ดอนวัด


โพสต์เมื่อ 13 ก.ค. 2020

ที่ตั้ง : ถ.กุยบุรี-ทุ่งน้อย ม.1 บ้านบ่อกุ่ม ต.ดอนหนู อ.กุยบุรี

ตำบล : ดอนยายหนู

อำเภอ : กุยบุรี

จังหวัด : ประจวบคีรีขันธ์

พิกัด DD : 12.121399 N, 99.916607 E

เขตลุ่มน้ำหลัก : อ่าวไทย, กุยบุรี, คลองเขาแดง

เส้นทางเข้าสู่แหล่ง

จากตัวอำเภอกุยบุรี บริเวณสถานีรถไฟกุยบุรี ใช้ทางหลวงหมายเลข 1003 มุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออกหรือมุ่งหน้าชายทะเล ข้ามทางรถไฟไปประมาณ 500 เมตร เลี้ยวซ้ายใช้ถนนกุยบุรี-ทุ่งน้อย ประมาณ 9.6 กิโลเมตร จะพบแหล่งโบราณคีอยู่ทางขวามือ

ประโยชน์ทางการท่องเที่ยว

ไม่เป็นแหล่งท่องเที่ยว

รายละเอียดทางการท่องเที่ยว

แหล่งโบราณคดีอยู่ในพื้นที่ทำกินของเอกชน

หน่วยงานที่ดูแลรักษา

เอกชน

การขึ้นทะเบียน

ไม่ขึ้นทะเบียน

ภูมิประเทศ

ที่ราบ, ที่ราบชายฝั่งทะเล

สภาพทั่วไป

แหล่งโบราณคดีดอนวัดอยู่ติดกับลำน้ำที่เชื่อมระหว่างแม่น้ำกุยบุรีกับคลองเขาแดง ทางน้ำเหล่านี้ไหลจากแนวเทือกเขาและที่สูงทางทิศตะวันตกสู่ทิศตะวันออกที่เป็นทะเลอ่าวไทย แหล่งโบราณคดีอยู่ห่างจากชายฝั่งทะเลอ่าวไทยมาทางทิศตะวันตกประมาณ 5 กิโลเมตร อยู่ห่างจากเขาสามร้อยยอดมาทางทิศใต้ประมาณ 3.7 กิโลเมตร 

เดิมเป็นเนินขนาดใหญ่ที่เกิดจากการทับถมในลักษณะตะกอนสันทราย เนื้อที่ประมาณ 20 ไร่ แต่ถูกไถปรับเพื่อใช้เป็นพื้นที่เกษตร ปัจจุบันเป็นพื้นที่ปล่อยร้าง ดินที่ผิวดินเป็นดินทราย สภาพพื้นที่โดยรอบเป็นที่ราบที่เกิดจากการทับถมชายฝั่งทะเล เป็นพื้นที่เกษตรกรรมทั้งทำไร่ ทำสวน และบ่อกุ้ง รวมถึงบ้านเรือนราษฎร

ความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง

2 เมตร

ทางน้ำ

แม่น้ำกุยบุรี, คลองเขาแดง, อ่าวไทย

สภาพธรณีวิทยา

สภาพพื้นที่เป็นตะกอนสันทรายเก่าในยุคควอเทอร์นารี 

ยุคทางโบราณคดี

ยุคประวัติศาสตร์

สมัย/วัฒนธรรม

สมัยอยุธยา

ประวัติการศึกษา

ชื่อผู้ศึกษา : กรมศิลปากร

วิธีศึกษา : สำรวจ

ผลการศึกษา :

กรมศิลปากรโดยสำนักศิลปากรที่ 1 ราชบุรี สำรวจแหล่งโบราณคดีดอนวัด

ประเภทของแหล่งโบราณคดี

ศาสนสถาน

สาระสำคัญทางโบราณคดี

สภาพพื้นที่บริเวณแหล่งโบราณคดีขณะสำรวจในเดือนกันยายน 2559 มีสภาพเป็นพื้นที่ปล่อยทิ้งร้าง มีวัชพืชขึ้นอยู่ทั่วไป ดินที่ผิวดินเป็นดินทราย มีเศษภาชนะดินเผากระจายตัวอยู่ทั่วไป ทั้งแบบเนื้อดิน เนื้อแกร่ง และเครื่องเคลือบ

ข้อมูลจากกรมศิลปากร (2559) ระบุว่าปัจจุบันพื้นที่แหล่งโบราณคดีดอนวัดอยู่ในที่ดินของนายแป้น นางชู พุ่มแจ้ บ้านในดง แต่เดิมเป็นเนินขนาดใหญ่ที่เกิดจากการทับถมในลักษณะตะกอนสันทราย เนื้อที่ประมาณ 20 ไร่ แต่ถูกไถปรับเพื่อใช้เป็นพื้นที่เกษตร และเจ้าของที่ได้นำเอาเศษอิฐ กระเบื้องกาบกล้วยดินเผามากองรวมกันไว้ เป็นจำนวนมาก ในครั้งนั้นได้พบภาชนะดินเผาบรรจุกระดูกและเศษภาชนะดินเผาเป็นปริมาณมาก ชาวบ้านให้ข้อมูลว่าเคยพบช่อฟ้าด้วยแต่ถูกขโมยไป ภาชนะดินเผาที่เคยพบมีความสมบูรณ์ เป็นภาชนะบรรจุกระดูกพบจำนวน 6 ใบ เจ้าของเป็บไว้อยู่ในแหล่ง 2 ใบ เป็นภาชนะก้นกลมทรงหม้อทะนน ประทับลายทั้งใบ เศษภาชนะดินเผา ส่วนใหญ่เป็นเครื่องลายครามจีน นอกจากนั้นยังพบชิ้นส่วนพระบาทพระพุทธรูปหินทราย เป็นพระพุทธรูปยืน

ผู้เรียบเรียงข้อมูล-ผู้ดูแลฐานข้อมูล

ทนงศักดิ์ เลิศพิพัฒน์วรกุล

บรรณานุกรม

กรมศิลปากร. “ดอนวัด” ระบบฐานข้อมูลแหล่งมรดกศิลปวัฒนธรรมและระบบภูมิสารสนเทศ โครงการสำรวจแหล่งมรดกทางศิลปวัฒนธรรม. (ออนไลน์). เข้าถึงเมื่อ 20 กันยายน 2559. แหล่งที่มา http://www.gis.finearts.go.th/gisweb/viewer.aspx

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ภาพเกี่ยวกับแหล่งโบราณคดี