เขายะลา อยู่ใน ต.ลิดล และ ต.ยะลา อ.เมืองยะลา จ.ยะลา พบหลักฐานทางโบราณคดียุคก่อนประวัติศาสตร์ในถ้ำและเพิงผาหลายแห่งบนเขายะลา โดยเฉพาะภาพเขียนสี ทั้งเขียนด้วยสีแดงและสีดำ นอกจากนั้นยังพบชิ้นส่วนกะโหลกมนุษย์ เศษภาชนะดินเผา เครื่องมือหินกะเทาะ ขวานหินขัด ดินสีแดง ที่อาจใช้สำหรับสร้างผลงานบนผนังถ้ำ อายุของแหล่งโบราณคดีราว 3,000-2,000 ปีมาแล้ว เป็นต้นมา
ต.ปากจั่น อ.กระบุรี จ.ระนอง พบหลักฐานประเภทเศษภาชนะดินเผาทั้งเนื้อดินและเนื้อแกร่ง และพบหลักฐานประเภทลูกปัดแก้วสีเดียว(อินโด-แปซิฟิก) ลูกปัดหิน(คาร์เนเลียนและอาเกต) และเครื่องประดับที่ทำจากทอง ซึ่งล้วนเป็นสินค้าที่นิยมในสมัยอินโด-โรมันนั้น แสดงให้เห็นว่าชุมชนโบราณแห่งนี้ มีการติดต่อกับชุมชนภายนอก สืบเนื่องมาตั้งแต่สมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ หรือประมาณพุทธศตวรรษที่ 8
อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย ต.ศรีสัชนาลัย อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย
บ้านคูเมือง ต.คูเมือง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี มีการใช้พื้นที่ของมนุษย์มาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ การตั้งถิ่นฐานระยะแรกน่าจะเป็นชุมชนโบราณในสมัยสำริด อายุราว 2,500 ปีมาแล้ว ทางทิศตะวันออกของเมืองด้านนอกคูน้ำคันดิน ปรากฏการสร้างศาสนสถานขึ้น คือ โบราณสถานโนนแก ส่วนด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้นอกคูเมือง มีการขุดหนองน้ำรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดใหญ่ ซึ่งน่าจะเป็นบารายในสมัยวัฒนธรรมเขมร
บ้านก้านเหลือง ต.ขามใหญ่ อ.เมืองอุบลราชธานี แหล่งโบราณคดีบ้านก้านเหลืองมีอายุอยู่ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ต่อเนื่องมายังยุคประวัติศาสตร์ตอนต้น หรือตั้งแต่ 2,800-1,500 ปีมาแล้ว พบหลักฐานของการฝังศพครั้งที่ 2 ในภาชนะดินเผา ปัจจุบันมีการจัดแสดงหลุมขุดค้นและนิทรรศการ
ข้างตลาดสดเทศบาลตำบลเวียงคุก ถ.แก้ววรวุฒิ ม.4 บ้านเวียงคุกเหนือ ต.เวียงคุก อ.เมืองหนองคาย จ.หนองคาย
ต.หน้าถ้ำ อ.เมืองยะลา จ.ยะลา หลักฐานทางโบราณคดีที่สำคัญ ได้แก่ พระพุทธไสยาสน์วัดถ้ำ หรือ “พ่อท่านบรรทม” รูปปั้นยักษ์ขนาดใหญ่เรียกว่า “พ่อท่านเจ้าเขา” พระพิมพ์ดินดิบ สถูปดินดิบ พระพุทธรูปศิลา และจารึกพระปรมาภิไธยย่อ “ปปร” และพิพิธภัณฑ์ศรีวิชัย หรือหอวัฒนธรรมศรีวิชัย (วัดคูหาภิมุข)
ต.ไม้ฝาด อ.สิเกา จ.ตรัง แหล่งโบราณคดีอ่าวบุญคงพบหลักฐานทางโบราณคดี 2 ยุคสมัย คือ ยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่ถูกใช้เป็นที่พักพิงชั่วคราวและมีการวาดภาพเขียนสี และยุคประวัติศาสตร์ช่วงพุทธศตวรรษที 16 – 19 ถูกใช้เป็นแหล่งฝังศพ