โพสต์เมื่อ 11 พ.ค. 2022
ชื่ออื่น : วิหารมุข, พระวิหารมุข, วัดราชบพิธ, วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม, วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร
ที่ตั้ง : เลขที่ 2 ถนนเฟื่องนคร
ตำบล : วัดราชบพิธ
อำเภอ : เขตพระนคร
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร
พิกัด DD : 13.749132 N, 100.497508 E
เขตลุ่มน้ำหลัก : เจ้าพระยา
วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ตั้งอยู่ในแขวงวัดราชบพิธ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ในเขตเกาะรัตนโกสินทร์ ด้านเหนือจรดถนนราชบพิธ ด้านตะวันออกจรดถนนเฟื่องนคร ด้านตะวันตกจรดถนนอัษฎางค์ ริมคลองคูเมืองเดิม ฝั่งตรงข้ามคลองเป็นสวนสราญรมย์และวัดราชประดิษฐ์ฯ ด้านใต้จรดคลองหลอดวัดราชบพิธ ติดกับกรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย
วัดเปิดให้เข้าชมทุกวัน โดยไม่เสียค่าเข้าชม
วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร
ประกาศการกำหนดบัญชีโบราณวัตถุสถาน (โบราณวัตถุสถานในวัดราชบพิธ) ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 66 ตอนที่ 64 หน้า 5272 วันที่ 22 พฤศจิกายน 2492
พระวิหารทิศของวัดราชบพิธมี 2 หลัง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกและทิศตะวันตกของพระเจดีย์ ในเขตพุทธาวาส ประจันหน้าเข้ากับบันไดทางขึ้นฐานไพทีด้านทิศตะวันออกและตะวันตก
วัดราชบพิธฯ เป็นวัดหลวงในพระพุทธศาสนา ธรรมยุติกนิกาย ที่ยังคงมีการใช้งานอยู่ในปัจจุบัน ปัจจุบันตั้งอยู่ในแขวงวัดราชบพิธ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ภายในเกาะรัตนโกสินทร์ ด้านเหนือจรดถนนราชบพิธ กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ด้านตะวันออกจรดถนนเฟื่องนคร ด้านตะวันตกจรดถนนอัษฎางค์ ริมคูเมืองเดิม ด้านใต้จรดคลองหลอดวัดราชบพิธ
แม่น้ำเจ้าพระยา, คลองคูเมืองเดิม, คลองหลอดวัดราชบพิธ
สภาพพื้นที่เป็นที่ราบลุ่มจากการทับถมของตะกอนน้ำพาในสมัยโฮโลซีน
พระวิหารทิศมี 2 หลัง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกและทิศตะวันตกของพระเจดีย์ ประจันหน้าเข้ากับบันไดทางขึ้นฐานไพทีด้านทิศตะวันออกและตะวันตก พระวิหารทิศนี้อาจนับเป็นทางเข้าขนาดใหญ่เพื่อเข้าสู่บริเวณภายในพระระเบียงรอบพระเจดีย์
พระวิหารทิศทั้งสองมีรูปแบบอาคารเหมือนกัน เป็นอาคารแบบแบบไทยประเพณี มีมุขลดใต้ขื่อหน้าอาคาร ขนาดกว้าง 8.25 เมตร ยาว 10 เมตร (ไม่รวมพาไลและมุข) สูงจดขื่อ 9.5 เมตร แบ่งเป็น 5 ห้อง หลังคาทำลดหน้าลดหลัง ตับหลังคาซ้อนกัน ๓ ชั้น ปลายตับหลังคาผืนกลางอยู่ที่แนวเสาพาไล ตับล่างเป็นตับสั้น ๆ มีคันทวยติดกับเสาพาไล ฐานพาไลทิศเหนือต่อเนื่องกับพระอุโบสถ ส่วนทิศใต้ต่อเนื่องกับพระวิหาร ด้านหน้าหลังคามุขเป็นตับซ้อนกัน ๒ ชั้น ส่วนล่างของหน้าบันทำสาหร่ายรวงผึ้งปลายเป็นรูปเทพพนม บริเวณหน้าบันมุขชั้นบนเป็นรูปนารายณ์ทรงครุฑ หน้าบันมุขชั้นล่างเป็นรูปช้างสามเศียรเทิดบุษบก ส่วนซุ้มประตูทางเข้าเป็นส่วนมณฑปครึ่งซีก แต่บานประตูเป็นภาพเขียนสีรูปเซี่ยวกาง พระระเบียงคด มีผนังประดับกระเบื้องเคลือบลายเบญจรงค์เชื่อมพระอุโบสถกับวิหารทิศ และพระวิหารล้อมองค์พระเจดีย์ใหญ่ ด้านนอกมีทางเดินปูด้วยหินอ่อน และมีเสาหินกลมรับเชิงชาย ส่วนด้านในเป็นพื้นสองชั้น มีเสาก่ออิฐถือปูนย่อเหลี่ยมรับเครื่องบนและเชิงชาย (กรมศิลปากร 2531(ก) : 46 ; สุดจิต สนั่นไหว 2541 : 147)
กรมศิลปากร. ประวัติวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม พร้อมด้วยแผนผัง ภาพปูชนียวัตถุสถาน และภาวรวัตถุ. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2513.
กรมศิลปากร. ประวัติวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2531(ก).
กรมศิลปากร. ศิลปกรรมวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม. กรุงเทพฯ : คณะกรรมการจัดงานฉลองครบรอบ 90 พรรษา สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก, 2531(ข).
กรมศิลปากร. สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ. จดหมายเหตุงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในโอกาสที่วันพระบรมราชสมภพครบ 150 ปี. กรุงเทพฯ : สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2553.
ชัชพล ไชยพร (บรรณาธิการ). ประมวลเอกสารจดหมายเหตุรัชกาลที่ 5 เรื่องวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม. กรุงเทพฯ : วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามและสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ, 2553.
ตำนานมหาดเล็ก (คัดจากต้นฉบับเดิม โดย นายวรการบัญชา). หนังสือที่ระลึกเนื่องในงานราชวัลลภฯ ครอบรอบหนึ่งร้อยสามสิบหกปี กรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ 11 พฤศจิกายน 2547 กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์. กรุงเทพฯ : กรีนแมคพาย, 2547.
ธำรงศักดิ์ อายุวัฒนะ. ราชสกุลจักรีวงศ์ และราชสกุลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, 2544.
พรชนก ตันรัตนพงศ์. “ศึกษารูปแบบงานศิลปกรรมวัดราชบพิธ สถิตมหาสีมาราม ที่ได้รับอิทธิพลตะวันตก.” สารนิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต (ประวัติศาสตร์ศิลปะ) คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2556.
พระธรรมจินดาภรณ์. ปาฐกถาเรื่องพระจอมเกล้าฯ เกี่ยวข้องกับพุทธศิลปะอย่างไร. ม.ป.ท., 2512.
พระพรหมมุนี (สุชิน อคฺคชิโน) และคณะ. วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม พระอารามประจำรัชกาลที่ 5. กรุงเทพฯ : บริษัท แปลนพริ้นติ้ง จำกัด, 2555.
ยุทธนาวรากร แสงอร่าม. “การประดับตกแต่งส่วนสถาปัตยกรรมในพระพุทธศาสนาด้วยลายเครื่องราช อิสริยาภรณ์ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว.” สารนิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต (ประวัติศาสตร์ศิลปะ) คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2545.
“เรื่องปฏิสังขรณ์วัดราชประดิษฐ์และวัดราชบพิธ” เอกสารกรมราชเลขาธิการ รัชกาลที่ 7 กระทรวงศึกษาธิการ, ร.7 ศ.9.1/1, กองจดหมายเหตุแห่งชาติ, กรมศิลปากร.
วิทวัส เกตุใหม่. “การศึกษารูปแบบในการสร้างสุสานหลวง วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม.” สารนิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต (โบราณคดี) คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2553.
ศุภชัย เสริมสุขเจริญชัย. “งานตกแต่งภายในพระอุโบสถวัดราชบพิธ สถิตมหาสีมาราม : การปรับเปลี่ยนสู่ศิลปะตะวันตกในสมัยรัชกาลที่ 5.” วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ประวัติศาสตร์ศิลปะ) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2555.
สมคิด จิระทัศนกุล. พระอุโบสถและพระวิหารในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, 2547.
สมคิด จิระทัศนกุล. “พระอุโบสถและพระวิหารในสมัยพระบาทสมเด๋จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว.” วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2533.
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ. สาส์นสมเด็จ. พระนคร : คุรุสภา, 2505.
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ. สาส์นสมเด็จ เล่ม 2. พระนคร : องค์การค้าคุรุสภา, 2425.
สมศิริ อรุโณทัย. งานวิจัยเรื่องการศึกษาวิเคราะห์กระเบื้องเคลือบเขียนสีที่ตกแต่งสถาปัตยกรรม วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม. กรุงเทพฯ : คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สถาบันราชภัฏเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์, 2546.
สุดจิด สนั่นไหว. การศึกษาเรื่องการออกแบบสถาปัตยกรรมวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม. กรุงเทพฯ : คณะกรรมการจัดงานฉลองครบรอบ 100 ปี วันประสูติสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (วาสมหาเถระ), 2541.
สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์. ราชสกุลวงศ์. กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, 2554.
วิวัฒน์ เตมียพันธ์. “วัดราชบพิธ” ใน อาษา. 3, 3 (2517).