่ขนาดเล็ก เป็นที่ลุ่ม ต้องซื้อดินเพิ่มแล้วถมดินขึ้นอีก สำหรับที่ประดิษฐานพระธาตุนาดูนนี้เป็นที่เนินสูง กว้างขวาง และสามารถขยายสิ่งปลูกสร้างต่างๆได้อีกมาก (วีรพงษ์ สิงห์บัญชา และคนอื่นๆ 2539 : 73)
การสร้างพระธาตุนาดูนมีที่มาจาก เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ.2522 ประชาชนกลุ่มหนึ่งขุดพบพระพิมพ์ดินเผาในบริเวณที่นาของ นายทองดี ปะวะภูตา ราษฎรบ้านนาดูน ได้พระพิมพ์ต่างๆเป็นจำนวนมาก ข่าวการขุดค้นพระพิมพ์ดินเผาได้แพร่กระจายออกไป ทำให้มีประชาชนที่ทราบข่าวเดินทางมาขุดค้นอย่างมากมาย และหน่วยศิลปากรที่ 7 ขอนแก่น ได้เข้ามาทำการขุดแต่งโบราณสถานบริเวณที่ขุดพบพระพิมพ์เพื่อรักษาสภาพโบราณสถานเดิมไว้ แต่เนื่องจากกลุ่มคนจำนวนมากได้เข้าแย่งชิงพระพิมพ์ เจ้าหน้าที่จึงต้องยุติการดำเนินงานและปล่อยให้ราษฎรขุดค้นหาพระพิมพ์ต่อไป จนวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ.2522 มีการขุดพบสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และได้นำไปมอบให้อำเภอนาดูนไว้ รัฐบาลเห็นความสำคัญของโบราณสถาน โบราณวัตถุเหล่านี้จึงได้ดำเนินการก่อสร้างพระธาตุนาดูนเพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ (วีรพงษ์ สิงห์บัญชา และคนอื่นๆ 2539 : 26)
ลักษณะที่ดินของนายทองดี ปะวะภูตา เป็นเนินดินที่มีลำห้วยนาดูนห่างออกไป 200 เมตรไหลผ่านทางทิศตะวันออก เนินดินมีลักษณะเป็นวงรี กว้างประมาณ 10 เมตร ยาวประมาณ 14 เมตร สูงจากระดับพื้นดินเดิมประมาณ 1.15 เมตร ผิวดินเป็นดินสีดำคล้ายเตาเผาถ่าน มีคันนาล้อมรอบทั้งสี่ด้าน โบราณสถานที่พบภายหลังการขุดแต่งประกอบด้วยฐานศิลาแลงรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส ความยาวด้านละ 6 เมตร มีศิลาแลงเรียงซ้อนกันอยู่ 5 ชั้น สูงประมาณ 90 เซนติเมตร พบอิฐขนาดใหญ่ปะปนอยู่ด้วย
โบราณวัตถุที่ขุดพบ คือ พระพิมพ์ดินเผา มีประมาณ 1,000 ชิ้น และเศษแตกหักของพระพิมพ์จำนวน 18,257 ชิ้น สถูปสำริด เศษแผ่นทองคำ แม่พิมพ์ดินเผา จารึกด้านหลังพระพิมพ์ดินเผา เป็นจารึกที่ใช้อักษรขอมโบราณ (ปัลลวะ) และมอญโบราณ แบบเดียวกับที่ใช้จารึกคาถาเยธมมมา แบบที่พบในแหล่งโบราณคดีสมัยทวารวดีในภาคกลาง (วีรพงษ์ สิงห์บัญชา และคนอื่นๆ 2539 : 60-61) รูปแบบพระพิมพ์นาดูนมีความเป็นศิลปะทวารวดีท้องถิ่นค่อนข้างมาก และแสดงให้เห็นถึงอิทธิพลจากวัฒนธรรมทวารวดีภาคกลางซึ่งแผ่ขยายสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือพร้อมกับพุทธศาสนาเถรวาท อย่างไรก็ตามลักษณะบางประการยังแสดงให้เห็นถึงความเกี่ยวข้องกับอินเดีย ตลอดจนวัฒนธรรมเขมรสมัยก่อนเมืองพระนครและสมัยเมืองพระนคร โดยพระพิมพ์สร้างขึ้นเนื่องในพุทธศาสนาเถรวาท ขณะเดียวกันก็มีร่องรอยความคิดของพุทธศาสนามหายานด้วย (มยุรี วีระประเสิรฐ 2530 : 96)
บริเวณที่ตั้งของพระธาตุนาดูน เป็นที่ตั้งของชุมชนโบราณขนาดใหญ่ ที่เรียกว่า นครจัมปาศรี เป็นชุมชนที่รุ่งเรืองอยู่ราวพุทธศตวรรษที่ 13-15 ร่วมสมัยกับวัฒนธรรมทวารวดี มีแผนผังเมืองเป็นรูปไข่ วางตัวในแนวเหนือใต้ มีคูน้ำคันดินล้อมรอบ มีคูน้ำผ่ากลางเมือง แต่ปัจจุบันคูน้ำทั้งในและนอกเมือง ขาดตอนเป็นช่วงๆ กลายเป็นหนองน้ำขนาดเล็กๆ พบโบราณสถานทั้งภายในเมืองและนอกเมืองจำนวน 25 องค์ และพบโบราณวัตถุที่สำคัญคือ สถูปสำริดแบบทวารวดีบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และโบราณวัตถุอื่นๆอีกเป็นจำนวนมาก ได้แก่ เศษภาชนะดินเผารูปทรงต่างๆ เครื่องมือบดยา พระพุทธรูปและพระพิมพ์ดินเผา พระพิมพ์บางชิ้นมีจารึกอักษรปัลลวะ ภาษามอญโบราณ นอกจากนี้ เมืองนครจัมปาศรีอันเป็นที่ตั้งของพระธาตุนาดูนนั้น ยังพบว่ามีพัฒนาการต่อเนื่องลงมาในสมัยวัฒนธรรมขอม ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 18 ดังปรากฏโบราณสถานกู่สันตรัตน์ และโบราณวัตถุประเภทประติมากรรมรูปเคารพและจารึก (กรมศิลปากร 2534 : 79)
กรมศิลปากร. แหล่งท่องเที่ยวอีสานบน. กรุงเทพฯ : โอ เอส พรินท์ติ้ง, 2534.
มยุรี วีระประเสิรฐ. โบราณคดีรวมเรื่อง. ม.ป.ท. : ม.ป.พ., 2530.
มหาวิทยาลัยศิลปากร. การประชุมทางวิชาการระดับชาติฝรั่งเศส-ไทยครั้งที่ 3 "พัฒนาการของรัฐในประเทศไทยจากหลักฐานทางโบราณคดี". กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัย, 2538.
วิริยา อุทธิเสน. “การศึกษาคติความเชื่อของชุมชนโบราณสมัยทวารวดีในลุ่มแม่น้ำชีตอนกลาง กรณีศึกษาจากพระพิมพ์ดินเผา.” วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (โบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์) มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2546.
วีรพงษ์ สิงห์บัญชา และคนอื่นๆ. พระธาตุนาดูน พุทธมณฑลอีสาน นครจัมปาศรี. มหาสารคาม : อภิชาตการพิมพ์, 2539.