โพสต์เมื่อ 2 เม.ย. 2022
ชื่ออื่น : บ้านเก่าย่าจันย่ามุก
ที่ตั้ง : ม.3 ต.เทพกระษัตรี (เทศบาลตำบลเทพกระษัตรี) อ.ถลาง
ตำบล : เทพกระษัตรี
อำเภอ : ถลาง
จังหวัด : ภูเก็ต
พิกัด DD : 8.02868 N, 98.32874 E
เขตลุ่มน้ำหลัก : ทะเลอันดามัน
เขตลุ่มน้ำรอง : คลองนบนางตัก
จากอนุสาวรีย์ท้าวเทพกระษัตรีท้าวศรีสุนทร ใช้ถนนเทพกระษัตรี (ทางหลวงหมายลข 402) มุ่งหน้าทิศเหนือ (หรือมุ่งหน้าไปทางสนามบินภูเก็ต) ประมาณ 6.2 กิโลเมตร ถึงสี่แยกบริเวณวัดพระนางสร้าง ให้เลี้ยวซ้ายใช้ถนนดอนจอมเฒ่า (ทางหลวงหมายเลข 4030) ไปตามถนน 78 เมตร แล้วเลี้ยวขวาใช้ถนนโนนจอมเฒ่า ไปตามถนนประมาณ 200 เมตร เลี้ยวซ้ายเข้าสู่ซอยประมาณ 280 เมตร แล้วเลี้ยวขวาข้ามสะพานข้ามคลองนบนางตัก จะพบสามแยกซึ่งบรรจบกับซอยนบนางตักให้เลี้ยวขวา ประมาณ 74 เมตร พบสามแยกให้เลี้ยวซ้ายไปตามถนนอีกประมาณ 200 เมตร จะพบบ้านเก่าย่าจันย่ามุกอยู่ทางซ้ายมือ
เอกชน, มูลนิธิท้าวเทพกระษัตรี ท้าวศรีสุนทร
แหล่งบ้านเก่าย่าจันย่ามุก หรือบ้านท้าวเทพกระษัตรี มีสภาพพื้นที่ปัจจุบันเป็นพื้นที่ราบระหว่างภูเขา ติดกับคลองนบนางตัก ปัจจุบันอยู่ในความครอบครองของเอกชน เป็นที่ตั้งของบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่เกษตรกรรมทำสวน ไม่มีซากโบราณสถานใดๆ และไม่เหลือสภาพเป็นเกาะดังเอกสารประวัติศาสตร์ที่ระบุว่าบ้านท้าวเทพกระษัตรี (จัน) อยู่ในพื้นที่ที่เรียกว่า เกาะบ้านเคียน
คลองนบนางตัก, ทะเลอันดามัน
พื้นที่ทับถมจากตะกอนน้ำพาในสมัยโฮโลซีน
นักวิชาการท้องถิ่นได้ศึกษาหลักฐานทางประวัติศาสตร์โบราณคดี สภาพพื้นที่ และเรื่องเล่าต่างๆ แล้ว จึงสันนิษฐานว่าพื้นที่บริเวณนี้เป็นที่ตั้งบ้านของท้าวเทพกระษัตรี (จัน)
ปัจจุบันพื้นที่นี้เป็นที่ตั้งบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่เกษตรกรรมทำสวน ไม่มีซากโบราณสถานใดๆ และไม่เหลือสภาพเป็นเกาะดังเอกสารประวัติศาสตร์ที่ระบุว่าบ้านท้าวเทพกระษัตรี (จัน) อยู่ในพื้นที่ที่เรียกว่า “เกาะบ้านเคียน” มีคลองนบนางตักไหลผ่านพื้นที่
ชาวบ้านและหน่วยงานท้องถิ่นได้ร่วมกันบริจาคและกันพื้นที่ส่วนหนึ่งในบริเวณนี้ ติดป้ายและล้อมรั้วเพื่อจัดเป็น “สถานที่ประวัติศาสตร์บ้านเก่าย่าจันย่ามุก” ภายในเป็นที่ตั้งของศาล “บ้านย่า” (ย่าจัน ย่ามุก) สภาพพื้นที่ได้รับการปรับปรุงภูมิทัศน์ ปูพื้นอิฐ ปลูกต้นไม้ต่างๆ ทำให้ภายในมีบรรยากาศเงียบสงบร่มรื่น มีศาลาและที่นั่งพักผ่อน มีป้ายบรรยายให้ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของถลาง ท้าวเทพกระษัตรี ท้าวศรีสุนทร และมูลเหตุที่ทำให้เชื่อว่าพื้นที่บริเวณนี้เป็นที่ตั้งของบ้านท้าวเทพกระษัตรี รวมทั้งแผ่นป้ายจารึกภาษาไทยและภาษาอังกฤษ แสดงข้อความดังนี้
บ้านท้าวเทพกระษัตรี
“หน้าเรือนแม่หม้า มีขามคอม้า มีหว้ากาจับ มีต้นม่วง
คล้าสระหน้าบ้าน มีคูโดยรอบ มีขอบค่ายไผ่” คำเชิญตา
ยายผีถลาง ที่บ่งบอกบริเวณบ้านของท้าวเทพกระษัตรี (จัน)
สถานที่นี้เดิมเป็นจวนของจอมร้างบ้านเคียน ผู้รั้งเมือง
ถลางสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ตกมาเป็นมรดกของบุตร
สาว คือคุณหญิงจัน (ท้าวเทพกระษัตรี) คุณผู้หญิงจันได้สร้างค่ายไว้ต้านศึกพม่า จนพม่าแตกพ่ายไปเมื่อวันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๓๒๘
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ เคยเสด็จทอดพระเนตร เมื่อวันที่ ๒๗ เมษายน ๒๔๕๒ (ร.ศ.๑๒๘)”