หินตั้ง


โพสต์เมื่อ 13 ก.ค. 2020

ที่ตั้ง : ม.4 บ้านหินตั้ง ต.บ้านชวน อ.บำเหน็จณรงค์

ตำบล : บ้านชวน

อำเภอ : บำเหน็จณรงค์

จังหวัด : ชัยภูมิ

พิกัด DD : 15.49604 N, 101.71928 E

เขตลุ่มน้ำหลัก : ชี

เขตลุ่มน้ำรอง : ลำคันฉู

เส้นทางเข้าสู่แหล่ง

จากตัวอำเภอบำเหน็จณรงค์ ใช้ทางหลวงหมายเลข 2179 มุ่งหน้าทางทิศตะวันออกหรือมุ่งหน้าบ้านหินตั้ง ประมาณ 3 กิโลเมตร เลี้ยวขวาเข้าสู่บ้านหินตั้งประมาณ 170 เมตร พบสี่แยกให้เลี้ยวซ้าย ไปตามถนน 750 เมตร เลี้ยวขวาเข้าถนนปูนขนาดเล็ก ประมาณ 300 เมตร พบบ้านชาวบ้านทางซ้ายมือ หินตั้งฝังอยู่ที่คันนาด้านหลังบ้านหลังดังกล่าว โดยอยู่ลึกเข้าไปจากถนนประมาณ 200 เมตร

ประโยชน์ทางการท่องเที่ยว

ไม่เป็นแหล่งท่องเที่ยว

รายละเอียดทางการท่องเที่ยว

หินตั้งยังคงปักอยู่ ณ สถานที่ที่ค้นพบ ทางท้องถิ่นและชาวบ้านรับทราบถึงความสำคัญจึงไม่มีการเคลื่อนย้ายรวมทั้งไม่มีการจัดการใดๆ อย่างไรก็ตาม หินตั้งมีรอยเขม่าไฟจากการเผาวัชพืชในพื้นที่โดยรอบ ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อตัวหินตั้ง

หน่วยงานที่ดูแลรักษา

เอกชน

การขึ้นทะเบียน

ขึ้นทะเบียนของกรมศิลปากร

รายละเอียดการขึ้นทะเบียน

หินตั้ง ที่บ้านหินตั้ง ต.บ้านชวน อ.บำเหน็จณรงค์ จ.ชัยภูมิ ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานในราชกิจจจานุเบกษา เรื่องการกำหนดจำนวนโบราณสถานสำหรับชาติ เล่ม 53 หน้า 902 วันที่ 2 สิงหาคม 2479

ภูมิประเทศ

ที่ราบ

สภาพทั่วไป

หินตั้ง ปัจจุบันบริเวณอยู่กลางคันนา ล้อมรอบไปด้วยนาข้าวผืนใหญ่ ปัจจุบันคันนาดังกล่าวมีระดับสูงกว่าพื้นท้องนาประมาณ 1.5 เมตร

สภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นที่ราบลุ่ม เกิดจากการทับถมของตะกอนน้ำพา มีลำน้ำธรรมชาติที่เป็นลำน้ำสาขาของลำคันฉูไหลผ่านทางทิศใต้ ห่างจากหินตั้งไปประมาณ 290 เมตร นอกจากนี้หินตั้งยังอยู่ห่างจากบึงละหานมาทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ 20 กิโลเมตร และห่างจากแม่น้ำชี มาทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ 27.5 กิโลเมตร

ความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง

214 เมตร

ทางน้ำ

ลำคันฉู, แม่น้ำชี

สภาพธรณีวิทยา

ลักษณะธรณีสัณฐานเป็นหินเกลือในหมวดหินมหาสารคาม (Mahasarakham Formation – KTms) ยุคครีเทเชียส

ยุคทางโบราณคดี

ยุคประวัติศาสตร์

อายุทางโบราณคดี

ก่อนพุทธศตวรรษที่ 19

ประวัติการศึกษา

ไม่พบผลลัพธ์

ประเภทของแหล่งโบราณคดี

แหล่งอยู่อาศัย, ศาสนสถาน

สาระสำคัญทางโบราณคดี

ลักษณะหินตั้งเป็นหลักหินหรือแท่งหินทรายที่ส่วนล่างฝังอยู่ในพื้นดินคันนา มีเฉพาะส่วนบนหรือส่วนยอดเท่านั้นที่โผล่พ้นผิวดินขึ้นมาประมาณ 30 เซนติเมตร ส่วนยอดหินตั้งมีลักษณะค่อนข้างแหลมมน หน้าตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาด 50x50 เซนติเมตร อาจเป็นหินธรรมชาติทั้งก้อนหรืออาจถูกสลักขึ้นรูปอย่างคร่าวๆ ผิวหินมีรอยกร่อนกะเทาะอยู่ทั่วไปรวมถึงรอยเขม่าไฟที่เกิดจากการการเผาวัชพืชโดยรอบ

จากการสำรวจยังพบชิ้นส่วนเครื่องถ้วยจีนสีขาวเขียนสีน้ำเงินใต้เคลือบและเศษภาชนะดินเผาเนื้อดินสีนวล-ส้ม-ดำผสมเนื้อดินด้วยกรวดทรายกระจายอยู่ทั่วไปบนผิวดินคันนาบริเวณหินตั้ง

การปักหินตั้งของคนโบราณมีวัตถุประสงค์เกี่ยวพันกับความเชื่อ โดยอาจปักอยู่ในพื้นที่ฝังศพหรือที่ประกอบพิธีกรรมเกี่ยวกับความตาย หรือปักในพื้นที่ที่ใช้ประกอบพิธีกรรมหรือพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ หรือปักอยู่ในพื้นที่ศาสนสถาน สันนิษฐานว่ามีอายุก่อนพุทธศตวรรษที่ 19

ผู้เรียบเรียงข้อมูล-ผู้ดูแลฐานข้อมูล

ทนงศักดิ์ เลิศพิพัฒน์วรกุล

บรรณานุกรม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ภาพเกี่ยวกับแหล่งโบราณคดี