โพสต์เมื่อ 13 ก.ค. 2020
ชื่ออื่น : เมืองโบราณสทิงพระ, สทิงพระ
ที่ตั้ง : ต.จะทิ้งพระ อ.สทิงพระ
ตำบล : จะทิ้งพระ
อำเภอ : สทิงพระ
จังหวัด : สงขลา
พิกัด DD : 7.477538 N, 100.438403 E
เขตลุ่มน้ำหลัก : ทะเลสาบสงขลา, ทะเลอ่าวไทย
เขตลุ่มน้ำรอง : คลองสทิงพระ
เมืองโบราณสทิงพระ ตั้งอยู่ในตัว ต.จะทิ้งพระ อ.สทิงพระ จ.สงขลา ภายในตัวเมืองมีสถานที่ราชการ เช่น โรงเรียนเทศบาล 4 และโรงเรียนสทิงพระวิทยา
กรมศิลปากร, กรมธนารักษ์, เทศบาลตำบลสทิงพระ
เมืองโบราณสทิงพระเป็นเมืองโบราณที่คูน้ำล้อมรอบ ตั้งอยู่บนสันทรายกลาง (ใหญ่ที่สุด) ของคาบสมุทรสทิงพระ ซึ่งกั้นระหว่างทะเลอ่าวไทยกับทะเลสาบสงขลา ตัวเมืองโบราณห่างจากทะเลอ่าวไทยประมาณ 500 เมตร ห่างจากทะเลสาบสงขลา 3,500 เมตร
ตัวเมืองโบราณเป็นสี่เหลี่ยมด้านไม่เท่า ทิศเหนือกว้าง 280 เมตร ทิศตะวันออกกว้าง 270 เมตร ทิศใต้กว้าง 305 เมตร และทิศตะวันตก 275 เมตร
ปัจจุบันมีทางหลวงหมายเลข 4-83 ตัดผ่านเมืองด้านทิศตะวันออก พื้นที่ตัวเมืองปัจจุบันเป็นที่ราบ คูเมืองด้านทิศตะวันตกยังพอสังเกตเห็นแต่สภาพตื้นเขินมาก ในขณะที่คูเมืองบางส่วนถูกกลบไปแล้วโดยเฉพาะคูเมืองด้านทิศตะวันออก และภายในเมืองมีพื้นที่เกษตรกรรม บ้านเรือน โรงเรียน (โรงเรียนเทศบาล4 และโรงเรียนสทิงพระวิทยา)
คลองสทิงพระ, ทะเลอ่าวไทย, ทะเลสาบสงขลา
พื้นที่คาบสมุทรสทิงพระเป็นแผ่นดินที่เพิ่งเกิดขึ้นในสมัยโฮโลซีน หรือเมื่อประมาณ 10,000-5,000 ปีที่ผ่านมา เกิดจากการทับถมของตะกอนทะเล (marine sediment) ซึ่งได้รับอิทธิพลของคลื่นลมพัดพาทรายเข้าฝั่ง ทำฝห้เกิดแผ่นดินงอกออกไปทับถมเป็นสันทรายยื่นล้ำลงไปในทะเล กลายเป็นแนวสันทรายซึ่งสูงกว่าพื้นที่บริวเณข้างเคียง แต่การพัดพาทรายมาทับถมนั้นไม่สม่ำเสมอ จึงมีบางบริเวณที่สันทรายขาดหายไปทำให้เป็นแนวไม่เท่ากัน สันทรายริ้วแรก (สันทรายริ้วที่ 1) อยู่ใกล้ทะเลอ่าวไทยมากที่สุด ถัดเข้ามาเป็นสันทรายริ้วใหญ่หรือสันทรายกลาง (สันทรายริ้วที่ 2) ถัดเข้ามาเป็นสันทรายริ้วเล็ก (สันทรายริ้วที่ 3) บนสันทรายมีดินเป็นดินทราย เหมาะกับการตั้งถิ่นฐานและทำการค้าทางทะเล เนื่องจากเหมาะกับเป็นที่กำบังลม นอกจากนี้มีบริเวณที่เป็นที่แยกสันทรายริ้วที่ 2 และ 3 ออกจากกัน เรียกว่า “แควกลาง” เป็นบริเวณที่ราบลุ่มเช่นเดียวกับพื้นที่นอกสันทราย เหมาะกับการทำเกษตรกรรม
เมืองโบราณสทิงพระตั้งอยู่บนจุดที่เกือบจะแคบที่สุดของสันทรายเก่ากลาง เป็นการเลือกทำเลที่เหมาะสม กล่าวคือ อยู่บนส่วนสูงสุดของพื้นที่ ทำให้ไม่เสียพื้นที่เกษตรกรรมและใกล้เส้นทางน้ำธรรมชาติ ไม่ต้องขุดคูเมืองและใช้เป็นเส้นทางคมนาคมได้ทันที ลักษณะของสันทรายเป็นรูปโค้งแบบหลังเต่า ส่วนสูงสุดของสันทรายอยู่กลางเมืองโบราณ ซึ่งปัจจุบันเป็นที่ตั้งของโรงเรียนในเมือง ซึ่งเป็นโรงเรียนประชาบาล สันทรายค่อยๆลาดลงทั้งสองด้าน ด้านทิศตะวันออกจรดอ่าวไทย เป็นหาดทรายซึ่งมีการสร้างตัวอยู่เรื่อยๆ เป็นลูกโซ่เกี่ยวเนื่องกันไป จากหาดทรายเป็นหาดเก่า แล้วเป็นสันทราย จนเป็นสันทรายเก่า ดังนั้นบริเวณที่อยู่บนแนวสันทรายนี้ ชุดดินจึงเป็นชุด Regosole กับ Griund Water Podzols ต่างออกไปจากด้านตะวันตก บริเวณพ้นแนวสันทรายมีระดับต่ำว่าสันทรายประมาณ 1.5 เมตร โดยเฉลี่ย เป็นพื้นที่ราบลุ่ม (โครงการฯ 2522 : 30) เป็นพื้นที่ทำนาได้ และไปต่อกับพื้นราบติดทะเลสาบ ซึ่งเป็นดินน้ำกร่อยและมีป่าชายเลน
ชื่อผู้ศึกษา : กรมศิลปากร
ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2517
วิธีศึกษา : ขุดตรวจ
องค์กรร่วม / แหล่งทุน : กรมศิลปากร
ผลการศึกษา :
กรมศิลปากร ขุดตรวจทางโบราณคดีบริเวณพังแขกชี นอกตัวเมืองโบราณชื่อผู้ศึกษา : ธราพงศ์ ศรีสุชาติ, กรมศิลปากร
ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2522
วิธีศึกษา : สำรวจ, ขุดค้น, บูรณปฏิสังขรณ์, ขุดแต่ง
องค์กรร่วม / แหล่งทุน : กรมศิลปากร
ผลการศึกษา :
กรมศิลปากรสำรวจ ขุดค้น และขุดแต่งบูรณะ โดยขุดค้นหลุมขนาด 3x3 เมตร ในบริเวณสนามโรงเรียนในเมือง บริเวณตัวเมืองโบราณ จำนวน 3 หลุม และบริเวณนอกตัวเมืองโบราณที่พังหลุง ใกล้กับคูเมืองด้านทิศตะวันออกจำนวน 1 หลุม ส่วนการขุดแต่งได้ดำเนินการบริเวณแนวอิฐใกล้กับคูเมืองโบราณด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของตัวเมืองโบราณชื่อผู้ศึกษา : นุชนภางค์ ชุมดี
ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2540
วิธีศึกษา : ศึกษาการตั้งถิ่นฐาน/การใช้พื้นที่
องค์กรร่วม / แหล่งทุน : ม.ศิลปากร
ผลการศึกษา :
นุชนภางค์ ชุมดี เสนอสารนิพนธ์เพื่อสำเร็จการศึกษาปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ในหัวข้อ “การตั้งถิ่นฐานของชุมชนโบราณบนสันทรายด้านชายฝั่งทะเลตะวันออกของภาคใต้ของไทย”ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2542
วิธีศึกษา : สำรวจ
องค์กรร่วม / แหล่งทุน : ม.ศิลปากร
ผลการศึกษา :
นักศึกษาปริญญาโท ม.ศิลปากร สำรวจทางโบราณคดีโดย พบหลักฐานทางโบราณคดีทั้งที่สำรวจพบเองและเก็บรวบรวมโดยเอกชน ปัจจุบันจัดเก็บอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสงขลาและพิพิธภัณฑสถานวัดมัชฌิมาวาส ได้แก่ สถูปที่วัดจะทิ้งพระ, ประติมากรรมรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร 4 กร ทำจากสำริด สูง 10 เซนติเมตร, ประติมากรรมพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร 2 กร ทำจากสำริด สูง 11.5 เซนติเมตร, ตะเกียงแขวน สำริด, เศียรพระนารายณ์ สำริด, ประติมากรรมสำริดพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร 4 กร, ประติมากรรมสำริดพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร 4 กร, ประติมากรรมพระวัชรสัตว์โพธิสัตว์ปางเหวัชระ, ประติมากรรมพระโพธิสัตว์มัญชุศรีสิทธัยกวีระ, ประติมากรรมสำริดรูปท้าวกุเวร, ประติมากรรมพระวัชรสัตว์โพธิสัตว์สำริด, ประติมากรรมสำริดพระพุทธรุปปางมารวิชัย สูง 11.5 เซนติเมตร, ประติมากรรมสำริดพระพุทธรูปปางมารวิชัย, ประติมากรรมพระพุทธรูป, ประติมากรรมสำริดส่วนพระองค์พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร กาไหล่ทอง ศิลปะจีน สูง 9.4 เซนติเมตร, ประติมากรรมสำริดพระพุทธรุปปางสมาธิ สูง 10.5 เซนติเมตร, ประติมากรรมสำริดรูปพระวัชรสัตว์โพธิสัตว์ สูง 12.5 เซนติเมตร, ประติมากรรมสำริดรูปนางปรัชญาปารมิตา, แหวนทองคำ ฐานเทวรูปศิลา ฐานโยนิศิลา แหวนทำด้วยหิน แม่พิมพ์ลายเส้นรูปธรรมจักรหิน, แหวนและลูกปัดแก้ว แม่พิมพ์ของพระพิมพ์ภาพท้าวชุมพล, ภาชนะดินเผารูปหม้อกลมลายวัฏ, เครื่องถ้วยจีน สมัยราชวงศ์ถัง ซุ่ง หยวน และหมิง เครื่องสังคโลก (สุรีพร โชติธรรมโม 2545 : 72)ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2543
วิธีศึกษา : สำรวจ
ผลการศึกษา :
การสำรวจปี พ.ศ.2543 พบเครื่องถ้วยจีนรูปทรงต่างๆ มีทั้งเคลือบเขียวและขาว ที่อยู่ในความครอบครองของนายนิรุจ ผ่องใส พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสงขลา พิพิธภัณฑ์วัดมัชฌิมาวาส และในความครอบครองของเอกชนอื่นๆ (สุรีพร โชติธรรมโม 2545 : 73)ชื่อผู้ศึกษา : สุรีพร โชติธรรมโม
ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2545
วิธีศึกษา : ศึกษาการตั้งถิ่นฐาน/การใช้พื้นที่
องค์กรร่วม / แหล่งทุน : ม.ศิลปากร
ผลการศึกษา :
รีพร โชติธรรมโม เสนอวิทยานิพนธ์เพื่อสำเร็จการศึกษาปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาชาวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ในหัวข้อ “การศึกษาทางด้านโบราณคดี ของชุมชนโบราณในเขตอำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา และบริเวณใกล้เคียง ถึงพุทธศตวรรษที่ 19” โดยศึกษาถึงการตั้งถิ่นฐาน ปัจจุบันการตั้งถิ่นฐาน สภาพภูมิศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติ ความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนสทิงพระกับชุมชนใกล้เคียงและชุมชนร่วมสมัยทั้งในและต่างประเทศ โดยการศึกษาเปรียบเทียบ วิเคราห์ ตีความ ข้อมูลหลักฐานทางโบราณคดีที่พบจากการสำรวจและขุดค้นเมืองโบราณสทิงพระเป็นเมืองโบราณที่มีคูน้ำล้อมรอบเป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านไม่เท่า โดยเมืองด้านทิศเหนือมีความยาว 280 เมตร ทิศตะวันออก 270 เมตร ทิศใต้ 305 เมตร และทิศตะวันตก 275 เมตร ตั้งอยู่บนสันทรายกลาง (ใหญ่ที่สุด) ของคาบสมุทรสทิงพระ จากการสำรวจและขุดค้นพบหลักฐานทางโบราณคดีที่น่าจะมีอายุตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 11-12 เป็นต้นมาจนถึงพุทธศตวรรษที่ 19 หรือลงมาจนถึงสมัยอยุธยา (สุรีพร โชติธรรมโม 2545 ; นุชนภางค์ ชุมดี 2540 : 41)
หลักฐานทางโบราณคดีที่สำคัญ ได้แก่
1.คูน้ำล้อมรอบเมืองโบราณ ด้านทิศเหนือมีความยาว 280 เมตร ทิศตะวันออก 270 เมตร ทิศใต้ 305 เมตร และทิศตะวันตก 275 เมตร
2. ซากสถาปัตยกรรมก่อด้วยอิฐ วางฐานรากด้วยหินกรวดอัด
3.ภาชนะดินเผา
-ภาชนะดินเผาแบบพื้นเมือง เนื้อดิน ลายเชือกทาบ ลายขูดขีด ลายเขียนสี
-เศษภาชนะดินเผาเนื้อดิน เซาะร่องเส้นคู่บนผิวภาชนะเป็นตัวอักขระอ่านได้ว่า “เก” ในภาษาสันสกฤต อักษรปัลลวะ ล้อมรอบด้วยวงกลม (ภาพที่ 53)
-ภาชนะดินเผารูปหม้อกลมลายวัฏ
-เครื่องถ้วยจีน สมัยราชวงศ์ถัง ซุ่ง หยวน และหมิง
-เครื่องสังคโลก
-หูและพวยไหสมัยราชวงศ์ถัง
-เศษเครื่องถ้วยแบบถ้วยหลงฉวน และชิงไป๋
-เครื่องถ้วยมาโคโปโล
-ตะคันดินเผา
4.หินดุ
5.ตุ้มถ่วงแห
6.แวดินเผา
7.เบ้าหลอมทำด้วดินเผา
8.หินลับ
9.แท่นหินบดและลูกกลิ้ง
10.ลูกปัดหิน
11.โลหะ
-ชิ้นส่วนสำริด
-เครื่องมือเหล็ก
-เศษเหล็กหลอมจับตัวปนอยู่กับเศษแก้วหลอม
-ตะกั่วหลอม
-ตะเกียงแขวน สำริด
12.ลูกปัดแก้ว ก้อนเศษแก้วหลอม
13.ก้อนดินขาว
14.เมล็ดข้าว
15.เมล็ดพืช
16.เปลือกหอย
17.กระดูกสัตว์
18.ถ่าน
19.สถูปที่วัดจะทิ้งพระ
20.ประติมากรรม
-ประติมากรรมรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร 4 กร ทำจากสำริด สูง 10 เซนติเมตร
-ประติมากรรมพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร 2 กร ทำจากสำริด สูง 11.5 เซนติเมตร
-เศียรพระนารายณ์ สำริด
-ประติมากรรมสำริดพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร 4 กร
-ประติมากรรมสำริดพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร 4 กร
-ประติมากรรมพระวัชรสัตว์โพธิสัตว์ปางเหวัชระ
-ประติมากรรมพระโพธิสัตว์มัญชุศรีสิทธัยกวีระ
-ประติมากรรมสำริดรูปท้าวกุเวร
-ประติมากรรมพระวัชรสัตว์โพธิสัตว์สำริด
-ประติมากรรมสำริดพระพุทธรุปปางมารวิชัย สูง 11.5 เซนติเมตร
-ประติมากรรมสำริดพระพุทธรูปปางมารวิชัย
-ประติมากรรมพระพุทธรูป
-ประติมากรรมสำริดส่วนพระองค์พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร กาไหล่ทอง ศิลปะจีน สูง 9.4 เซนติเมตร
-ประติมากรรมสำริดพระพุทธรูปปางสมาธิ สูง 10.5 เซนติเมตร
-ประติมากรรมสำริดรูปพระวัชรสัตว์โพธิสัตว์ สูง 12.5 เซนติเมตร
-ประติมากรรมสำริดรูปนางปรัชญาปารมิตา
-ฐานเทวรูปศิลา
-ฐานโยนิศิลา
21.แม่พิมพ์
-แม่พิมพ์ของพระพิมพ์ภาพท้าวชุมพล
-แม่พิมพ์ลายเส้นรูปธรรมจักรหิน
22.เครื่องประดับ
-แหวนทำด้วยหิน
-แหวนและลูกปัดแก้ว
-แหวนทองคำ
จากการศึกษาของนุชนภางค์ ชุมดี (2540) พบว่าเมืองโบราณสทิงพระที่มีหลักฐานการเป็นเมืองศูนย์กลางในพื้นที่คาบสมุทรสทิงพระ ปรากฏความสัมพันธ์กับชุมชนอื่นอย่างเห็นได้ชัดทั้งในและนอกภูมิภาค และการเป็นเมืองอย่างต่อเนื่องและยาวนานแสดงให้เห็นว่ามีการพัฒนาการชุมชนจนมีโครงสร้างที่มีความซับซ้อน
ปัจจัยการตั้งถิ่นฐานเป็นเมืองที่มีคูน้ำล้อมรอบของเมืองโบราณสทิงพระ น่าจะเกิดขึ้นจากอยู่ในเส้นทางคมนาคมของทะเลอ่าวไทย แม้ว่าอาจจะไม่มีแหล่งน้ำจืดธรรมชาติเพียงพอ ด้วยเหตุนี้จึงมีการขุดพังหรือสระน้ำเพื่อใช้ในการอุปโภคบริโภค
พังรอบเมืองโบราณสทิงพระ ได้แก่ พังสายหมาน อยู่ทางทิศเหนือของเมืองโบราณ พังหลุง อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเมืองโบราณบนสันทรายใกล้อ่าวไทย พังแขกชีใต้หรือพัวหนุน อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเมืองโบราณนอกสันทราย อยู่บนพื้นที่นาใกล้ทะเลสาย พังแฟมอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองโบราณสทิงพระนอกสันทรายใกล้ฝั่งทะเลอ่าวไทย พังเสม็ด อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองโบราณสทิงพระนอกสันทรายใกล้อ่าวไทย
พังแขกชี อยู่ทางทิศตะวันออกของเมืองโบราณสทิงพระ ปัจจุบันเป็นบ้านพักครูโรงเรียนสทิงพระวิทยา ได้ค้นพบโบราณวัตถุรูปท้าวกุเวร พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร รูปนางศยามตารา รวมทั้งชิ้นส่วนของพระโพธิสัตว์หล่อด้วยสำริด ทั้งได้พบตราประทับทำด้วยสำริดหลายชิ้น โบราณวัตถุที่กล่าวถึงทั้งหมดเป็นศิลปะศรีวิชัย อายุราวพุทธศตวรรษที่ 14-16 รวมทั้งพบเศษเครื่องเคลือบจีนสมัยราชวงศ์ซุ่งและหมิง รวมทั้งเครื่องเคลือบสมัยสุโขทัยกระจายอยู่ทั่วไป (สินชัย กระบวนแสง 2540 : 5)
พังหนุน อยู่ทางทิศใต้ของพังแขกชี บนที่นาใกล้กับทะเลสาบ โบราณวัตถุที่พบคือ พระคเณศ สลักจากหินทราย สูง 35 เซนติเมตร รวมทั้งพบเศษภาชนะดินเผากระจายอยู่ทั่วไป
พังแขกชีล่าง อยู่ด้านทิศใต้ของโคกม่วง บริเวณนี้พบเศษภาชนะดินเผากระจายอยู่ทั่วไป และยังพบชิ้นส่วนกาน้ำโบราณ อายุราวพุทธศตวรรษที่ 14-16 (สินชัย กระบวนแสง 2540 : 5)
พังแฟม ห่างจากเมืองโบราณสทิงพระออกไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ใกล้ฝั่งอ่าวไทย โบราณวัตถุที่พบได้แก่ พระพุทธรูปศิลา ปางสมาธิ และพบเศษภาชนะดินเผากระจายอยู่ทั่วไป
พังหลุง อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเมืองโบราณสทิงพระใกล้คูเมือง พบเสาผูกช้างและเศษภาชนะดินเผากระจายอยู่ทั่วไป
นอกจากนี้ยังพบโคกเนินโบราณอยู่รอบเมืองโบราณสทิงพระอีกหลายแห่งบนพื้นที่นาในแนวคูเมืองด้านทิศตะวันตกและตะวันตกเฉียงใต้ ใกล้คูเมืองด้านทิศใต้หรือคลองสทิงพระ ได้แก่
1.โคกขามแท่น จากคูเมืองด้านตะวันตก จะเห็นโคกเนินที่มีต้นมะชามใหญ่ที่เป็นโคกเนิน เรียกว่า “โคกขามแท่น” จากการสำรวจโดยโครงการสำรวจแหล่งโบราณคดีและโบราณสถานภาคใต้ กรมศิลปากร ไม่พบโบราณวัตถุใดๆ
2.โคกขามมดแดง ห่างจากโคกขามแท่นไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ 130 เมตร บริเวณสูงสุดของเนินมีต้นมะขามใหญ่ พบซากอิฐอยู่บนเนินดินมากมาย พบเศษภาชนะดินเผาเนื้อดิน มีเรื่องเล่าต่อกันมาว่าบริเวณนี้เคยเป็นโรงทำอิฐ (โครงการฯ 2522 : 40)
3.โคกพังเนียน ห่างจากโคกขามแท่นไปทางทิศจะวันออกเฉียงใต้ 250 องศา ประมาณ 100 เมตร สำรวจพบเศษอิฐ เครื่องเคลือบจีนสมัยราชวงศ์ซุ่งและหมิง (สินชัย กระบวนแสง 2540 : 5)
4.โคกน้าควาย ห่างจากโคกพังเนียน ไปทางทิศตะวันตดเฉียงฝต้ประมาณ 250 องศา ประมาณ 50 เมตร จากการสำรวจพบอิฐก้อนใหญ่และเศษภาชนะดินเผา (โครงการฯ 2522 : 40)
5.โคกพังขี้เหล็ก ห่างจากโคกน้าควายไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ จากการสำรวจ(โครงการฯ 2522 : 40) พบเศษภาชนะดินเผาและอิฐ ใกล้บริเวณรอบๆโคกเนินนี้มีเนินเล็กๆเป็นหย่อมๆตลอด จนมีเนินที่เป็นเนินจอมปลวกอีกด้วย
6.โคกสีดอกไม้ อยู่ใกล้กับคูเมืองด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ คืออยู่ใกล้กับบริเวณคูเมืองด้นทิศตะวันตกมาบรรจบกับคูเมืองด้านทิศใต้กับส่วนของคลอง ซึ่งเป็นเส้นทางน้ำต่อออกไปจากคูเมืองด้านทิศใต้ไปสู่ทะเลสาบ บริเวณโคกสีดอกไม้สูงกว่าบริเวณข้างเคียงโดยเฉลี่ยประมาณ 0.5 เมตร ทางด้านทิศเหนือถูกปรับพื้นที่ทำเกษตรกรรม พบว่ามีเศษภาชนะดินเผาประเภทเนื้อดิน เนื้อแกร่ง (เคลือบด้าน) เปลือกหอย เศษอิฐ เศษก้อนดินขาว ส่วนบริเวณที่เป็นโคกสีดอกไม้นั้นมีแนวอิฐโผล่ขึ้นมาให้เห็น ซึ่งอาจเป็นแนวของสิ่งก่อสร้างที่ใช้วัสดุที่เป็นอิฐได้ (โครงการฯ 2522 : 41)
7.โคกไม้ไผ่ อยู่ทางด้านทิศใต้ของคูเมืองด้านใต้ เป็นโคกที่มีต้นไผ่ขึ้นอยู่มาก จากการสำรวจพบเศษภาชนะดินเผาและอิฐบางพอควร (โครงการฯ 2522 : 41)
8.โคกม่วง อยู่ถัดจากโคกไม้ไผ่ออกไปทางทิศใต้ เป็นโคกใหญ่มีต้นไม้ใหญ่ รอบๆมีต้นไม้เล็กๆปกคลุม พบแนวอิฐเรียงเป็นแนวแบบสลับฟันปลาก่อเป็นแนวลึกลงไปใต้ผิวดิน
กีร์ เทรบุลย์, สมยศ ทุ่งหว้า, และอิงอร เทรบุลย์. “ความเป็นมาและแนวโน้มวิวัฒนาการของเกษตรกรรมบริเวณคาบสมุทรสทิงพระ” ใน ประวัติศาสตร์และโบราณคดีคาบสมุทรมทิงพระ. กรุงเทพฯ : รุ้งแสงการพิมพ์, 2528.
โครงการขุดค้นแหล่งโบราณคดีสทิงพระ กรมศิลปากร. รายงานทางวิชาการเรื่องการศึกษาสภาพแวดล้อมบริเวณแหล่งขุดค้นโบราณคดีสทิงพระ และการสำรวจแหล่งโบราณคดีข้างเคียง พฤษภาคม-ธันวาคม 2522. สงขลา : หน่วยศิลปากรที่ 9 กองโบราณคดี กรมศิลปากร, 2522.
โครงการขุดค้นแหล่งโบราณคดีสทิงพระ กรมศิลปากร. รายงานทางวิชาการเรื่องลูกปัดจากแหล่งขุดค้นโบราณคดีสทิงพระ ปี 2522. สงขลา : หน่วยศิลปากรที่ 9 กองโบราณคดี กรมศิลปากร, 2522.
ทรงพรรณ สังฆะโต. “ศึกษาตระพังในคาบสมุทรสทิงพระ จังหวัดสงขลา” วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ไทยคดีศึกษา) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยทักษิณ, 2542.
ทิวา ศุภจรรยา. “ความสัมพันธ์ทางภูมิศาสตร์และการตั้งถิ่นฐานชุมชนโบราณบริเวณลุ่มทะเลสาบสงขลา” ใน รายงานการสัมมนาประวัติศาสตร์และโบราณคดีศรียวิชัย. กรุงเทพฯ : กองโบราณคดี กรมศิลปากร 2525.
ธราพงศ์ ศรีสุชาติ. “การลำดับอายุสมัยประวัติศาสตร์วัฒนธรรมภาคใต้จากหลักฐานโบราณคดี” เอกสารประกอบการสัมมนาการวิจัยวัฒนธรรมภาคใต้ ครั้งที่ 1 วันที่ 18-20 กันยายน 2532. นครศรีธรรมราช : ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช, 2532 : 148-177.
ธราพงศ์ ศรีสุชาติ. “ชุมชนแรกเริ่มสมัยประวัติศาสตร์ บริเวณวัดพะโคะและใกล้เคียง” ใน วัดพะโคะ. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้ง, 2528 : 85-107.
ธราพงศ์ ศรีสุชาติ. “หลักฐานใหม่จากการปฏิบัติงานขุดค้นทางโบราณคดีของกองโบราณคดี กรมศิลปากร เกี่ยวกับชุมชนแรกเริ่มสมัยประวัติศาสตร์ในคาบสมุทรมทิงพระ” ใน ประวัติศาสตร์และโบราณคดีคาบสมุทรสทิงพระ. กรุงเทพฯ : รุ้งแสงการพิมพ์, 2528 : 47-51.
นุชนภางค์ ชุมดี. “การตั้งถิ่นฐานของชุมชนโบราณบนสันทรายด้านชายฝั่งทะเลตะวันออกของภาคใต้ของไทย” สารนิพนธ์ปริญญาศิลปาศาสตรบัณฑิต (โบราณคดี) คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2540.
ปรีชา นุ่นสุข. รายงานวิจัยเรื่องการศึกษาวิจัยแหล่งโบราณคดีในภาคใต้ของประเทศไทย. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, 2539.
ผาสุข อินทราวุธ. “ภาชนะพื้นเมืองจากการสำรวจและขุดค้นบริเวณเมืองโบราณในคาบสมุทรมทิลพระ” ใน ประวัติศาสตร์และโบราณคดีคาบสมุทรสทิงพระ. กรุงเทพฯ : รุ้งแสงการพิมพ์, 2528 : 71-81.
พิริยะ ไกรฤกษ์. “ร่างลำดับลำดับเหตุการณ์ของประติมากรรมที่พบที่สทิงพระ” ใน ประวัติศาสตร์และโบราณคดีคาบสมุทรมทิงพระ. กรุงเทพฯ : รุ้งแสงการพิมพ์, 2528 : 62-70.
ศรีศักร วัลลิโภดม. “พัฒนาการของบ้านเมืองในภาคใต้ของประเทศไทยในสมัยศรีสิชัย” รายงานการสัมมนาประวัติศาสตร์โบราณคดีศรีวิชัย ณ โรงแรมวังใต้ จังหวัดสุราษฎร์ธานี25-30 มิถุนายน 2525.
สกรรจ์ จันทรัตน์ และสงบ ส่งเมือง. การเริ่มต้นและพัฒนาการทางประวัติศาสตร์โฐราณคดีเมืองสงขลาเก่า. กรุงเทพฯ : ประชาสัมพันธ์พานิชย์, 2534.
สินชัย กระบวนแสง. “การสำรวจแหล่งโบราณคดีรอบทะเลสาบสงขลา พ.ศ.2537” ใน อาจารย์พเยาว์ นาคเวก กับงานโบราณคดี. กรุงเทพฯ : คณะโบราณคดี มหิวาวิทยาลัยศิลปากร, 2540.
สุทธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์. “สทิงพระ : อำเภอ” ใน สารานุกรมวัฒนธรรมภาคใต้ 9 (2529) : 3652-3653.
สุรีพร โชติธรรมโม. “การศึกษาทางด้านโบราณคดี ของชุมชนโบราณในเขตอำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา และบริเวณใกล้เคียง ถึงพุทธศตวรรษที่ 19” วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (โบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2545.
องอาจ ศรียะพันธ์. “รูปเคารพในพุทธศาสนามหายานก่อนพุทธศตวรรษที่ 19 พบที่เมืองสทิงพระ” วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ประวัติศาสตร์ศิลปะ) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2533.
อมรา ศรีสุชาติ และธราพงศ์ ศรีสุชาติ. “ชุมชนสมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ในภาคใต้” ใน สารานุกรมวัฒนธรรมภาคใต้ 9 (2529) : 1004-1033.
Lamb, Alastair. “Notes on Satingphra” Journal of the Malaysian Branch Rayal Asiatic Society. 37, 1 (July 1964) : 7.