โพสต์เมื่อ 20 มิ.ย. 2021
ที่ตั้ง : ถ.บำรุงเมือง
ตำบล : เสาชิงช้า
อำเภอ : เขตพระนคร
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร
พิกัด DD : 13.751828 N, 100.501360 E
เขตลุ่มน้ำหลัก : เจ้าพระยา
เสาชิงช้าตั้งอยู่หน้าวัดสุทัศนเทพวรารามฯ หน้าศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร และอยู่ใกล้กับโบสถ์พราหมณ์ ถนนบำรุงเมือง
รถเมล์: สาย 12, ปอ.35, 42
รถไฟใต้ดิน: สายเฉลิมรัชมงคล MRT BLUE LINE ลงสถานีสามยอด แล้วเดินเท้าต่อขึ้นไปทางถนนอุณากรรณอีกประมาณ 600 เมตร
เสาชิงช้านับเป็นหนึ่งสถานที่ที่มักถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ของกรุงเทพฯ สามารถเข้าเยี่ยมได้ทุกวันไม่เสียค่าเขาชม
กรมศิลปากร, กรุงเทพมหานคร
- ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง การกำหนดบัญชีโบราณวัตถุสถาน ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 66 ตอนที่ 64 วันที่ 22 พฤศจิกายน 2492
- ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง การกำหนดเขตที่ดินโบราณสถานสำหรับชาติ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 105 ตอนที่ 188 วันที่ 16 พฤศจิกายน 2531
เสาชิงช้าตั้งอยู่หน้าวัดสุทัศนเทพวรารามฯ หน้าศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร และอยู่ใกล้กับโบสถ์พราหมณ์ ถนนบำรุงเมือง ปัจจุบันไม่มีการใช้งานในพิธีกรรมแล้ว แต่ยังคงได้รับการบำรุงรักษาอยู่สม่ำเสมอ
แม่น้ำเจ้าพระยา
ตะกอนน้ำพาสมัยโฮโลซีน
ชื่อผู้ศึกษา : กรมศิลปากร
ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2549, พ.ศ.2550
องค์กรร่วม / แหล่งทุน : กรุงเทพมหานคร
ผลการศึกษา :
ในปี พ.ศ. 2547 กรุงเทพมหานครตรวจพบว่าเสาชิงช้ามีสภาพทรุดโทรมอย่างมาก จึงมอบหมายให้สำนักผังเมืองเตรียมบูรณะไม้ เสา และโครงสร้างใหม่ทั้งหมด กรมศิลปากรจึงได้เข้ามาสำรวจและขุดแต่งบริเวณฐานเสาชิงช้า เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2549 - 8 มกราคม 2550 เพื่อนำข้อมูลมาใช้ในการบูรณะต่อไปชื่อผู้ศึกษา : กรมศิลปากร
ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2530
วิธีศึกษา : สำรวจ
ผลการศึกษา :
สำรวจและจัดทำผังขึ้นทะเบียน เสาชิงช้าชื่อผู้ศึกษา : กรมศิลปากร
ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2521
วิธีศึกษา : สำรวจ
ผลการศึกษา :
ศึกษาและตรวจสอบข้อมูล เพื่อการอนุรักษ์และปรับปรุงบูรณะโบราณสถาน ศิลปกรรมและวัฒนธรรม บริเวณกรุงรัตนโกสินทร์ โดยกองโบราณคดีดำเนินการสำรวจโบราณสถานและอาคารเก่าในเขตรัตนโกสินทร์ รวมถึงเสาชิงช้าชื่อผู้ศึกษา : กรมศิลปากร, กรุงเทพมหานคร
ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2560, พ.ศ.2561
วิธีศึกษา : บูรณปฏิสังขรณ์
เสาชิงช้าตั้งอยู่บริเวณหน้าโบสถ์พราหมณ์ ใกล้กับวัดสุทัศนเทพวราราม สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 1 ภายหลังจากสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ได้เพียง 2 ปี เพื่อใช้ประกอบพิธีทางศาสนาพราหมณ์ที่เรียกว่า พิธีตรียัมปวาย ตรีปวาย หรือพิธีโล้ชิงช้า ซึ่งพิธีนี้ได้ถือปฏิบัติมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ตามคติความเชื่อเกี่ยวกับความอุดมสมบูรณ์ของบ้านเมือง โดยจัดขึ้นในเดือนยี่ของทุกปีเนื่องจากถือเป็นช่วงขึ้นปีใหม่ในศาสนาพราหมณ์ แม้ว่าได้ล้มเลิกพิธีนี้ไปตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 7 แต่เสาชิงช้ายังคงตั้งตระหง่านเพื่อเป็นที่ระลึกถึงพิธีสำคัญของบ้านเมืองและยังเป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญของกรุงเทพมหานคร จึงได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ให้มีความงดงามและมั่นคงมาจนถึงปัจจุบัน ใกล้กันเป็นที่ตั้งของโบสถ์พราหมณ์ 3 หลัง สำหรับประดิษฐานเทพเจ้า ได้แก่ เทวสถานพระอิศวร เทวสถานพระนารายณ์ เทวสถานพระพิฆเนศวร
ลักษณะทางศิลปกรรมของเสาชิงช้า ลักษณะเป็นเสาชิงช้าขนาดใหญ่ ตั้งอยู่บนฐานกลมมีบันไดทางขึ้น แท่นฐานมีขนาดสูง 21.15 ม. เส้นผ่านศูนย์กลาง ฐานกลมประมาณ 10.50 ม. ฐานกลมก่อเป็นฐานปัทม์ทำด้วยหินล้างสีขาว พื้นบนปูกระเบื้องดินเผาสีแดง มีบันได 2 ขั้น ทั้ง 2 ด้าน ตามแนวโค้งของฐานติดแผ่นจารึกประวัติเสาชิงช้า ตัวเสาประกอบด้วยเสาหลัก 2 ต้น แต่ละต้นขนาบด้วยเสาตะเกียบหัวเม็ดทรงมัณฑ์ที่โคนต้นละ 2 เสา ด้านบนมีแนวคานสำหรับคล้องชิงช้า ส่วนบนสุดประดับยอดเกี้ยวหูช้างแกะสลักเป็นลวดลายดอกพุดตานและพรรณพฤกษา ทาสีแดงชาดโดยตลอด ปัจจุบันติดสายล่อฟ้าจากลวดลายกระจังด้านบนลงดิน
ประวัติการอนุรักษ์ ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้ย้ายเสาชิงช้าจากที่เดิมคือบริเวณถนนดินสอมาอยู่ที่หน้าวัดสุทัศนเทพวราราม และมีการซ่อมแซมเสาชิงช้าในสมัยรัชกาลที่ 6 พ.ศ.2502 ได้บูรณะและทำพิธียกเกี้ยวยอดตั้งบนเสาชิงช้า และทาสีใหม่ พ.ศ.2513-2515 รัฐบาลและกรมศิลปากรดำเนินการบูรณะครั้งใหญ่เนื่องจากเสาหลักและเสาตะเกียบชำรุดทุกส่วนจากการกัดกินของแมลงและปลวก โดยจัดพิธีรื้อเสาเก่าลงและตั้งเสาใหม่ขึ้น พ.ศ.2525 กรุงเทพมหานครได้ดำเนินการปรับปรุงลานเสาชิงช้า เนื่องในโอกาสฉลองสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี พ.ศ.2549 กรุงเทพมหานครได้ดำเนินการเปลี่ยนเสาชิงช้าต้นใหม่แทนต้นเดิมที่ชำรุด โดยใช้ไม่สักทองจากจังหวัดแพร่
ในปี 2547 กรุงเทพมหานครตรวจพบว่าเสาชิงช้ามีสภาพทรุดโทรมอย่างมาก จึงมอบหมายให้สำนักผังเมืองเตรียมบูรณะไม้ เสา และโครงสร้างใหม่ทั้งหมด กรมศิลปากรจึงได้เข้ามาสำรวจและขุดแต่งบริเวณฐานเสาชิงช้า เพื่อนำข้อมูลมาใช้ในการบูรณะต่อไป
หลักฐานทางโบราณคดีสำคัญ
จากการศึกษาจากเอกสารประวัติศาสตร์พบว่า
แต่เดิมพื้นนี้เคยเป็นถนนเสาชิงช้าที่มีมาแต่สมัยต้นรัตนโกสินทร์ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้ปรับปรุงถนน
เป็นถนนที่มีท่อระบายน้ำ
ทั้งสองข้างถนน และพระราชทานนามใหม่ว่าถนนบำรุงเมือง
ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้ปรับปรุงถนนบำรุงเมืองให้แข็งแรงและกว้างยิ่งขึ้น
เมื่อปรับปรุงถนนเรียบร้อยแล้ว โปรดให้ย้ายเสาชิงช้ามาตั้งไว้ที่ถนนนี้ และตกแต่งโดยยกพื้นโดยรอบ
ปักเสาโคมทั้งสี่มุม เสาชิงช้าได้รับการดูแลรักษาเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
จากการขุดค้นทางโบราณคดี ทำให้ได้ความรู้ด้านการใช้พื้นที่บริเวณนี้ที่สอดคล้องกับเอกสารและเพิ่มพูนความรู้เดิม ดังนี้
สมัยที่ 1 สันนิษฐานว่าเป็นลานในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ ลานปูพื้นด้วยอิฐชั้นเดียว ใช้เพื่อรองรับพิธีต่างๆ เช่น การอัญเชิญพระพุทธรูปขนาดใหญ่ อย่างเช่นคราวอัญเชิญพระศรีศากยมุนีจากสุโขทัยแห่จากประตูท่าช้างมาทางถนนเสาชิงช้า เพื่อมาประดิษฐานที่วัดสุทัศน์เทพวรารามแห่งนี้
สมัยที่ 2 คราวสร้างถนนบำรุงเมือง ในสมัยรัชกาลที่ 4 โดยแรกนั้นถนนพูนด้วยดิน แล้วก่อขอบถนนด้วยอิฐและทำช่องระบายน้ำทั้งสองข้างถนน
สมัยที่ 3คราวปรับปรุงถนนบำรุงเมือง ในสมัยรัชกาลที่ 5 ให้แข็งแรงและรับน้ำหนักได้มากขึ้น พร้อมกับขยายถนนและเดินท่อประปาในคราวเดียวกัน ลักษณะของถนนที่พบเป็นถนนบดอัดด้วยเศษอิฐ ดิน เศษกระเบื้องมุงหลังคา โดยแนวของถนนที่พบนี้อยู่ต่ำกว่าถนนบำรุงเมืองในปัจจุบันประมาณ 20 เซนติเมตร ซึ่งภายหลังปรับปรุงถนนแล้ว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้ย้ายเสาชิงช้า (ช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2439 - 2444) มาตั้งบนถนนดังกล่าว
กรมศิลปากร. รายงานการขุดแต่งทางโบราณคดีบริเวณแท่นฐานเสาชิงช้า. เอกสารอัดสำเนา, 2549.
กรมศิลปากร. "เสาชิงช้า" ระบบภูมิสารสนเทศ แหล่งมรดกทางศิลปวัฒนธรรม. (ออนไลน์). เข้าถึงเมื่อ 25 สิงหาคม 2564. เข้าถึงจาก http://gis.finearts.go.th/fineart/
กรรณิการ์ สุธีรัตนาภิรมย์. โบราณคดีเมือง โบราณคดีกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), 2562.
สำนักผังเมือง กรุงเทพมหานคร. จดหมายเหตุการบููรณปฏิสังขรณ์เสาชิงช้า พุทธศักราช 2549. กรุงเทพฯ: บริษัท ดาวฤกษ์ คอมมูนิเคชั่นส์ จำกัด, 2551.