โพสต์เมื่อ 28 ก.พ. 2021
ชื่ออื่น : ป้อมวิไชยประสิทธิ์, ป้องวิไชเยนทร์, ป้อมวิชาเยนทร์, ป้อมบางกอก
ที่ตั้ง : กองบัญชาการกองทัพเรือ
ตำบล : วัดอรุณ
อำเภอ : เขตบางกอกใหญ่
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร
พิกัด DD : 13.742190 N, 100.490752 E
เขตลุ่มน้ำหลัก : เจ้าพระยา
เขตลุ่มน้ำรอง : คลองบางกอกใหญ่, คลองบางหลวง
ปัจจุบันป้อมวิชัยประสิทธิ์อยู่ในพื้นที่ของกองทัพเรือไทย ติดกับวัดอรุณราชวรารามฯ (วัดแจ้ง)
ที่ตั้ง : กองบัญชาการกองทัพเรือ แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ
การเดินทาง : รถโดยสารประจำทาง สาย 40, 57, 149, 177
เรือด่วนเจ้าพระยา: ท่าราชินี, ท่าวัดอรุณราชวรารามฯ
เรือข้ามฟาก: ท่าเตียน – ท่าวัดอรุณราชวรารามฯ, ท่าปากคลองตลาด – ท่าวัดกัลยาณมิตรฯ
ปัจจุบันป้อมวิชัยประสิทธิ์อยู่ในพื้นที่ของกองทัพเรือไทย มักจะเปิดให้เข้าชมปีละครั้ง ในวันสมเด็จพระเจ้าตากสิน หรือวันที่ 28 ธันวาคมของทุกปี
กองทัพเรือ
กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถาน ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 66 ตอนที่ 64 วันที่ 22 พฤศจิกายน 2492 เรื่องการกำหนดบัญชีโบราณวัตถุสถาน (ป้อมวิชัยประสิทธิ์)
ป้อมวิชัยประสิทธิ์ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ปากคลองบางกอกใหญ่ ปัจจุบันอยู่ในอาณาเขตและอยู่ในความดูแลของกองทัพเรือไทย ยังคงมีการใช้เป็นที่ยิงสลุตในพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ และมีการติดตั้งเสาธงบริเวณทางเข้าป้อมทางทิศตะวันตกตรงกำแพงชั้นใน เพื่อชักธงราชนาวีและธงผู้บัญชาการทหารเรือ
แม่น้ำเจ้าพระยา, คลองบางกอกใหญ่ (คลองบางหลวง)
ตะกอนน้ำพาสมัยโฮโลซีน
ชื่อผู้ศึกษา : บริษัท มรดกโลก จำกัด
ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2540
วิธีศึกษา : ขุดค้น
องค์กรร่วม / แหล่งทุน : มูลนิธิอนุรักษ์โบราณสถานภายในพระราชวังเดิม, กรมศิลปากร
ผลการศึกษา :
มูลนิธิโบราณสถานภายในพระราชวังเดิมได้จัดทำโครงการอนุรักษ์พระราชวังเดิมในปี พ.ศ.2538 และดำเนินงานเสร็จสิ้นในปี พ.ศ.2545 การอนุรักษ์โบราณสถานภายในพระราชวังเดิม (พระราชวังของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ในสมัยธนบุรี (พ.ศ.2310 - 2325)) ในครั้งนี้ได้บูรณะโบราณสถานภายในพระราชวังเดิม ได้แก่ ท้องพระโรง ตำหนักเก๋งสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ตำหนักเก๋งคู่หลังเล็ก ตำหนักเก๋งคู่หลังใหญ่ ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ฐานของศาลศีรษะปลาวาฬ ป้อมวิไชยประสิทธิ์ และบูรณะประตูและกำแพงของพระราชวังเดิม โครงการขุดทดสอบฐานรากป้อมวิชัยประสิทธิ์ชื่อผู้ศึกษา : กรมศิลปากร
ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2554
วิธีศึกษา : สำรวจ
ชื่อผู้ศึกษา : บริษัท เดียบอร์น สตรีท ดีไซน์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด
ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2543
วิธีศึกษา : บูรณปฏิสังขรณ์
องค์กรร่วม / แหล่งทุน : กรมศิลปากร
ป้อมวิชัยประสิทธิ์หรือป้อมวิไชยเยนทร์ เป็นป้อมปราการที่สร้างขึ้นมาตั้งแต่สมัยพระนารายณ์ แห่งกรุงศรีอยุธยา โดยพระองค์โปรดให้สร้างป้อมปราการสองฟากฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณเมืองบางกอกและโปรดฯให้เจ้าพระยาวิชาเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน) เป็นแม่กองสร้าง เรียกป้อมทั้งสองว่า ป้อมวิชาเยนทร์
ต่อมาในสมัยกรุงธนบุรีพระบาทสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โปรดฯ ให้ปรับปรุงและเปลี่ยนชื่อป้อมวิชาเยนทร์ทางฝั่งตะวันตกหรือฝั่งธนบุรีเป็น ป้อมวิชัยประสิทธิ์ ส่วนป้อมวิชาเยนทร์ทางฝั่งตะวันออก (ฝั่งกรุงเทพฯ) พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกโปรดฯ ให้รื้อลงพร้อมกับกำแพงกรุงธนบุรีฟากตะวันออก เมื่อคราวสร้างพระนครใหม่ในปี พ.ศ.2326
ป้อมวิไชยประสิทธิ์มีสถาปัตยกรรมเป็นป้อมก่ออิฐฉาบปูน มีกำแพงรูปแปดเหลี่ยม 2 ชั้น สร้างขนานกัน กำแพงชั้นในมีหอคอยกลมทรงสอบสองหลัง ตั้งอยู่บนกำแพงตรงมุมด้านทิศเหนือ และทิศใต้ ปัจจุบันป้อมวิชัยประสิทธิ์อยู่ในความดูแลของกองทัพเรือไทย ใช้เป็นที่ยิงสลุตในพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ และมีการติดตั้งเสาธงบริเวณทางเข้าป้อมทางทิศตะวันตกตรงกำแพงชั้นใน เพื่อชักธงราชนาวีและธงผู้บัญชาการทหารเรือ
มูลนิธิโบราณสถานภายในพระราชวังเดิมได้จัดทำโครงการอนุรักษ์พระราชวังเดิมในปี พ.ศ.2538 และดำเนินงานเสร็จสิ้นในปี พ.ศ.2545 การอนุรักษ์โบราณสถานภายในพระราชวังเดิม (พระราชวังของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ในสมัยธนบุรี (พ.ศ.2310 - 2325)) ในครั้งนี้ได้บูรณะโบราณสถานภายในพระราชวังเดิม ได้แก่ ท้องพระโรง ตำหนักเก๋งสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ตำหนักเก๋งคู่หลังเล็ก ตำหนักเก๋งคู่หลังใหญ่ ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ฐานของศาลศีรษะปลาวาฬ ป้อมวิชัยประสิทธิ์ และบูรณะประตูและกำแพงของพระราชวังเดิม จากการขุดค้นป้อมวิชัยประสิทธิ์จำนวน 8 หลุม สรุปหลักฐานที่พบดังนี้
ฐานรากป้อมวิชัยประสิทธิ์ ลักษณะของฐานรากใช้ผนังรับน้ำหนัก โดยเรียงอิฐก่อซ้อนรับน้ำหนักต่อกันไป ไม่พบว่ามีการใช้เข็มไม้หรือท่อนซุงในการรับน้ำหนัก ลักษณะของการเรียงอิฐจะใช้อิฐด้านกว้างสลับกับด้านยาวเรียงต่อกันไปเรื่อยๆ อิฐที่ก่อด้านล่างไม่พบปูนสอ ขณะที่ด้านบนใช้ปูนสอระหว่างก้อนอิฐ การขุดค้นในหลุมต่างๆ นั้นไม่สามารถขุดจนสิ้นสุดฐานรากที่อยู่ลึกสุดได้ เนื่องจากระดับน้ำใต้ดินที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและเป็นปริมาณมาก รวมทั้งผนังชั้นดินพังทลายและไม่แข็งแรงเพียงพอ มีเพียงในหลุมขุดตรวจสอบที่ 6 ที่สามารถขุดถึงระดับอิฐก้อนสุดท้าย
จากการขุดค้นพบว่า ฐานรากของป้อมวิชัยประสิทธิ์วัดจากผิวดินไปจนสิ้นสุดฐานรากได้ 290 เซนติเมตร โดยใช้อิฐเรียงด้านกว้างสลับกับด้านยาว เรียงสลับต่อกันไปเรื่อยๆ อิฐที่ใช้มี 2 ขนาด คือ อิฐขนาด 18x34x4 เซนติเมตร ถัดจากผิวดินลงมา 28 เซนติเมตร จะใช้อิฐขนาดหนากว่าเล็กน้อย คือ 18x34x7 เซนติเมตร การก่ออิฐในช่วงแรก 0 - 240 เซนติเมตรจากผิวดินจะสอด้วยปูน ถัดจากระดับ 240 เซนติเมตรจนสิ้นสุดฐานรากที่ 290 เซนติเมตรจะสอด้วยดิน ฐานรากทั้งหมดไม่ปรากฏร่องรอยการฉาบใดๆ
กรมศิลปากร. "ป้อมวิชัยประสิทธิ์" ระบบภูมิสารสนเทศ แหล่งมรดกทางศิลปวัฒนธรรม. (ออนไลน์). เข้าถึงเมื่อ 25 สิงหาคม 2564. เข้าถึงจาก http://gis.finearts.go.th/fineart/
กรรณิการ์ สุธีรัตนาภิรมย์. โบราณคดีเมือง โบราณคดีกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), 2562.
บริษัท มรดกโลก จำกัด. รายงานเบื้องต้นการขุดทดสอบฐานรากป้อมวิชัยประสิทธิ์. เสนอต่อ มูลนิธิอนุรักษ์โบราณสถานภายในพระราชวังเดิม. เอกสารอัดสำเนา,2540.