โพสต์เมื่อ 13 ก.ค. 2020
ที่ตั้ง : ม.4 บ้านพุน้อย ต.สามร้อยยอด อ.สามร้อยยอด
ตำบล : สามร้อยยอด
อำเภอ : สามร้อยยอด
จังหวัด : ประจวบคีรีขันธ์
พิกัด DD : 12.231903 N, 99.963558 E
เขตลุ่มน้ำหลัก : อ่าวไทย
แหล่งโบราณคดีปัจจุบันเป็นที่ตั้งของถังประปาหมู่บ้าน โดยอยู่ห่างจากด้านหลังโรงเรียนของโรงเรียนบ้านพุน้อยและวัดพุน้อย ไปทางทิศตะวันตกหรือไปทางเขาสามร้อยยอด ประมาณ 350 เมตร (สามารถเข้าได้ทางซอบไม่มีชื่อ ตรงข้ามกับสนามฟุตบอลของโรงเรียนบ้านพุน้อย)
สภาพพื้นที่โดยทั่วไปของบ้านพุน้อยเป็นที่ราบเชิงเขาด้านทิศตะวันออกของเขาสามร้อยยอด ทะเลอ่าวไทยอยู่ห่างออกไปทางทิศตะวันออกของแหล่งโบราณคดีประมาณ 2.6 กิโลเมตร สภาพพื้นที่จึงมีความลาดเอียงจากทิศตะวันตกที่เป็นเขาสามร้อยยอด ไปสู่ทิศตะวันออกที่เป็นทะเลอ่าวไทย
พื้นที่แหล่งโบราณคดีปัจจุบันเป็นที่ตั้งของถังน้ำประปาขนาดใหญ่ของหมู่บ้าน ไม่พบโบราณวัตถุบนผิวดิน
อ่าวไทย
พื้นที่เกิดจากการทับถมของตะกอนชายฝั่งทะเลหรือตะกอนสันทรายเก่า ส่วนด้านทิศตะวันตกของแหล่งโบราณคดีเป็นเขาสามร้อยยอดซึ่งเป็นภูเขาหินปูนยุคเพอร์เมียน อายุ 245-286 ล้านปีมาแล้ว (กรมทรัพยากรธรณี 2551)
ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2538
วิธีศึกษา : สำรวจ
ผลการศึกษา :
พ.ศ.2538 ชาวบ้านได้ร่วมกันก่อสร้างถังน้ำประปาหมู่บ้าน บริเวณด้านหลังวัดพุน้อย ห่างออกไปทางด้านทิศตะวันตกราว 200 เมตร เมื่อขุดหลุมลึกลงไปประมาณ 2 เมตร พบหลักฐานทางด้านโบราณคดีจำนวนมากข้อมูลจากกรมศิลปากรระบุว่า เมื่อประมาณ พ.ศ.2538 ชาวบ้านได้ร่วมกันก่อสร้างถังน้ำประปาหมู่บ้าน บริเวณด้านหลังวัดพุน้อย ห่างออกไปทางด้านทิศตะวันตกราว 200 เมตร เมื่อขุดหลุมลึกลงไปประมาณ 2 เมตร พบหลักฐานทางด้านโบราณคดีจำนวนมาก เช่น ชิ้นส่วนโครงกระดูกมนุษย์ ขวานสำริดแบบมีบ้อง และชิ้นส่วนภาชนะดินเผาเนื้อหยาบ ซึ่งโบราณวัตถุบางส่วนได้นำมาเก็บรักษาไว้ที่วัดบ้านพุน้อย จากหลักฐานทางด้านโบราณคดีสามารถสันนิษฐานได้ว่าแหล่งโบราณคดีบ้านพุน้อยน่าจะเป็นแหล่งฝังศพสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ในสังคมกสิกรรมที่มีการใช้เครื่องมือโลหะ (อายุประมาณ 2,000–1,800 ปีมาแล้ว) ที่มีประเพณีการฝังศพโดยการใส่สิ่งของเครื่องใช้ลงไปในหลุมศพ นอกจากนี้ยังพบว่ามีการเข้ามาใช้พื้นที่บ้านพุน้อยตั้งถิ่นฐานอยู่อาศัยอีกครั้งในสมัยกรุงศรีอยุธยา (ราวพุทธศตวรรษที่ 21–22) เนื่องจากพบชิ้นส่วนภาชนะดินเผาเนื้อหยาบผิวเรียบ และแบบที่มีการตกแต่งผิวด้วยลายเชือกทาบ นอกจากนี้ยังพบชิ้นส่วนภาชนะเครื่องเคลือบแบบจีนหรือเครื่องลายคราม จากรูปแบบของภาชนะที่พบ ผู้สำรวจคือนักโบราณคดีของกรมศิลปากรวิเคราะห์ว่ามีอายุอยู่รงกับสมัยอยุธยา ส่วนโบราณวัตถุที่เก็บรักษาไว้ที่วัดพุน้อย ประกอบด้วย ขวานสำริดแบบมีบ้อง (กรมศิลปากร 2559) แต่จากการสำรวจของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) ในเดือนกันยายน 2559 ไม่พบโบราณวัตถุบนผิวดิน
กรมทรัพยากรธรณี. ก่ารจำแนกเขตเพื่อการจัดการด้านธรณีวิทยา และทรัพยากรธรณี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. กรุงเทพฯ : กรมทรัพยากรธรณี, 2551.
กรมศิลปากร. ระบบฐานข้อมูลแหล่งมรดกศิลปวัฒนธรรมและระบบภูมิสารสนเทศ โครงการสำรวจแหล่งมรดกทางศิลปวัฒนธรรม. (ออนไลน์) เข้าถึงเมื่อ 28 กันยายน 2559. แหล่งที่มา http://www.gis.finearts.go.th/gisweb/viewer.aspx