โพสต์เมื่อ 3 เม.ย. 2022
ที่ตั้ง : ถ.ปัตตานี - นราธิวาส (42)
ตำบล : โคกโพธิ์
อำเภอ : โคกโพธิ์
จังหวัด : ปัตตานี
พิกัด DD : 6.730580 N, 101.095075 E
เขตลุ่มน้ำหลัก : ปัตตานี, ทะเลอ่าวไทย
เขตลุ่มน้ำรอง : คลองลำอ่าน, คลองพาน, คลองท่าเรือ, คลองท่าสาน
พลับพลาตั้งอยู่ด้านหลังหมวดทางหลวงโคกโพธิ์ ข้างสถานีตำรวจภูธรโคกโพธิ์ ในตัวอำเภอโคกโพธิ์
เป็นโบราณสถานของอำเภอโคกโพธิ์และจังหวัดปัตตานี เปิดให้เข้าชมทุกวัน โดยไม่เสียค่าเขข้าชม
กรมศิลปากร
ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 92 ตอนที่ 136 ฉบับพิเศษ หน้า 19 วันที่ 21 กรกฎาคม 2518
พลับพลาตั้งอยู่ด้านหลังหมวดทางหลวงโคกโพธิ์ ข้างสถานีตำรวจภูธรโคกโพธิ์ ในตัวอำเภอโคกโพธิ์ ล้อมรอบด้วยเขตชุมชน ปัจจุบันได้รับการดูแลรักษาเป็นอย่างดี
คลองท่าเรือ, คลองท่าสาน, คลองพาน, คลองลำอ่าน, แม่น้ำปัตตานี, อ่าวไทย
ตะกอนน้ำพาสมัยโฮโลซีน (กรมทรัพยากรธรณี 2559)
พลับพลาแห่งนี้สร้างเพื่อเป็นที่ประทับในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรสุริยุปราคาเต็มดวงใน พ.ศ.2472 โดยขุนอัคนีนายสถานีรถไฟโคกโพธิ์เป็นผู้จัดหาวัสดุก่อสร้าง แม่งานก่อสร้าง และเป็นผู้ออกแบบจัดหาไม้ของกรมรถไฟหลวง สมทบกับไม้ที่อำเภอโคกโพธิ์ ต่อมาพระทำนุ นายอำเภอโคกโพธิ์ ได้นิมนต์พระครูมนัสสมณคุณ (สีพุด) เจ้าอาวาสวัดมะเดื่อทอง มาเป็นหวหน้าช่าง โดยมีพระลูกวัดและชาวบ้านเป็นลูกมือ พลับพลาหลังนี้เป็นอาคารทรงไทยหลังคาาจั่ว มีขนาดกว้าง 6.6 เมตร ยาว 8.95 เมตร มุงด้วยกระเบื้องดินเผา ประดับช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ ตัวไม้พลับพลาทาสีแดง กรมศิลปากรได้บูรณะอาคารหลังนี้ครั้งล่าสุดเมื่อ พ.ศ.2558 (ภาณุวัฒน์ เอื้อสามาลย์ 2561: 242)
กรมทรัพยากรธรณี. การจำแนกเขตเพื่อการจัดการด้านธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณีจังหวัดปัตตานี. กรุงเทพฯ: บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จํากัด (มหาชน), 2559.
กรมศิลปากร. "พลับพลาที่ประทับ รัชกาลที่ 7" ระบบภูมิสารสนเทศ แหล่งมรดกทางศิลปวัฒนธรรม. (ออนไลน์). เข้าถึงเมื่อ 15 มกราคม 2565. เข้าถึงจาก http://gis.finearts.go.th/fineart/
ภาณุวัฒน์ เอื้อสามาลย์, ศิริพร สังข์ศิริ, และธวัชชัย ชั้นไพศาลศิลป์. 247 โบราณสถานภาคใต้ที่ขึ้นทะเบียนแล้วและข้อมูลหลักฐานใหม่ทางโบราณคดี. นครศรีธรรมราช : สำนักศิลปากรที่ 12 นครศรีธรรมราช, 2561.