รอยพระพุทธบาท เขางู


โพสต์เมื่อ 13 ก.ค. 2020

ชื่ออื่น : เทือกเขางู, เขางู

ที่ตั้ง : ต.เกาะพลับพลา อ.เมืองราชบุรี

ตำบล : เกาะพลับพลา

อำเภอ : เมือง

จังหวัด : ราชบุรี

พิกัด DD : 13.57512 N, 99.77324 E

เขตลุ่มน้ำหลัก : แม่กลอง

เขตลุ่มน้ำรอง : คลองใหญ่

เส้นทางเข้าสู่แหล่ง

ใช้ทางหลวงหมายเลข3087 (สายราชบุรี-จอมบึง-สวนผึ้ง) จากตัวจังหวัดราชบุรี ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ประมาณ 8กิโลเมตร เมื่อพบสามแยกก็เลี้ยวขวาแล้วไปอีกประมาณ 1 กิโลเมตร จะพบอุทยานหินเขางูและสวนสาธารณะอยู่ด้านซ้ายมือ เลี้ยวซ้ายเข้าถนนข้างสวนสาธารณะเขางู ไปตามถนนอีกประมาณ 630 เมตร จะพบทางขึ้นสู่ถ้ำจีนอยู่ด้านขวามือ

ประโยชน์ทางการท่องเที่ยว

เป็นแหล่งท่องเที่ยว

รายละเอียดทางการท่องเที่ยว

หลังจากมีมติคณะรัฐมนตรี ห้ามมิให้มีการระเบิดย่อยหินบริเวณเทือกเขางูอีกต่อไป ทางจังหวัดราชบุรีจึงพัฒนาพื้นที่เป็น “อุทยานหินเขางู” จนเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งหนึ่งในจังหวัดราชบุรี โดยเป็นทั้งสถานที่ท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ เป็นแหล่งศึกษาหาความรู้ด้านธรณีวิทยา ประวัติศาสตร์ โบราณคดี และเป็นที่เคารพสักการะของพุทธศาสนิกชนทั่วไป โดยเฉพาะพระพุทธรูปห้อยพระบาทในถ้ำฤๅษี ที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า “พระพุทธฉายถ้ำฤๅษีเขางู” มีการจัดงานนมัสการเป็นประจำทุกปี ในวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 11นอกจากนี้ บริเวณยอดเขาที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาท ยังเป็นจุดชมวิวที่สำคัญบนเทือกเขางูอีกด้วย

หน่วยงานที่ดูแลรักษา

เทศบาลตำบลเขางู, กรมศิลปากร

การขึ้นทะเบียน

ขึ้นทะเบียนของกรมศิลปากร

รายละเอียดการขึ้นทะเบียน

-ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 52 ตอนที่ 75 หน้า 3696 วันที่ 8 มีนาคม 2478

-ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 91 ตอนที่ 174 หน้า 3776วันที่ 15 ตุลาคม 2517

ภูมิประเทศ

ภูเขา

สภาพทั่วไป

อยู่บนยอดเขาหนึ่งของเทือกเขางู ใกล้กับถ้ำฝาโถ (อยู่ทางทิศตะวันตกของถ้ำฝาโถ ห่างกันประมาณ 200 เมตร)

เขางูเป็นเขาหินปูน ในอดีตเคยมีการอนุญาตให้ระเบิดย่อยหินที่เทือกเขางู แต่ปัจจุบันโดยมติคณะรัฐมนตรีได้ห้ามมิให้มีการระเบิดย่อยหินบริเวณเทือกเขางูอีกต่อไป

แม่น้ำแม่กลอง อยู่ห่างจากเทือกเขางูไปทางทิศตะวันออกประมาณ 4 กิโลเมตร และห่างออกไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 3.3 กิโลเมตร มีคลองหนองใหญ่ อยู่ห่างออกไปทางทิศตะวันออกประมาณ 1.1 กิโลเมตร

ความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง

128 เมตร

ทางน้ำ

แม่น้ำแม่กลอง

สภาพธรณีวิทยา

[ดู เทือกเขางู]

[ดู เทือกเขางู]

ยุคทางโบราณคดี

ยุคประวัติศาสตร์

สมัย/วัฒนธรรม

สมัยอยุธยา

อายุทางโบราณคดี

พุทธศตวรรษที่ 22-23

ประวัติการศึกษา

ชื่อผู้ศึกษา : กรมศิลปากร

ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2517

วิธีศึกษา : สำรวจ

ผลการศึกษา :

แผนกสำรวจ กองโบราณคดี กรมศิลปากร สำรวจเพื่อขึ้นทะเบียนโบราณสถาน

ชื่อผู้ศึกษา : สุนิสา มั่นคง, ประคอง รักอู่, อรพินธุ์ การุณจิตต์

ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2538

วิธีศึกษา : สำรวจ

องค์กรร่วม / แหล่งทุน : กรมศิลปากร

ผลการศึกษา :

วันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ.2538 สุนิสา มั่นคง, ประคอง รักอู่ และอรพินธุ์ การุณจิตต์ สำรวจแหล่งโบราณคดีในจังหวัดราชบุรี รวมทั้งแหล่งโบราณคดีเทือกเขางู ทั้งถ้ำฤๅษี ถ้ำจีน ถ้ำจาม และถ้ำฝาโถ เพื่อจัดทำทะเบียนโบราณสถานในเขตหน่วยศิลปากรที่ 2

ประเภทของแหล่งโบราณคดี

ศาสนสถาน

สาระสำคัญทางโบราณคดี

ตามข้อมูลของกรมศิลปากรระบุว่า วิหารประดิษฐานรอยพระพุทธบาททำด้วยศิลาแลง ตั้งอยู่บนยอดเขางู สูงประมาณ 128 เมตร ลักษณะเป็นซากอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ก่ออิฐถือปูน

ปัจจุบันมีการก่อสร้างศาลาโล่งหลังคาเครื่องไม้มุงกระเบื้องขึ้นคร่อมทับ ศาลาหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ภายในประดิษฐานพระพุทธบาทจำลองจำนวน 1 องค์ ด้านหลังรอยพระพุทธบาทมีฐานชุกชีประดิษฐานพระพุทธรูป เป็พระพุทธรูปหินทรายประทับนั่ง แสดงปางประทานอภัยและปางมารวิชัยจำนวน 5 องค์ และชิ้นส่วนของพระพุทธรูปหินทรายแดงอีกจำนวนหนึ่ง สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ 21-22) ส่วนรอยพระพุทธบาทสร้างขึ้นเมื่อใดไม่ปรากฏ ปัจจุบันมีการติดตั้งลูกกรงล้อมรอบฐานชุกชี

บริเวณยอดเขาส่วนที่ประดิษฐานพระพุทธบาทนี้ มีชิ้นส่วนของอิฐเก่ากระจายอยู่โดยรอบ

ผู้เรียบเรียงข้อมูล-ผู้ดูแลฐานข้อมูล

ทนงศักดิ์ เลิศพิพัฒน์วรกุล

บรรณานุกรม

กรมทรัพยากรธรณี. การจำแนกเขตเพื่อการจัดการด้านธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดราชบุรี. กรุงเทพฯ: บริษัท แอดวานซ์ วิชั่น เซอร์วิส จำกัด, 2551.

กรมศิลปากร. ราชบุรี. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, 2534.

สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ 1 ราชบุรี กรมศิลปากร. คูบัว: ความสัมพันธ์กับชุมชนทวารวดีในบริเวณใกล้เคียง.กรุงเทพฯ: บริษัท สำนักพิมพ์สมาพันธ์ จำกัด, 2541.

กองโบราณคดี กรมศิลปากร. ทะเบียนโบราณสถานในเขตหน่วยศิลปากรที่ 2. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, 2538.

เกสรา จาติกวนิช. “พุทธประวัติในประติมากรรมทวารวดี.” วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2545.

ชะเอม แก้วคล้าย. “จารึกถ้ำฤาษีเขางูเมืองราชบุรี.” ใน จารึกในประเทศไทย เล่ม 1: อักษรปัลลวะ หลังปัลลวะ พุทธศตวรรษที่ 12-14, 68-71. กรุงเทพฯ: หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2529.

เชษฐ์ ติงสัญชลี. “ศิลปะทวารวดี.” ใน ความก้าวหน้าในการศึกษาโบราณคดีและเมืองโบราณในวัฒนธรรมทวารวดี, 39-43. สุพรรณบุรี : สำนักงานศิลปากรที่ 2 สุพรรณบุรี กรมศิลปากร, 2546.

เด่นโชค มั่นใจ. สภาพทางธรณีวิทยาและการสำรวจความมั่นคงของหน้าผาหินบริเวณเขางู ตำบลเขางู อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี. สำนักธรณีวิทยา กรมทรัพยากรธรณี, 2550.

พิริยะ ไกรฤกษ์. ทวารวดีและศรีวิชัยในทัศนะของนักประวัติศาสตร์ศิลปะ. กรุงเทพฯ: ม.ป.พ., 25--?.

พิริยะ ไกรฤกษ์. รากเหง้าแห่งศิลปะไทย. กรุงเทพฯ: ริเวอร์บุ๊คส์, 2553.

พิริยะ ไกรฤกษ์. อารยธรรมไทย: พื้นฐานทางประวัติศาสตร์ศิลปะ เล่ม 1 ศิลปะก่อนพุทธศตวรรษที่ 19. กรุงเทพฯ: บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), 2544.

ผาสุข อินทราวุธ. ทวารวดี: การศึกษาเชิงวิเคราะห์จากหลักฐานทางโบราณคดี. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อักษรสมัย, 2542.

ยอร์ช เซเดส์. “หลักที่ 22 จารึกถ้ำฤาษีเขางูเมืองราชบุรี.” ใน ประชุมศิลาจารึกสยาม ภาคที่ 2: จารึกกรุงทวารวดี เมืองละโว้ และประเทศราชขึ้นแก่กรุงศรีวิชัย, 35. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์พิพรรฒนากร, 2472.

ยอร์ช เซเดส์. “จารึกที่ 22 จารึกในถ้ำฤษี เขางู.” ใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 2: จารึกทวารวดี ศรีวิชัย ละโว้ = Recueil des inscriptions du Siam deuxieme partie: inscriptions de Dvaravati, de Crivijaya et de Lavo, 20. กรุงเทพฯ:กรมศิลปากร, 2504.

ศักดิ์ชัย สายสิงห์. “การแบ่งยุคสมัยของงานประติมากรรมสมัยทวารวดี.” ใน ความก้าวหน้าในการศึกษาโบราณคดีและเมืองโบราณในวัฒนธรรมทวารวดี, 35-38. สุพรรณบุรี: สำนักงานศิลปากรที่ 2 สุพรรณบุรี กรมศิลปากร, 2546.

ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศิลปะทวารวดี: วัฒนธรรมพุทธศาสนายุคแรกเริ่มในดินแดนไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เมืองโบราณ, 2547.

สุภัทรดิศ ดิศกุล. “วิวัฒนาการของประติมากรรมสมัยทวารวดี.” วารสารโบราณคดี 5, 2 (ตุลาคม 2516): 195-207.

de Lajonquière, E.L. “Le domaine archaéologique de l'Indochine.” Bulletin de la archaéologiue de l'Indochine (1909),188-262.

de Lajonquière, M.L. “Essai d'inventaire archaéologique du Siam.” Bulletin de la archaeologiue de l'Indochine (1911-1912), 19-181.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ภาพเกี่ยวกับแหล่งโบราณคดี