แหล่งโบราณคดี


แสดง 1 ถึง 15 จาก 15 ผลลัพธ์

บ้านวังไฮ

ตั้งอยู่บ้านวังไฮ ต.เวียงยอง อ.เมืองลำพูน ปรากฏร่องรอยหลักฐานการใช้พื้นที่เป็นแหล่งสุสานมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย กระทั่งเข้าสู่ยุคประวัติศาสตร์ สมัยหริภุญชัย 

อ่านเพิ่มเติม

บ้านดอนตาเพชร

ต.ดอนตาเพชร อ.พนมทวน จ.กาญจนบุรี เป็นแหล่งโบราณคดียุคก่อนประวัติศาสตร์ สมัยเหล็ก โบราณวัตถุสำคัญ เช่น เครื่องประดับที่่ทำจากแก้วและหินกึ่งมีค่า รวมถึงวัตถุสำริดรูปไก่ลอยตัว รูปกรงหรือสุ่มไก่สำริด รูปหงส์ รูปนกยูง ลูกกระพรวน กำไล, แหวน, ภาชนะรูปทรงต่างๆ เช่น ทรงกระบอก ทรงขัน ทรงถังน้ำ ฝามีจุกแหลม ทัพพีสำริด และภาชนะสำริดชิ้นหนึ่งเป็นรูปผู้หญิงเกล้ามวยผม หูยาว สวมเสื้อ พบแต่ส่วนบนของร่างกายผู้หญิง

อ่านเพิ่มเติม

บ้านท่าเรือ

บ้านท่าเรือ อ.เมืองนครศรีธรรมราช เป็นชุมชนหนึ่งในกลุ่มชุมชนโบราณคลองท่าเรือ มีพัฒนาการมาตั้งแต่สมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ แต่หลักฐานจะเด่นชัดในช่วงพุทธศตวรรษที่ 13-18  โบราณวัตถุสำคัญ เช่น ขวานหินขัด กำไลหิน ลูกปัดแก้วหรือลูกปัดมีตา เครื่องถ้วยจีนเคลือบสีเขียวมะกอกแบบยั่ว (Yue ware) 

อ่านเพิ่มเติม

เขาสามแก้ว

ตั้งอยู่ที่บ้านสามแก้ว อ.เมืองชุมพร เป็นชุมชนยุคก่อนประวัติศาสตร์จนถึงสมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ ตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 2 และเจริญในช่วงพุทธศตวรรษที่ 5 -10 มีการสร้างกำแพงดินล้อมรอบชุมชน มีการสร้างคูน้ำหรือทางระบายน้ำ มีการจัดแบ่งพื้นที่อุตสาหกรรมไว้นอกเขตชุมชน

อ่านเพิ่มเติม

ชุมชนโบราณสทิงพระ

ต.จะทิ้งพระ อ.สทิงพระ จ.สงขลา

อ่านเพิ่มเติม

ปากจั่น

ต.ปากจั่น อ.กระบุรี จ.ระนอง พบหลักฐานประเภทเศษภาชนะดินเผาทั้งเนื้อดินและเนื้อแกร่ง และพบหลักฐานประเภทลูกปัดแก้วสีเดียว(อินโด-แปซิฟิก) ลูกปัดหิน(คาร์เนเลียนและอาเกต) และเครื่องประดับที่ทำจากทอง ซึ่งล้วนเป็นสินค้าที่นิยมในสมัยอินโด-โรมันนั้น แสดงให้เห็นว่าชุมชนโบราณแห่งนี้ มีการติดต่อกับชุมชนภายนอก  สืบเนื่องมาตั้งแต่สมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ หรือประมาณพุทธศตวรรษที่ 8

อ่านเพิ่มเติม

ภูเขาทอง

ต.กำพวน อ.สุขสำราญ จ.ระนอง แหล่งโบราณคดีแห่งนี้เป็นเมืองท่ายุคแรก ๆ ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีการติดต่อทางการค้ากับอินเดียอย่างชัดเจน หลักฐานสำคัญที่พบมีทั้งลูกปัดแก้ว ลูกปัดหินกึ่งมีค่า ลูกปัดทอง เครื่องปั้นดินเผาจากทั้งที่ผลิตในท้องถิ่นและจากดินแดนตะวันตก

อ่านเพิ่มเติม

เมืองเสมา

ต.เสมา อ.สูงเนิน จ.นครราชสีมา เมืองเสมาเป็นเมืองโบราณร่วมสมัยวัฒนธรรมทวารวดีและวัฒนธรรมเขมร มีคูน้ำคันดินล้อมรอบแต่มีร่องรอยหลักฐานปรากฏว่ามีการอยู่อาศัยของคนโบราณมาตั้งแต่ช่วงสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย

อ่านเพิ่มเติม

บ้านพระปืด

ต.บ้านแร่ อ.เขวาสินรินทร์ จ.สุรินทร์ ปรากฏร่องรอยการใช้พื้นที่ของมนุษย์มาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน ลักษณะเป็นเนินดินที่มีขนาดสูงใหญ่ มีชั้นทับถมของเศษภาชนะดินเผาในระดับที่ลึกลงไปจากผิวดิน

อ่านเพิ่มเติม

โนนแก

บ้านคูเมือง ต.คูเมือง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี โบราณสถานโนนแกมีการก่อสร้างซ้อนทับกัน 2 สมัย คืออาคารที่สร้างขึ้นเนื่องในวัฒนธรรมเขมร ศาสนาฮินดู อายุราวพุทธศตวรรษที่ 17-18 และอาคารหรือสิมในศาสนาพุทธ มีใบเสมาหินทรายปักล้อมรอบ อายุราวพุทธศตวรรษที่ 24-25

อ่านเพิ่มเติม

ชุมชนโบราณดงเมืองเตย

บ้านสงเปือย ต.สงเปือย อ.คำเขื่อนแก้ว จ.ยโสธร ชุมชนโบราณดงเมืองเตยปรากฏการตั้งถิ่นฐานมาตั้งแต่เมื่อประมาณ 2,500 ปีมาแล้ว ต่อเนื่องมาจนถึงพุทธศตวรรษที่ 18 มีคูน้ำคันดินล้อมรอบเมืองโบราณ

อ่านเพิ่มเติม

โนนนกทา

ม.16 บ้านโนนนกทา ต.กุดธาตุ อ.หนองนาคำ จ.ขอนแก่น

อ่านเพิ่มเติม

วัดคีรีวิหาร

ตั้งอยู่ ต.เขากอบ อ.ห้วยยอด จ.ตรัง วัดคีรีวิหารเป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่งของอำเภอห้วยยอด สร้างเมื่อ พ.ศ.2374 สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เคยเสด็จมาสำรวจทรงพบพระพิมพ์ดินดิบจำนวนมาก อายุราวพุทธศตวรรษที่ 13-15 และบริเวณใต้เพิงผายังพบพระพุทธรูปสมัยอยุธยาและรัตนโกสินทร์

อ่านเพิ่มเติม

ภูเขาสาย

ต.บางดี อ.ห้วยยอด จ.ตรัง พบหลักฐานหลายยุคสมัย ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ เช่น เครื่องมือหิน ชิ้นส่วถ้ำเขาสายนหม้อสามขา ชิ้นส่วนภาชนะดินผา กระจายอยู่ภายในถ้ำต่าง ๆ นอกจากนี้ยังพบพระพิมพ์ดินดิบบริเวณถ้ำทางทิศตะวันออก อายุราวพุทธศตวรรษที่ 13-15 เป็นโบราณวัตถุเนื่องในศาสนาพุทธฝ่ายมหายาน และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เสด็จมาในวันพฤหัสบดีที่ 29 พฤษภาคม ร.ศ.121 (พ.ศ.2445)

อ่านเพิ่มเติม

ภูเขาวัดหน้าถ้ำ

ต.หน้าถ้ำ อ.เมืองยะลา จ.ยะลา หลักฐานทางโบราณคดีที่สำคัญ ได้แก่ พระพุทธไสยาสน์วัดถ้ำ หรือ “พ่อท่านบรรทม” รูปปั้นยักษ์ขนาดใหญ่เรียกว่า “พ่อท่านเจ้าเขา” พระพิมพ์ดินดิบ สถูปดินดิบ พระพุทธรูปศิลา และจารึกพระปรมาภิไธยย่อ “ปปร” และพิพิธภัณฑ์ศรีวิชัย หรือหอวัฒนธรรมศรีวิชัย (วัดคูหาภิมุข) 

อ่านเพิ่มเติม