โพสต์เมื่อ 22 มิ.ย. 2022
ชื่ออื่น : ถ้ำสนุก
ที่ตั้ง : ม.5 บ้านนา
ตำบล : บ้านนา
อำเภอ : เมือง
จังหวัด : ชุมพร
พิกัด DD : 10.481134 N, 99.074416 E
เขตลุ่มน้ำหลัก : ชุมพร
จากแยกปฐมพร ใช้ถนนเพชรเกษม (ทางหลวงหมายเลข 4) มุ่งหน้าทางทิศตะวันตกสู่จังหวัดระนอง ประมาณ 4.8 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายเข้าถนนที่มุ่งสู่วัดถ้ำสนุกสุขารมย์ ไปตามถนนประมาณ 2 กิโลเมตร จะพบวัดถ้ำสนุกสุขารมย์ทางขวามือ ถ้ำสนุกสุขารมย์อยู่ด้านหลัง (ด้านทิศตะวันตก) ของวัด
ถ้ำสนุกสุขารมย์ตั้งอยู่ภายในวัดถ้ำสนุกสุขารมย์ ซึ่งเป็นพุทธศาสนสถานที่เงียบสงบ ล้อมรอบด้วยธรรมชาติป่าไม้ เหมาะแก่การวิปัสสนาและท่องเที่ยวทางธรรมชาติและวัฒนธรรม อีกทั้งภายในวัดยังมีปูชนียวัตถุ ปูชนียสถาน และปูชนียบุคคล ที่ได้รับการเคารพสักการะจากพุทธศาสนิกชนโดยทั่วไป โดยเฉพาะสรีระสังขารที่ไม่เน่าเปื่อยของหลวงปู่เลิบ พระเกจิชื่อดังของจังหวัดชุมพร ที่บรรจุอยู่ในโลงแก้วภายในศาลากลางวัด
วัดถ้ำสนุกสุขารมย์
ถ้ำสนุกสุขารมย์ ตั้งอยู่ด้านหลังหรือด้านทิศตะวันตกของวัดถ้ำสนุกสุขารมย์ บริเวณเชิงเขาด้านทิศเหนือของเขาท้ายด่าง
เขาท้ายด่างเป็นเขาหินปูนลูกหนึ่งในกลุ่มภูเขาหินปูนทางทิศตะวันตกของตัวจังหวัดชุมพร ยอดสูงสุดของเขาท้ายด่างมีความสูงประมาณ 300 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ส่วนยอดเขาที่อยู่ใกล้กับถ้ำสนุกสุขารมย์สูง 163 เมตร เขาตั้งอยู่ห่างจากคลองชุมพรมาทางทิศใต้ประมาษณ 1.5 กิโลเมตร
พื้นที่บริเวณปากถ้ำเป็นสวนของชาวบ้าน ลักษณะถ้ำเป็นถ้ำขนาดใหญ่ ประกอบไปด้วย 2 คูหาใหญ่ คือ คูหาด้านทิศเหนือและคูหาด้านทิศใต้ แต่ระหว่างคูหาทั้งสองมีช่องทางทะลุถึงกัน
คูหาด้านทิศเหนือ ปากถ้ำหันหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ มีความกว้างประมาณ 16 เมตร ลึกประมาณ 18 เมตร พื้นถ้ำถูกเทลาดเป็นพื้นซีเมนต์ มีการเขียนภาพเกี่ยวกับพุทธประวัติที่ผนังถ้ำ ภายในและปากถ้ำประดิษฐานพระพุทธรูปหลายองค์ โดยองค์ประธานเป็นพระพุทธรูป (ปูน) 3 องค์ ประดิษฐานอยู่กลางถ้ำ องค์กลางแสดงปางมารวิชัย ส่วน 2 องค์ด้านข้างแสดงปางสมาธิ ด้านหลังพระประธานมีโพรงถ้ำขนาดเล็กลึกเข้าไปภายใน จากการสอมถามทราบว่าสามารถเดินเข้าไปทะลุอีกด้านหนึ่งของเขาได้ แต่โพรงถ้ำมีขนาดเล็กและมืดมาก
บริเวณตรงกลางปากถ้ำด้านนี้ประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดใหญ่ โดยมีพระพุทธสาวก 2 องค์ประดิษฐานอยู่เบื้องซ้าย-ขวา มีตัวอักษรระบุชื่อผู้สร้างและวันที่สร้าง (สร้างในเดือนมีนาคม พ.ศ.2530) ขณะสำรวจเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2556 พบก้อนหินขนาดใหญ่ทับอยู่ที่พระเพลาองค์พระ จากการสัมภาษณ์ทำให้ทราบว่าก้อนหินนี้ถล่มลงมาจากเพดานถ้ำเมื่อ 2-3 วันก่อน ทับพระพุทธรูปองค์นี้รวมทั้งพระสาวกเบื้องขวา ทำให้เกิดความเสียหายอย่างมาก
คูหาด้านทิศใต้ ปากถ้ำหันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีความกว้างประมาณ 14 เมตร และลึกประมาณ 20 เมตร พื้นถ้ำถูกเทลาดเป็นพื้นซีเมนต์ ภายในประดิษฐานพระพุทธรูป (โลหะ) 1 องค์ รวมทั้งพระสาวกเบื้องซ้าย-ขวา (ขณะสำรวจถูกคลุมผ้าไว้) รูปปั้นพระสงฆ์ (ทำด้วยปูน) 13 รูปภายในถ้ำ และอีก 3 รูปที่ปากถ้ำ ผนังถ้ำมีการเขียนรายนามผู้บริจาค นอกจากนี้ภายในยังมีแท่นปูนบรรจุอัฐิ(?)
คลองชุมพร
เขาท้ายด่าง ที่เป็นทีตั้งของถ้ำสนุกสุขารมย์ เป็นเขาหินปูนลูกหนึ่งในกลุ่มภูเขาหินปูนทางทิศตะวันตกของตัวจังหวัดชุมพร ในกลุ่มหินราชบุรี ยุคเพอร์เมียน (อายุประมาณ 286-245 ล้านปี) (กรมทรัพยากรธรณี 2550)
กรมศิลปากรสำรวจพบหลักฐานทางโบราณยุคก่อนประวัติศาสตร์ภายในถ้ำสนุกสุขารมย์ ได้แก่ เศษภาชนะดินเผาเนื้อดิน 14 ชิ้น น้ำหนักรวม 80 กรัม ตกแต่งด้วยลายเชือกทาบ 9 ชิ้น และแบบผิวเรียบ 5 ชิ้น เนื้อภาชนะหยาบมีเม็ดทรายปน เผาด้วยในอุณหภูมิต่ำ ผิวนอกสีน้ำตาลเทา มีความหนาตั้งแต่ 0.2-0.6 เซนติเมตร สันนิษฐานว่าถ้ำแห่งนี้น่าจะเป็นแหล่งที่พำนักอาศัยชั่วคราวของมนุษย์ก่อนประวัติสาสตร์ (กรมศิลปากร 2565)
จากการสำรวจเมื่อ 21 สิงหาคม 2556 พบว่าลักษณะของถ้ำ เป็นถ้ำขนาดใหญ่ ประกอบไปด้วย 2 คูหาใหญ่ คือ คูหาด้านทิศเหนือและคูหาด้านทิศใต้ แต่ระหว่างคูหาทั้งสองมีช่องทางทะลุถึงกัน ผิวดินที่ปากถ้ำและภายในคูหาใหญ่ ถูกเทลาดเป็นพื้นซีเมนต์ โดยมีลักษณะปัจจุบันของแต่ละคูหา มีดังนี้
คูหาด้านทิศเหนือ ปากถ้ำหันหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ มีความกว้างประมาณ 16 เมตร ลึกประมาณ 18 เมตร พื้นถ้ำถูกเทลาดเป็นพื้นซีเมนต์ มีการเขียนภาพเกี่ยวกับพุทธประวัติที่ผนังถ้ำ ภายในและปากถ้ำประดิษฐานพระพุทธรูปหลายองค์ โดยองค์ประธานเป็นพระพุทธรูป (ปูน) 3 องค์ ประดิษฐานอยู่กลางถ้ำ องค์กลางแสดงปางมารวิชัย ส่วน 2 องค์ด้านข้างแสดงปางสมาธิ ด้านหลังพระประธานมีโพรงถ้ำขนาดเล็กลึกเข้าไปภายใน จากการสอมถามทราบว่าสามารถเดินเข้าไปทะลุอีกด้านหนึ่งของเขาได้ แต่โพรงถ้ำมีขนาดเล็กและมืดมาก
บริเวณตรงกลางปากถ้ำด้านนี้ประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดใหญ่ โดยมีพระพุทธสาวก 2 องค์ประดิษฐานอยู่เบื้องซ้าย-ขวา มีตัวอักษรระบุชื่อผู้สร้างและวันที่สร้าง (สร้างในเดือนมีนาคม พ.ศ.2530) ขณะสำรวจเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2556 พบก้อนหินขนาดใหญ่ทับอยู่ที่พระเพลาองค์พระ จากการสัมภาษณ์ทำให้ทราบว่าก้อนหินนี้ถล่มลงมาจากเพดานถ้ำเมื่อ 2-3 วันก่อน ทับพระพุทธรูปองค์นี้รวมทั้งพระสาวกเบื้องขวา ทำให้เกิดความเสียหายอย่างมาก ซึ่งชาวบ้านเชื่อว่าสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ดูแลถ้ำไม่ต้องการให้สร้างพระพุทธรูปขนาดใหญ่ปิดบังทางเข้าถ้ำ เพราะคืนก่อนหน้าที่เพดานถ้ำถล่ม มีแม่ชีในวัดฝันว่ามีคนมาบอกให้นำพระพุทธรุปองค์นี้ออกเพราะขวางทางเข้าออกถ้ำ มิเช่นนั้นจะระเบิดออกเอง
คูหาด้านทิศใต้ ปากถ้ำหันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีความกว้างประมาณ 14 เมตร และลึกประมาณ 20 เมตร พื้นถ้ำถูกเทลาดเป็นพื้นซีเมนต์ ภายในประดิษฐานพระพุทธรูป (โลหะ) 1 องค์ รวมทั้งพระสาวกเบื้องซ้าย-ขวา (ขณะสำรวจถูกคลุมผ้าไว้) รูปปั้นพระสงฆ์ (ทำด้วยปูน) 13 รูปภายในถ้ำ และอีก 3 รูปที่ปากถ้ำ ผนังถ้ำมีการเขียนรายนามผู้บริจาค นอกจากนี้ภายในยังมีแท่นปูนบรรจุอัฐิ(?)
กรมทรัพยากรธรณี. การจำแนกเขตเพื่อการจัดการด้านธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณีจังหวัดชุมพร. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจํากัด ไอเดีย สแควร์, 2550.
กรมศิลปากร. "ถ้ำสนุกสุขารมย์" ระบบภูมิสารสนเทศ แหล่งมรดกทางศิลปวัฒนธรรม. (ออนไลน์). เข้าถึงเมื่อ 24 เมษายน 2565. เข้าถึงจาก http://gis.finearts.go.th/fineart/