โพสต์เมื่อ 9 เม.ย. 2022
ชื่ออื่น : ปราสาทโคกปราสาท, ปราสาทท้าวกง
ที่ตั้ง : ม.1 บ้านหนองกง
ตำบล : หนองกง
อำเภอ : นางรอง
จังหวัด : บุรีรัมย์
พิกัด DD : 14.642320 N, 102.905631 E
เขตลุ่มน้ำหลัก : มูล
จากตัวอำเภอนางรอง บริเวณแยกนางรอง ใช้ถนนโชคชัย-เดชอุดม (ทางหลวงหมายเลข 24) มุ่งหน้าไปทางตะวันออก หรือมุ่งหน้าอำเภอประโคนชัยหรือมุ่งหน้าจังหวัดสุรินทร์ ประมาณ 8.2 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายเข้าซอยโยธาธิการ (ตามป้ายบ้านโคกตะแบกหรือวัดโคกตะแบก) ไปตามถนนประมาณ 4.9 กิโลเมตร พบสี่แยกที่บ้านหนองกง ให้เลี้ยวขวา ไปตามถนน (เป็นถนนหินคลุก) ประมาณ 2.25 กิโลเมตร พบสามแยกให้เลี้ยวขวา ไปตามถนนอีก 1 กิโลเมตร ถึงปราสาทหนองกง หรือปราสาทโคกปราสาท
ปราสาทหนองกงเป็นโบราณสถานร้างที่ยังไม่ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ แต่เป็นที่เคารพสักการะของคนในพื้นที่ เห็นได้จากเครื่องสักการะที่มีอยู่อย่างสม่ำเสมอ ผู้สนใจสามารถเข้าเยี่ยมชมได้ทุกวัน โดยไม่เสียค่าเข้าชม
กรมศิลปากร
ในประกาศกำหนดจำนวนโบราณสถานสำหรับชาติ ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 52 หน้า 3688 วันที่ 8 มีนาคม 2478 (ปราสาทโคกปราสาท)
ปราสาทหนองกง ลักษณะเป็นเนินดินโบราณสถานที่ตั้งอยู่กลางทุ่งนาของชาวบ้าน ตั้งอยู่ระหว่างลำปะเทียทั้ง 2 สาย โดยสายด้านทิศตะวันออกอยู่ห่างจากปราสาทประมาณ 400 เมตร ส่วนสายด้านทิศตะวันตก อยู่ห่างออกไปทางปราสาทประมาณ 800 เมตร
ปัจจุบันปราสาทหลังนี้เป็นโบราณสถานร้างที่ยังไม่ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ สภาพพังทลาย โดยผนังอาคารด้านทิศเหนือยังเหลือเรียงตัวกันมากที่สุด เมื่อเทียบกับด้านอื่น ๆ ปัจจุบันมีศิวลึงค์บนฐานโยนีประดิษฐานอยู่ทางทิศตะวันออกของปราสาท มีเครื่องสักการะที่ชาวบ้านนำมาถวายวางอยู่ด้านหน้า
ลำปะเทีย, ลำปลายมาศ, แม่น้ำมูล
ตะกอนน้ำพาสมัยโฮโลซีน (กรมทรัพยากรธรณี 2553) จากอิทธิพลของแม่น้ำมูลและลำน้ำสาขา โดยเฉพาะลำปะเทีย
ลักษณะเป็นเนินโบราณสถานร้างที่ยังไม่มีการขุดแต่งและบูรณะ บนเนินมีส่วนประกอบของอาคารทั้งศิลาแลงและก้อนหินทรายกระจัดกระจายอยู่หนาแน่น สภาพอาคารโดยทั่วไปพังทลาย โดยผนังอาคารด้านทิศเหนือยังเหลือเรียงตัวกันมากที่สุด
ลักษณะสถาปัตยกรรมที่ปรากฏอยู่ ทำให้สันนิษฐานได้ว่า ลักษณะเป็นอาคารขนาดเล็กหลังเดียว แผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ก่อด้วยศิลาแลงเป็นหลัก เครื่องประกอบเป็นหินทราย หันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีช่องหน้าต่างเฉพาะผนังอาคารด้านทิศใต้ ปัจจุบันมีศิวลึงค์บนฐานโยนีประดิษฐานอยู่ทางทิศตะวันออกของปราสาท มีเครื่องสักการะที่ชาวบ้านนำมาถวายวางอยู่ด้านหน้า
สันนิษฐานว่า ปราสาทหนองกง หรือปราสาทโคกปราสาท หรือปราสาทท้าวกง มีอายุอยู่ในพุทธศตวรรษที่ 18 เป็นศาสนสถานประจำที่พักคนเดินทางหรือธรรมศาลา 1 ใน 17 แห่ง ที่พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แห่งอาณาจักรเขมรโบราณ โปรดให้สร้างขึ้น เริ่มจากเมืองพระนครหลวง เมืองหลวงของเขมรโบราณ ไปยังเมืองพิมาย พร้อมกับที่โปรดให้สร้างธรรมศาลา 121 แห่ง ทั่วราชอาณาจักร ตามหลักฐานจากจารึกที่พบที่ปราสาทพระขรรค์ในกัมพูชา
กรมทรัพยากรธรณี. การจำแนกเขตเพื่อการจัดการด้านธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณีจังหวัดบุรีรัมย์. กรุงเทพฯ: บริษัท จันวาณิชย์ ซีเคียวริตี้พริ้นท์ติ้ง จำกัด, 2553.
กรมศิลปากร. "ปราสาทหนองกง(ปราสาทโคกปราสาท,ปราสาทท้าวกง)" ระบบภูมิสารสนเทศ แหล่งมรดกทางศิลปวัฒนธรรม. (ออนไลน์). เข้าถึงเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2565. เข้าถึงจาก http://gis.finearts.go.th/fineart/