แหลมป้อม


โพสต์เมื่อ 12 ม.ค. 2025

ที่ตั้ง : ม.2 บ้านน้ำเค็ม

ตำบล : บางม่วง

อำเภอ : ตะกั่วป่า

จังหวัด : พังงา

พิกัด DD : 8.856742 N, 98.268969 E

เขตลุ่มน้ำหลัก : ทะเลอันดามัน

เขตลุ่มน้ำรอง : คลองบางม่วง

เส้นทางเข้าสู่แหล่ง

จากตัวอำเภอตะกั่วป่า ใช้ถนนเพชรเกษม (ทางหลวงหมายเลข 4) มุ่งหน้าทางทิศตะวันตกสู่ตำบลบางม่วง ประมาณ 7 กิโลเมตร เลี้ยวเข้าสู่ถนนมุ่งหน้าบ้านน้ำเค็มหรือสวนอนุสรณ์สึนามิบ้านน้ำเค็มหรือท่าเรือ-เกาะคอเขา ประมาณ 2 กิโลเมตร พบสามแยกให้เลี้ยวซ้าย ไปตามถนนในหมู่บ้านประมาณ 850 เมตร พบสามแยกให้เลี้ยวซ้ายไปอีกประมาณ 450 เมตร จะพบแหล่งโบราณคดีแหลมป้อมตั้งอยู่ทางซ้ายมือ

ประโยชน์ทางการท่องเที่ยว

ไม่เป็นแหล่งท่องเที่ยว

รายละเอียดทางการท่องเที่ยว

แหล่งโบราณคดีแหลมป้อมเป็นที่ดินของเอกชน ไม่เป็นแหล่งท่องเที่ยว

หน่วยงานที่ดูแลรักษา

เอกชน

การขึ้นทะเบียน

ขึ้นทะเบียนของกรมศิลปากร

รายละเอียดการขึ้นทะเบียน

ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถาน ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 135 ตอนพิเศษ 165ง หน้า 20 วันที่ 12 กรกฎาคม 2561

ภูมิประเทศ

ที่ราบชายฝั่ง

สภาพทั่วไป

ลักษณะพื้นที่แหล่งโบราณคดีแหลมป้อมเป็นพื้นที่ราบชายฝั่งทะเล ชายฝั่งทะเลปัจจุบันตั้งอยู่ห่างออกไปทางิทศตะวันตกประมาณ 500 เมตร พื้นดินเป็นทราย ปัจจุบันมีสภาพพื้นที่เป็นป่าละเมาะ เลี้ยงปศุสัตว์ บ่อน้ำ และเป็นพื้นที่รกร้างในบางส่วน มีไม้ยืนต้น ไม้ล้มลุก และวัชพืขขึ้นอยู่ทั่วไป เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นของเอกชน มีการล้อมรั้วลวดหนามและปักป้ายห้ามบุคคลภายนอกเข้า

ความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง

3 เมตร

ทางน้ำ

ทะเลอันดามัน, คลองบางม่วง

สภาพธรณีวิทยา

ตะกอนน้ำพาสมัยโฮโลซีน

ประวัติการศึกษา

ชื่อผู้ศึกษา : ธราพงศ์ ศรีสุชาติ, อมรา (ขันติสิทธิ์) ศรีสุชาติ

ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2525

วิธีศึกษา : สำรวจ

องค์กรร่วม / แหล่งทุน : กรมศิลปากร

ผลการศึกษา :

โครงการโบราณคดีเชี่ยวหลาน (งานโบราณคดีเพื่อแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนเชี่ยวหลาน) พื้นที่ปฏิบัติงานครอบคลุมพื้นที่อ่างเก็บน้ำและบริเวณข้างเคียง 4,000 ตารางกิโลเมตร การดำเนินงานขุดค้นแหล่งสมัยก่อนประวัติศาสตร์ 3 แหล่ง ได้แก่ แหล่งในพื้นที่อ่างเก็บน้ำ (ถ้ำปากอม) แหล่งในพื้นอพยพ (ถ้ำเขาชี้ชัน) แหล่งบริเวณข้างเคียง (ถ้ำเบื้องแบบ) สำรวจแหล่งโบราณคดีที่พบหลักฐาน จำนวน 60 แหล่ง (รวมถึงที่แหลมป้อม) และเก็บรวบรวมข้อมูลและหลักฐานที่อยู่ในความครอบครองของเอกชน

ประเภทของแหล่งโบราณคดี

แหล่งผลิต, แหล่งวัตถุดิบ

สาระสำคัญทางโบราณคดี

เป็นแหล่งโบราณคดีที่เคยพบหลักฐานบริเวณเหมืองแร่โบราณ เช่น หินทุบเปลือกไม้ ขวานหินขัด (ธราพงศ์ ศรีสุชาติ, 2529) 

ผู้เรียบเรียงข้อมูล-ผู้ดูแลฐานข้อมูล

ทนงศักดิ์ เลิศพิพัฒน์วรกุล

บรรณานุกรม

ธราพงศ์ ศรีสุชาติ และอมรา (ขันติสิทธิ์) ศรีสุชาติ. รายงานผลการดำเนินงานทางโบราณคดีเพื่อแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนเชี่ยวหลาน ปีพุทธศักราช 2525-2528. กรุงเทพฯ : โครงการโบราณคดีเชี่ยวหลาน กรมศิลปากร, 2529

ปรีชา นุ่นสุข. รายงานการวิจัยเรื่องการศึกษาวิจัยแหล่งโบราณคดีในภาคใต้ของประเทศไทย. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, 2539.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ภาพเกี่ยวกับแหล่งโบราณคดี