โพสต์เมื่อ 9 เม.ย. 2022
ที่ตั้ง : ม.9 บ้านปรางค์
ตำบล : พลับพลา
อำเภอ : โชคชัย
จังหวัด : นครราชสีมา
พิกัด DD : 14.714539 N, 102.149295 E
เขตลุ่มน้ำหลัก : มูล
เขตลุ่มน้ำรอง : ลำพระเพลิง, ลำสำลาย
จากแยกโชคชัย ใช้ถนนโชคชัย-เดชอุดม (ทางหลวงหมายเลข 24) มุ่งหน้าไปทางตะวันตก หรือมุ่งหน้าอำเภอปักธงชัย ประมาณ 2.3 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายเข้าสู่ถนนที่มุ่งหน้าบ้านหนองยายเหล่ (ตามป้ายบ้านหนองยายเหล่) ขัลไปตามทางประมาณ 2.4 กิโลเมตร พบสามแยก (บริเวณบ้านหนองยายเหล่) ให้เลี้ยวซ้าย และเลี้ยวขวาในทันที ไปตามถนนประมาณ 500 เมตร พบสี่แยก ให้เลี้ยวซ้าย ไปตามถนนประมาณ 300 เมตร เลี้ยวซ้ายตามป้ายปรางค์บ้านปรางค์ ประมาณ 80 เมตร จะพบเนินโบราณสถานทางซ้ายมือ
เป็นเนินโบราณสถานที่ยังไม่ได้รับการขุดแต่ง บนเนินดินปรากฏชิ้นส่วนปราสาทเขมรทำจากหินทราย ศิลาแลง และอิฐ หินทรายบางชิ้นมีลวดลายสลัก โบราณสถานแห่งนี้นับเป็นแหล่งรวมจิตใจของชุมชน มีศาลไม้ประดิษฐานอยู่บนเนินโบราณสถาน 2ศาล
กรมศิลปากร
ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 53 ตอนที่ 34 วันที่ 27 กันยายน 2479
โบราณสถานตั้งอยู่กลางชุมชนบ้านปรางค์ ล้อมรอบโบราณสถานด้วยบ้านเรือนราษฎร ด้านทิศใต้ของชุมชนมีลำน้ำเล็ก ๆ ไหลผ่าน ซึ่งเป็นลำน้ำสาขาของลำพระเพลิงและลำสำลาย ส่วนแม่น้ำมูลอยู่ห่างออกไปทางทิศตะวันออกของโบราณสถานประมาณ 6 กิโลเมตร
โบราณสถานมีลักษณะเป็นเนินดินที่ยังไม่ได้รับการขุดแต่ง มีความสูงจากถนนด้านข้างประมาณ 2.5 เมตร มีชิ้นส่วนปราสาทเขมรทำจากหินทราย ศิลาแลง และอิฐ กระจัดกระจายอยู่บนเนินดิน บางชิ้นมีลวดลายสลักเป็นส่วนเครื่องบนของปราสาท
ลำสำลาย, ลำพระเพลิง, แม่น้ำมูล
ตะกอนน้ำพาสมัยโฮโลซีน (กรมทรัพยากรธรณี 2553) ภายใต้อิทธิพลของลุ่มแม่น้ำมูล
ปัจจุบันโบราณสถานยังไม่ได้รับการขุดแต่ง ลักษณะเป็นเนินดิน มีร่องรอยให้เห็นว่าส่วนฐานปราสาท สร้างด้วยศิลาแลง องค์ปราสาทสร้างด้วยอิฐและหินทราย มีกรอบประตูหินทรายจมฝังดิน 1 ชิ้น ส่วนยอดที่พังทลายถูกนำไปทิ้งไว้ที่วัดบ้านบิง ต.โชคชัย อ.โชคชัย จ.นครราชสีมา ปราสาทมีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 16-17 โดยพิจารณาจากลวดลายที่ปรากฏ บริเวณรอบเนินโบราณสถานมีร่องรอยของสระน้ำล้อมรอบอยู่ (กรมศิลปากร 2565) แต่ปัจจุบันได้ตื้นเขินลงไปมาก จากการตั้งบ้านเรือนราษฎร
กรมทรัพยากรธรณี. การจำแนกเขตเพื่อการจัดการด้านธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณีจังหวัดนครราชสีมา. กรุงเทพฯ: บริษัท จันวาณิชย์ ซีเคียวริตี้พริ้นท์ติ้ง จำกัด, 2553.
กรมศิลปากร. "ปรางค์บ้านปรางค์" ระบบภูมิสารสนเทศ แหล่งมรดกทางศิลปวัฒนธรรม. (ออนไลน์). เข้าถึงเมื่อ 15 มกราคม 2565. เข้าถึงจาก http://gis.finearts.go.th/fineart/