จวนผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง


โพสต์เมื่อ 3 เม.ย. 2022

ชื่ออื่น : บ้านพักผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง

ที่ตั้ง : ถ.อุดมลาภ

ตำบล : ทับเที่ยง

อำเภอ : เมือง

จังหวัด : ตรัง

พิกัด DD : 7.560994 N, 99.612563 E

เขตลุ่มน้ำหลัก : ตรัง

เขตลุ่มน้ำรอง : คลองปอน, คลองน้ำเจ็ด

เส้นทางเข้าสู่แหล่ง

ตั้งอยู่ริมถนนเพชรเกษม และริมถนนอุดมลาภ กลางตัวจังหวัดตรัง ติดกับสวนทับเที่ยงตรัง 

ประโยชน์ทางการท่องเที่ยว

เป็นแหล่งท่องเที่ยว

รายละเอียดทางการท่องเที่ยว

จวนผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง เป็นโบราณสถานสำคัญของจังหวัด ที่ได้รับการโปรโมทให้เป็น 1 ใน 20 โบราณสถานสำคัญของจังหวัดที่นักท่องเที่ยวห้ามพลาด

เปิดให้นักท่องเที่ยวได้เข้าชมสวน และด้านนอกอาคาร โดยสามารถเข้าเยี่ยมชมได้ทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ ตั้งแต่ประมาณ 7.00 น. ถึง 20.00 น.

หน่วยงานที่ดูแลรักษา

จังหวัดตรัง, กระทรวงมหาดไทย

การขึ้นทะเบียน

ขึ้นทะเบียนของกรมศิลปากร

รายละเอียดการขึ้นทะเบียน

ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 119 ตอนพิเศษ 117ง หน้า 8 วันที่ 29 พฤศจิกายน 2545

ภูมิประเทศ

ที่ราบ

สภาพทั่วไป

จวนผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง ตั้งอยู่บนเนินชื่อ “ควนคีรี” กลางเมืองตรัง ตัวอาคารโบราณสถานได้รับการดูแลรักษาเป็นอย่างดี

ความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง

27 เมตร

ทางน้ำ

แม่น้ำตรัง, คลองปอน, คลองน้ำเจ็ด

สภาพธรณีวิทยา

ตะกอนเศษหินเชิงเขาและตะกอนผุพังอยู่กับที่ สมัยโฮโลซีน ลักษณะตะกอนเป็นกรวด ทราย ทรายแป้ง ศิลาแลง และเศษหิน (กรมทรัพยากรธรณี 2550)

ยุคทางโบราณคดี

ยุคประวัติศาสตร์

สมัย/วัฒนธรรม

สมัยรัตนโกสินทร์

อายุทางโบราณคดี

พ.ศ.2461

ประวัติการศึกษา

ไม่พบผลลัพธ์

ประเภทของแหล่งโบราณคดี

สถานที่ราชการ, ที่พัก

สาระสำคัญทางโบราณคดี

จวนผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง ตั้งอยู่บนเนินชื่อ “ควนคีรี” ประวัติการก่อสร้างมีการสันนิษฐานไว้ 2 ประการ คือ ประการแรก สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในช่วงเดียวกับอาคารศาลากลางจังหวัดตรัง ราว พ.ศ.2461 และเปิดทำการเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2463 ในสมัยของพระยาตรังคภูมาภิบาล (เจิม ปันยารชุน) เป็นผู้ว่าราชการจังหวัด ส่วนประการที่สอง สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยพระยาอาณาจักรบริบาล (สมบุญ สุวรรคทัต) ระหว่าง พ.ศ.2468-2476 จวนผู้ว่าราชการจังหวัดมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ โดยเป็นที่ประทับแรมของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เมื่อครั้งเสด็จประพาสจังหวัดตรัง เมื่อ พ.ศ.2502 ลักษณะสถาปัตยกรรมเป็นอาคาร 2 ชั้น ชั้นล่างเป็นคอนกรีต ชั้นบนเป็นไม้ หลังคาทรงปั้นหยา (ภาณุวัฒน์ เอื้อสามาลย์ และคณะ 2561:139)

ผู้เรียบเรียงข้อมูล-ผู้ดูแลฐานข้อมูล

ทนงศักดิ์ เลิศพิพัฒน์วรกุล

บรรณานุกรม

กรมทรัพยากรธรณี. การจำแนกเขตเพื่อการจัดการด้านธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณีจังหวัดตรัง. กรุงเทพฯ: หจก. ไอเดีย สแควร์,2550.

กรมศิลปากร. "จวนผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง" ระบบภูมิสารสนเทศ แหล่งมรดกทางศิลปวัฒนธรรม. (ออนไลน์). เข้าถึงเมื่อ 15 มกราคม 2565. เข้าถึงจาก http://gis.finearts.go.th/fineart/

ภาณุวัฒน์ เอื้อสามาลย์, ศิริพร สังข์ศิริ,  และธวัชชัย ชั้นไพศาลศิลป์. 247 โบราณสถานภาคใต้ที่ขึ้นทะเบียนแล้วและข้อมูลหลักฐานใหม่ทางโบราณคดี. นครศรีธรรมราช : สำนักศิลปากรที่ 12 นครศรีธรรมราช, 2561.


ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ภาพเกี่ยวกับแหล่งโบราณคดี