บ้านออกเหมือง


โพสต์เมื่อ 19 ก.ย. 2021

ที่ตั้ง : บ้านออกเหมือง ม.7

ตำบล : ปรางหมู่

อำเภอ : เมือง

จังหวัด : พัทลุง

พิกัด DD : 7.649695 N, 100.044583 E

เขตลุ่มน้ำหลัก : ทะเลสาบสงขลา, อ่าวไทย

เขตลุ่มน้ำรอง : คลองทุ่งหัวใหญ่

เส้นทางเข้าสู่แหล่ง

เดินทางจากตัวจังหวัดพัทลุงขึ้นไปทางทิศเหนือตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4048 (ถนนไชยบุรี ซึ่งเดิมคือถนนสายพัทลุง ควนขนุน) ตรงไปประมาณ 6.1 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวขวาเข้าสู่ถนนซอยข้างวัดปรางหมู่นอก ตรงไปตามถนนคอนกรีตในหมู่บ้านสายบ้านปรางหมู่-ป่ายาง ม.7 ประมาณ 600 เมตร ก็จะถึงตัวแหล่งซึ่งตั้งอยู่ทางซ้ายมือโดยต้องเดินเท้าเข้าไปประมาณ 50 เมตร

ประโยชน์ทางการท่องเที่ยว

ไม่เป็นแหล่งท่องเที่ยว

หน่วยงานที่ดูแลรักษา

เป็นที่ดินของนางดำ สุดขาว

การขึ้นทะเบียน

ไม่ขึ้นทะเบียน

ภูมิประเทศ

ที่ราบ

สภาพทั่วไป

แหล่งโบราณคดีตั้งในบริเวณโรงเลี้ยงวัว ซึ่งอยู่ในที่ดินของนางดำ สุดขาว อยู่บ้านเลขที่ 77 บ้านออกเหมือง หมู่ 7 ต.ปรางหมู่ อ.เมืองพัทลุง โดยในอดีตได้พบโบราณวัตถุประเภทเครื่องมือขวานหินขัดจำนวนหลายชิ้น

ความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง

16 เมตร

ทางน้ำ

อ่าวไทย, ทะเลสาบสงขลา, คลองทุ่งหัวใหญ่

สภาพธรณีวิทยา

พื้นที่ก่อตัวขึ้นจากตะกอนน้ำพาสะสมตัวในสมัยโฮโลซีน ตะกอนมีทั้งกรวด ทราย ทรายแป้ง และดินเหนียว 

ยุคทางโบราณคดี

ยุคก่อนประวัติศาสตร์

สมัย/วัฒนธรรม

สมัยหินใหม่

ประวัติการศึกษา

ชื่อผู้ศึกษา : สำนักศิลปากรที่ 14 นครศรีธรรมราช

ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2555

วิธีศึกษา : สำรวจ

องค์กรร่วม / แหล่งทุน : กรมศิลปากร

ผลการศึกษา :

วันที่ 21 สิงหาคม 2555 กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ 14 นครศรีธรรมราช ดำเนินการสำรวจ

ประเภทของแหล่งโบราณคดี

แหล่งอยู่อาศัย

สาระสำคัญทางโบราณคดี

จากการสำรวจของสำนักศิลปากรที่ 14 นครศรีธรรมราช เมื่อปี 2555 และได้สัมภาษณ์นายวิจิตร สุดขาว อายุ 50 ปี อยู่บ้านเลขที่ 77/1 บ้านออกเหมือง หมู่ 7 ต.ปรางหมู่ อ.เมืองพัทลุง นายวิจิตรกล่าวว่า ในอดีตเมื่อประมาณ 30 ปีก่อน ตนเองและพี่ชายเป็นผู้ขุดสระน้ำในบริเวณที่ดินของนางดำ ผู้เป็นมารดา (ปัจจุบันถูกถมปรับพื้นที่เป็นโรงเลี้ยงวัว) ทำให้พบขวานหินขัดจำนวน 8 ชิ้น หลังจากนั้นได้ถวายให้แก่พระครูจิรธรรมคุณ เจ้าอาวาสวัดปรางหมู่ใน ต่อมาทางวัดได้มอบโบราณวัตถุดังกล่าวให่กับโรงเรียนวัดปรางหมู่ (ศรีวิทย์ศึกษา) เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา แต่ปัจจุบันไม่ทราบว่าขวานหินขัดถูกเก็บรักษาไว้ที่ใดบ้าง)

สิ่งสำคัญ ได้แก่ ขวานหินขัด จำนวน 8 ชิ้น (เก็บรักษาอยู่ที่โรงเรียนวัดปรางหมู่ จำนวน 1 ชิ้น ส่วนที่เหลือไม่ทราบว่าเก็บรักษาอยู่ที่ใด)

ผู้เรียบเรียงข้อมูล-ผู้ดูแลฐานข้อมูล

สารัท ชลอสันติสกุล, ชาคริต สิทธิฤทธิ์, ทนงศักดิ์ เลิศพิพัฒน์วรกุล

บรรณานุกรม

สารัท ชลอสันติสกุล และชาคริต สิทธิฤทธิ์. รายงานการสำรวจแหล่งโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์พัทลุง. นครศรีธรรมราช : สำนักศิลปากรที่ 14 นครศรีธรรมราช กรมศิลปากร, 2557.

กรมทรัพยากรธรณี. การจำแนกเขตเพื่อการจัดการด้านธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณีจังหวัดพัทลุง. กรุงเทพฯ : กรมทรัพยากรธรณี, 2550.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ภาพเกี่ยวกับแหล่งโบราณคดี