โพสต์เมื่อ 3 เม.ย. 2023
ที่ตั้ง : อุทยานแห่งชาติเจ้าไหม
ตำบล : เกาะลิบง
อำเภอ : กันตัง
จังหวัด : ตรัง
พิกัด DD : 7.308806 N, 99.397694 E
เขตลุ่มน้ำหลัก : ทะเลอันดามัน
เขตลุ่มน้ำรอง : คลองลัดเจ้าไหม
จากที่ว่าการอําเภอกันตัง มุ่งหน้าไปทางหลวงหลายเลข 403 ระยะทางประมาณ 1.7 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายเข้าสู่ทางหลวงชนบทตรัง 2090 มุ่งหน้าตรงไประยะทางประมาณ 1.3 กิโลเมตร จะพบทางแยกให้เลี้ยวซ้ายเส้นทางหลวงชนบทตรัง 2090 ตรงไประยะทางประมาณ 350 เมตร เลี้ยวขวาไปเข้าเส้นทางหลวงชนบทตรัง 2090 ประมาณ 2.4 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายเส้นทางหลวง ชนบท 1.1 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายสู่เส้นทาง 4008 ระยะทางประมาณ 15.8 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายเส้นทาง 4008 ระยะทางประมาณ 8.3 กิโลเมตร เลี้ยวขวาเข้าสู่ทางลูกรัง ประมาณ 300 เมตร แหล่งโบราณคดีจะอยู่ทางขวา (ธวัลรัตน์ ชัยนราพิพัฒน์, 2557: 53)
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
แหล่งโบราณคดีเขาเจ้าไหม ตั้งอยู่บนภูเขาหินปูนลูกโดด บริเวณปลายแหลมเจ้าไหม ภูเขาวางตัวตามแนวเหนือ – ใต้ สูงประมาณ 100 เมตรจากระดับน้ำทะเล เมื่อเวลาน้ำขึ้นจะมีลักษณะเป็นเกาะ ทางทิศเหนือเป็นเขาโต๊ะแนะ อยู่ห่างประมาณ 800 เมตร ทางทิศตะวันตกเฉียง ใต้เป็นเกาะลิบง อยู่ห่างประมาณ 3 กิโลเมตร มีเกาะเจ้าไหมเป็นเกาะขนาดเล็กห่างประมาณ 400 เมตร ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือเป็นปากคลองเจ้าไหม อยู่ห่างประมาณ 1 กิโลเมตร (ธวัลรัตน์ ชัยนราพิพัฒน์, 2557: 53)
คลองลัดเจ้าไหม, ทะเลอันดามัน
เขาเจ้าไหมเป็นหินปูนในกลุ่มหินราชบุรี ยุคเพอร์เมียน (กรมทรัพยากรธรณี, 2550)
ชื่อผู้ศึกษา : กรมศิลปากร
ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2530, พ.ศ.2531, พ.ศ.2532, พ.ศ.2533
วิธีศึกษา : สำรวจ
ผลการศึกษา :
โครงการสํารวจแหล่งโบราณคดี ฝ่ายวิชาการ กองโบราณคดี กรมศิลปากร ได้รับงบประมาณ ระหว่าง พ.ศ. 2530 – 2533 ดําเนินการสํารวจแหล่งโบราณคดีทางภาคใต้ของประเทศไทยชื่อผู้ศึกษา : ธวัลรัตน์ ชัยนราพิพัฒน์
ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2557
วิธีศึกษา : ศึกษาการตั้งถิ่นฐาน/การใช้พื้นที่
องค์กรร่วม / แหล่งทุน : มหาวิทยาลัยศิลปากร
ผลการศึกษา :
ศึกษาและกําหนดอายุสมัยของแหล่งโบราณคดีชายฝั่งและหมู่เกาะของจังหวัดตรัง ศึกษาลักษณะการใช้พื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลและหมู่เกาะในอดีตของจังหวัดตรัง และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแหล่งโบราณคดีชายฝั่งและหมู่เกาะของจังหวัดตรังกับชุมชนโบราณที่ตั้งอยู่ในภาคพื้นทวีปแหล่งโบราณคดีเขาเจ้าไหม ตั้งอยู่บนภูเขาหินปูนลูกโดด มีลักษณะเป็นเพิงผาทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ เพิงผาหันหน้าออกทะเล อยู่สูงจากระดับนํ้าทะเลประมาณ 7 – 15 เมตร มี ร่องรอยการขุดรบกวนเพื่อนําดินไปใช้ประโยชน์ ซึ่งทําให้เห็นหน้าตัดชั้นดิน มีชิ้นส่วนภาชนะดินเผาและเปลือกหอยทะเลทับถมหนาประมาณ 30 – 50 เซนติเมตร ผนังเพิงผาบางตอนมีภาพเขียนสีแดงค่อนข้างลบเลือน (กรมศิลปากร, 2534: 51)
หลักฐานทางโบราณคดี ที่พบมีดังนี้ (กรมศิลปากร, 2534: 51-52; ธวัลรัตน์ ชัยนราพิพัฒน์, 2557: 55-58)
ภาพเขียนสี เป็นภาพเขียนด้วยสีแดง แต่ภาพค่อนข้างลบเลือนมาก จนไม่สามารถพิจารณาได้ว่าเป็นภาพอะไร แต่ลายเส้นมีลักษณะคล้ายกับภาพที่พบที่แหล่งโบราณคดีเขาแบนะ และแหล่งโบราณคดีอ่าวบุญคง จึงสันนิษฐานว่า แหล่งโบราณคดีแห่งนี้น่าจะถูกใช้งานในช่วงเวลาเดียวกัน จึงกําหนดอายุได้ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ ประมาณ 4,000 – 2,000 ปี มาแล้ว
เครื่องมือเครื่องใช้ประเภทหิน พบชิ้นส่วนของสะเก็ดหินทําจากหินปูน หินควอร์ตไซต์ แต่ไม่มีลักษณะที่เป็นเครื่องมือชัดเจน อาจถูกนํามาใช้เป็นเครื่องมือของมนุษย์ในอดีต และพบก้อนหินทรายรูปคล้ายวงรี ไม่ทราบหน้าที่ใช้งานแน่ชัด แต่ผิวของหินมีรอยสึกเป็นหลุมไม่ลึกมาก 3 – 4 รอย อาจเกิดจากการใช้งานแทนหินลับ กําหนดอายุได้ราวประมาณ 4,000 – 2,000 ปี มาแล้ว
ภาชนะดินเผา พบเศษภาชนะดินเผาเนื้อดิน จํานวน 4 ชิ้น เป็นเศษภาชนะดินเผาเนื้อดิน เนื้อหยาบ มีกรวดปน พบส่วนปาก และลําตัว มีทั้งแบบผิวเรียบไม่ตกแต่งลวดลายและแบบขัดมัน สันนิษฐานว่ามีการผลิตใช้ในท้องถิ่นในช่วงยุคก่อนประวัติศาสตร์ โดยเศษภาชนะเหล่านี้อาจเป็นสิ่งที่ผู้คนในสมัยนั้นนําติดตัวมาเป็นเครื่องใช้สําหรับอุปโภคบริโภคในการเดินทางเข้ามาหลบพักอาศัยในบริเวณเพิงผานี้
สันนิษฐานว่าแหล่งโบราณคดีแห่งนี้ ถูกใช้งานในช่วงระยะเวลาหนึ่ง เนื่องจากสภาพภูมิประเทศไม่เหมาะแก่การตั้งถิ่นฐานถาวร แต่เนื่องจากแหล่งโบราณคดีแห่งนี้ตั้งอยู่บริเวณ ปากแม่นํ้าตรัง มนุษย์ในอดีตอาจใช้เป็นจุดสังเกตในการเดินเรือ และอาศัยหลบคลื่นลมของคนเดินเรือ
กรมทรัพยากรธรณี. การจําแนกเขตเพื่อการจดการด้านธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดตรัง. กรุงเทพฯ : กรมทรัพยากรธรณี, 2550.
กรมศิลปากร. ก่อนประวัติศาสตร์ภาคใต้ ชุมพร ระนอง ตรัง สตูล. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร , 2534.
ธวัลรัตน์ ชัยนราพิพัฒน์. "การศึกษาแหล่งโบราณคดีบริเวณชายฝั่งทะเลและหมู่เกาะในจังหวัดตรัง." วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (โบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2557.