โพสต์เมื่อ 3 เม.ย. 2022
ที่ตั้ง : ถ.พระราม 6
ตำบล : ทับเที่ยง
อำเภอ : เมือง
จังหวัด : ตรัง
พิกัด DD : 7.558431 N, 99.612994 E
เขตลุ่มน้ำหลัก : ตรัง
เขตลุ่มน้ำรอง : คลองปอน, คลองน้ำเจ็ด
ตั้งอยู่ริมถนนพระราม 6 กลางตัวจังหวัดตรัง โดยตั้งอยู่ติดกับที่ทำการองค์การบริหารส่วนจังหวัดตรัง หรือบริเวณแยกถนนพระราม 6 ตัดกับถนนรื่นรมย์
สโมสรข้าราชการจังหวัดตรัง เป็นโบราณสถานสำคัญของจังหวัด ที่ได้รับการโปรโมทให้เป็น 1 ใน 20 โบราณสถานสำคัญของจังหวัดที่นักท่องเที่ยวห้ามพลาด เปิดให้นักท่องเที่ยวได้เข้าชมภายนอกอาคารทุกวัน โดยไม่เสียค่าเข้าชม
จังหวัดตรัง
ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 119 ตอนพิเศษ 117ง หน้า 8 วันที่ 29 พฤศจิกายน 2545
โบราณสถานตั้งอยู่ในตัวจังหวัดตรัง ตั้งอยู่ติดกับที่ว่าการองค์การบริหารส่วนจังหวัดตรัง สภาพแวดล้อมโดยทั่วไปเป็นเขตเมือง อาคารโบราณสถานได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์อยู่ในสภาพมั่นแข็งแรง แต่ปัจจุบันไม่ได้มีการใช้งาน
แม่น้ำตรัง, คลองปอน, คลองน้ำเจ็ด
ตะกอนเศษหินเชิงเขาและตะกอนผุพังอยู่กับที่ สมัยโฮโลซีน ลักษณะตะกอนเป็นกรวด ทราย ทรายแป้ง ศิลาแลง และเศษหิน (กรมทรัพยากรธรณี 2550)
สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นหลัง พ.ศ.2471 เนื่องจากพบเอกสารแบบแปลนอาคาร Club House in Trang ลงวันที่ 5 มิถุนายน ค.ศ.1928 (พ.ศ.2471) อาคารแห่งนี้สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นสโมสรข้าราชการ ต่อมาได้ถูกทิ้งร้างไป จนวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ.2531 สำนักงานประชาสงเคราะห์จังหวัด ได้เข้ามาใช้พื้นที่เป็นที่ทำการของสำนักงาน จนใน พ.ศ.2544 ทางหน่วยงานได้บ้ายที่ทำการไปตั้งที่ศาลากลางจังหวัดตรัง แต่อาคารหลังนี้ยังคงถูกใช้เป็นที่เก็บเอกสารและเป็นสำนักงานของศูนย์ประสานงานองค์กรเอกชน ปัจจุบันทางจังหวัดได้ใช้เป็นพื้นที่จำหน่วยสินค้า OTOP (ภาณุวัฒน์ เอื้อสามาลย์ และคณะ 2561: 135)
ลักษณะทางสถาปัตยกรรม เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก อยู่ในผังสี่เหลี่ยมจัตุรัส แต่ใช้เทคนิคการออกแบบโดยตัดส่วนต่าง ๆ ออกเป็นรูปสามเหลี่ยมขนาดต่าง ๆ แต่ได้รักษาให้รูปแบบอยู่ในลักษณะอาคารสมมาตร (Symmetrical balance) มีบันไดทางขึ้นตรงกลาง เป็นบันได 3 ขั้น ด้านหน้าทางเข้าทำเป็นซุ้มคลุมบันได ผนังอาคารมีหน้าต่างติดกันโดยรอบ ลักษณะหน้าต่างเป็นบานคู่ ด้านหลังมีบานประตู 8 บาน ติดบานพับเพื่อให้สามารถเปิดกว้างทั้งหมด (ภาณุวัฒน์ เอื้อสามาลย์ และคณะ 2561: 135)
กรมทรัพยากรธรณี. การจำแนกเขตเพื่อการจัดการด้านธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณีจังหวัดตรัง. กรุงเทพฯ: หจก. ไอเดีย สแควร์,2550.
กรมศิลปากร. "สโมสรข้าราชการจังหวัดตรัง" ระบบภูมิสารสนเทศ แหล่งมรดกทางศิลปวัฒนธรรม. (ออนไลน์). เข้าถึงเมื่อ 15 มกราคม 2565. เข้าถึงจาก http://gis.finearts.go.th/fineart/
ภาณุวัฒน์ เอื้อสามาลย์, ศิริพร สังข์ศิริ, และธวัชชัย ชั้นไพศาลศิลป์. 247 โบราณสถานภาคใต้ที่ขึ้นทะเบียนแล้วและข้อมูลหลักฐานใหม่ทางโบราณคดี. นครศรีธรรมราช : สำนักศิลปากรที่ 12 นครศรีธรรมราช, 2561.