โพสต์เมื่อ 3 เม.ย. 2022
ชื่ออื่น : เขาสำเภาหิน, ถ้ำต่ำ, ถ้ำสูง
ที่ตั้ง : ถ.ตง.1037
ตำบล : นาวง
อำเภอ : ห้วยยอด
จังหวัด : ตรัง
พิกัด DD : 7.733705 N, 99.521535 E
เขตลุ่มน้ำหลัก : ตรัง
เขตลุ่มน้ำรอง : คลองขี้เสียด
จากสี่แยกห้วยยอด (สี่แยกอันดามัน) ใช้ถนนเพชรเกษม มุ่งหน้าไปทางจังหวัดกระบี่ ประมาณ 11.5 กิโลเมตร เลี้ยวซ้าย (ตามป้ายโบราณสถานภูเขาสาย หรือป้ายบ้านบางดี) ใช้ทางหลวงชนบท ตรัง 2007 และทางหลวง ตง.1037ประมาณ 2.9 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายใช้ถนนหมายเลข 4257 (ไปตาม อบต.นาวง) ประมาณ 500 เมตร พบสามแยกให้ตรงไป 110 เมตร ให้เลี้ยวขวา (ทางลูกรัง) ตรงไปประมาณ 250 เมตร ถึงตีนเขา
กรมศิลปากร, กรมป่าไม้
ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 121 ตอนพิเศษ 52ง หน้า 3 วันที่ 10 พฤษภาคม 2547
เขาโพธิ์โทน เป็นภูเขาหินปูนลูกโดด สภาพโดยทั่วไปเป็นพื้นที่ป่า ล้อมรอบภูเขาด้วยพื้นที่เกษตรกรรมของชาวบ้าน แหล่งโบราณคดีอยู่ห่างจากคลองขี้เสียดมาทางทิศใต้ประมาณ 350 เมตร อยู่ห่างจากแม่น้ำตรังมาทางทิศตะวันตกประมาณ 2.7 กิโลเมตร
ภายในเขามีถ้ำที่ชาวบ้านรู้จักคือ ถ้ำต่ำและถ้ำสูง แต่ละถ้ำมีหินงอกหินย้อยสวยงาม โดยถ้ำต่ำเป็นถ้ำหินปูน มีขนาดถ้ำกว้างประมาณ 40 เมตร ลึกประมาณ 50 เมตร ที่ผนังและพื้นถ้ำมีร่องรอยการขุดหาขี้ค้างคาว ความลึกประมาณ 1 เมตร (ภาณุวัฒน์ เอื้อสามาลย์ และคณะ 2561: 141)
แม่น้ำตรัง, คลองขี้เสียด
ภูเขาหินปูนลูกโดด กลุ่มหินราชบุรี ยุคเพอร์เมืยน อายุประมาณ 245-286 ปีมาแล้ว (กรมทรัพยากรธรณี 2550)
เขาโพธิ์โทน เป็นภูเขาหินปูนลูกโดด เป็นแหล่งโบราณคดียุคก่อนประวัติศาสตร์ แต่เดิมเรียก “เขาสำเภาหิน” เนื่องจากเคยพบโครงเรือสำเภอโบราณตรงสระน้ำบริเวณติดกับเขา ภายในเขามีถ้ำที่ชาวบ้านรู้จักคือ ถ้ำต่ำและถ้ำสูง แต่ละถ้ำมีหินงอกหินย้อยสวยงาม โดยถ้ำต่ำเป็นถ้ำหินปูน มีขนาดถ้ำกว้างประมาณ 40 เมตร ลึกประมาณ 50 เมตร ที่ผนังและพื้นถ้ำมีร่องรอยการขุดหาขี้ค้างคาว ความลึกประมาณ 1 เมตร (ภาณุวัฒน์ เอื้อสามาลย์ และคณะ 2561: 141)
จากการสำรวจที่ผ่านมา พบชิ้นส่วนภาชนะดินเผาเนื้อดินธรรมดาลายเชือกทาบ และชิ้นส่วนกระดูกสัตว์ เช่น กระดูกกวาง ที่ผนังถ้ำพบหอยโข่งภูเขาเกาะตัวกันกับคราบหินปูนแน่น สันนิษฐานว่าระดับพื้นดินเดิมซึ่งอยู่ต่ำกว่าพื้นดินปัจจุบันประมาณ 1 เมตร ตรงปากทางเข้าถ้ำ จากหลักฐานทำให้สันนิษฐานว่า ในพื้นที่บริเวณเขาโพธิ์โทน เคยมีมนุษย์เข้ามาใช้พื้นที่เมื่อราว 3,000-4,000 ปีมาแล้ว (ภาณุวัฒน์ เอื้อสามาลย์ และคณะ 2561: 141)
กรมทรัพยากรธรณี. การจำแนกเขตเพื่อการจัดการด้านธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณีจังหวัดตรัง. กรุงเทพฯ: หจก. ไอเดีย สแควร์,2550.
กรมศิลปากร. "เขาโพธิ์โทน" ระบบภูมิสารสนเทศ แหล่งมรดกทางศิลปวัฒนธรรม. (ออนไลน์). เข้าถึงเมื่อ 15 มกราคม 2565. เข้าถึงจาก http://gis.finearts.go.th/fineart/
ภาณุวัฒน์ เอื้อสามาลย์, ศิริพร สังข์ศิริ, และธวัชชัย ชั้นไพศาลศิลป์. 247 โบราณสถานภาคใต้ที่ขึ้นทะเบียนแล้วและข้อมูลหลักฐานใหม่ทางโบราณคดี. นครศรีธรรมราช : สำนักศิลปากรที่ 12 นครศรีธรรมราช, 2561.