โพสต์เมื่อ 1 พ.ค. 2021
ที่ตั้ง : เลขที่ 70 ถ.มหาไชย
ตำบล : สำราญราษฎร์
อำเภอ : เขตพระนคร
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร
พิกัด DD : 13.753744 N, 100.504281 E
เขตลุ่มน้ำหลัก : เจ้าพระยา
จากพระบรมมหาราชวัง ใช้ถนนราชดำเนินใน ผ่านท้องสนามหลวง มุ่งหน้าสะพานผ่านพิภพลีลา จากสะพานผ่านพิภพลีลา ใช้ถนนราชดำเนินกลาง ประมาณ 1.1 กิโลเมตร (ผ่านอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย) ถึงสี่แยกป้อมมหากาฬ เลี้ยวขวาสู่ถนนมหาไชย (ผ่านลานพลับพลามหาเจษฎาบดินทร์ ที่อยู่ทางขวามือ และวัดราชนัดดารามวรวิหาร ที่อยู่ทางขวามือ จนข้ามคลองหลอดวัดเทพธิดา) ประมาณ 220 เมตร จะพบวัดเทพธิดารามวรวิหารอยู่ทางขวามือ
ปัจจุบันศาลาการเปรียญไม่ได้เปิดให้เข้าชม แต่จะเปิดใช้งานในโครงการปฏิบัตธรรมของทางวัดดังต่อไปนี้
- โครงการอยู่กลดหมดทุกข์ ทุกเสาร์แรกของเดือน
- สวดมนต์ ปฏิบัติธรรม ทุกเย็นวันอาทิตย์เริ่ม 17.00 น.ยกเว้นวันอาทิตย์แรกของเดือน
ติดต่อทางวัดได้ที่เบอร์โทร 02-621-1178, เว็บไซต์ http://www.watthepthidaramqr.com/,Facebook https://www.facebook.com/pages/วัดเทพธิดาราม/724744394217927
วัดเทพธิดารามวรวิหาร
ประกาศขึ้นทะเบียนในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 94 ตอนที่ 123 วันที่ 13 ธันวาคม 2520 หน้า 5035
วัดเทพธิดารามเป็นวัดสำคัญแห่งหนึ่งในเกาะรัตนโกสินทร์ ปัจจุบันสิ่งก่อสร้างต่างๆ ภายในวัดราชนัดดารามวรวิหาร ทั้งในเขตพุทธาวาสและสังฆาวาส มีสภาพแข็งแรงสมบูรณ์ดี รวมถึงพระวิหาร เนื่องจากมีการบูรณปฏิสังขรณ์อยู่สม่ำเสมอจนกระทั่งปัจจุบัน
วัดเทพธิดาราม มีอาณาเขต ทิศเหนือ จรด คลองหลอดวัดเทพธิดาราม, ทิศใต้ จรด ซอยสำราญราษฎร์, ทิศตะวันออก จรด ถนนมหาไชย, ทิศตะวันตก จรด ชุมชนหลังวัดเทพธิดา
แม่น้ำเจ้าพระยา, คลองรอบกรุง, คลองหลอดวัดราชนัดดา
ตะกอบน้ำพาทับถมสมัยโฮโลซีน
ชื่อผู้ศึกษา : พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นสมมตอมรพันธ์
ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2451
วิธีศึกษา : บูรณปฏิสังขรณ์
ผลการศึกษา :
ซ่อมหลังคาพระอุโบสถ พระวิหาร และการเปรียญ รื้อที่จงกรมที่ต่อกับพระวิหารน้อยออกปีที่ศึกษา : พ.ศ.2489, พ.ศ.2508
วิธีศึกษา : บูรณปฏิสังขรณ์
ผลการศึกษา :
ซ่อมการเปรียญ สร้างถนนยาว 120 เมตรชื่อผู้ศึกษา : สำนักโบราณคดี กรมศิลปากร
ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2550
วิธีศึกษา : บูรณปฏิสังขรณ์
ผลการศึกษา :
โครงการบูรณะวัดเทพธิดารามวรวิหาร ของสำนักโบราณคดี กรมศิลปากร 1 ตุลาคม 2549-30 กันยายน 2550ชื่อผู้ศึกษา : สำนักโบราณคดี กรมศิลปากร
ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2553
วิธีศึกษา : บูรณปฏิสังขรณ์
ผลการศึกษา :
โครงการบูรณะวัดเทพธิดารามวรวิหาร ของสำนักโบราณคดี กรมศิลปากร 1 ตุลาคม 2552-30 กันยายน 2553ชื่อผู้ศึกษา : สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2556
วิธีศึกษา : บูรณปฏิสังขรณ์
ผลการศึกษา :
บูรณะการเปรียญ โดยสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์การเปรียญ ของวัดเทพธิดารามวรวิหาร ตั้งอยู่ด้านทิศเหนือของพระอุโบสถ เป็นอาคารยกพื้นก่ออิฐถือปูน ขนาดกว้าง 14.75 เมตร ยาว 22.60 เมตร สูง 15 เมตร อาคารหันหน้าไปในทิศทางเดียวกันกับพระอุโบสถและพระวิหาร คือทิศตะวันออก ใช้เป็นสถานที่ประกอบกิจกรรมระหว่างฆราวาสกับทางวัด
หลังคาการเปรียญมี 2 ชั้น 3 ตับ ตับล่างเป็นปีกนกรอบ มุงกระเบื้องเกล็ด ไม่มีช่อฟ้าใบระกา หน้าบัน มีลวดลายเกลียวใบเทศพวงอุบะ รูปนกและดอกพุดตาน แล้วประดับด้วยกระเบื้องเคลือบสี ตัวอาคารการเปรียญมีระเบียงด้านหน้าและด้านหลัง รองรับด้วยเสาพาไล ส่วนฐานการเปรียญ มีลักษณะเป็นฐานยกพื้นชั้นเดียว เป็นฐานเขียงรองรับเส้นลวด เชื่อมต่อกับชุดฐานสิงห์ ซึ่งมีส่วนบนเป็นบัวหงายสลับเส้นลวดและหน้ากระดานบน มีบันไดทางขึ้นที่ด้านหน้า 1 บันได และด้านหลัง 2 บันได
ระเบียงและพนักระเบียงของการเปรียญ ก่อเป็นระเบียงมุขหน้า/หลัง ไม่มีระเบียงข้าง ก่อพนักระเบียงด้วยอิฐถือปูน ไม่สูงมากนัก ส่วนบนทำเป็นพนักระเบียงหนา ลักษณะเป็นผืนเรียบประกอบบัวคว่ำสองข้าง ท้องพนักระเบียงโล่งก่อลดหลบเข้าภายในซึ่งกรุด้วยกระเบื้องปรุเคลือบสีเขียวแบบจีน เพดานระเบียงเขียนดาวเพดาน
ซุ้มประตูหน้า 3 ซุ้ม ซุ้มประตูหลัง 2 ซุ้ม เป็นลายปูนปั้นปิดทองรูปดอกไม้ ยอดซุ้มปูนปั้น ลายประแจจีน บานประตูหน้าต่างเขียนลายรดน้ำเป็นลายเครือเถาลายดอกไม้ มีสัตว์นานาชนิด ด้านล่างเขียนเล่าเรื่องเทศกาลงานวัด การละเล่นต่างๆ รวมถึงกิจกรรมต่างๆที่เกี่ยวข้องกับพระและวัด เช่น งานสวดพระอภิธรรมศพ
ผนังการเปรียญก่อทึบทั้ง 4 ด้าน ลักษณะเป็นอาคารทรงโรง ภายในการเปรียญ ที่ผนังด้านหลังทำเป็นซุ้มประดิษฐานพระประธาน ลักษณะเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ไม่ทราบชื่อและประวัติแน่ชัด เพียงแต่ทราบว่าประดิษฐานอยู่ที่ซุ้มในศาลาการเปรียญมาแต่เดิม จากลักษณะเป็นพุทธศิลป์ช่วงต้นรัตนโกสินทร์ ตัวองค์พระทำด้วยทองเหลืองและปูน เบื้องหน้ายังมีพระพุทธรูปปางต่างๆ เช่น ปางห้ามสมุทร และปางมารวิชัย ประดิษฐานอยู่ ภายในอาคารก่อเสาร่วมลักษณะเช่นเดียวกับพระอุโบสถ แต่ไม่มีการเขียนลวดลายตกแต่ง
ภายในการเปรียญ ยังมีหมู่ตู้พระธรรม ที่รวบรวมมาจากภายในวัด เพื่อเก็บรักษาไว้รวมกัน โดยที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดมาจากสมัยรัตนโกสินธ์ตอนต้น จำนวนตู้พระธรรมจำนวนมากนี้แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของวัดเทพธิดารามในด้านการศึกษาของวัดเทพธิดารามนับแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
กรมการศาสนา. ประวัติวัดสำคัญทางพระพุทธศาสนา ตอน 3 กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา, 2526.
กรมแผนที่ทหาร. แผนที่กรุงเทพฯ พ.ศ.2431-2474. กรุงเทพฯ : กองบัญชาการทหารสูงสุด, 2542.
กรมศิลปากร. จดหมายเหตุการณ์อนุรักษ์กรุงรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2525.
กรมศิลปากร. ทะเบียนโบราณสถานทั่วราชอาณาจักร. กรุงเทพฯ : เอกสารวิชาการกองโบราณคดี หมายเลข 13/2532, 2537.
กรมศิลปากร. พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3. กรุงเทพฯ : บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), 2538.
กรมศิลปากร. ศิลปวัฒนธรรม เล่ม 4 วัดสำคัญ กรุงรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2525.
กรมศิลปากร. วัดสำคัญกรุงรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2525.
คณะกรรมการจัดงานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี. ศิลปวัฒนธรรม เล่ม 4 วัดสำคัญกรุงรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ : สหประชาพาณิชย์, 2525.
ณัฐวัตร จินรัตน์. “การออกแบบสถาปัตยกรรมตามแบบพระราชนิยมในรัชกาลที่ 3 (ศึกษาเฉพาะเขตพุทธาวาสของพระอารามหลวงที่สร้างขึ้นสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์)” วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม) ภาควิชาศิลปสถาปัตยกรรม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2546.
แน่งน้อย ศักดิ์ศรี และคณะ. องค์ประกอบทางกายภาพ กรุงรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2534.
บัณฑิต จุลาสัย, เทิดศักดิ์ เตชะกิจขจร และพีรศรี โพวาทอง. แผนที่กรุงเทพฯ พ.ศ.2450-2550. กรุงเทพฯ : สำนักผังเมือง กรุงเทพหานคร, 2550.
ปิยมาศ สุขพลับพลา. “การศึกษาเปรียบเทียบสถาปัตยกรรมพระอารามหลวงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว : กรณีศึกษาวัดเทพธิดารามวรวิหาร วัดราชนัดดารามวรวิหาร วัดเฉลิม พระเกียรติวรวิหาร” วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม) ภาควิชาศิลปสถาปัตยกรรม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิยาลัยศิลปากร, 2546.
วงศ์ฉัตร ฉัตรกุล ณ อยุธยา. “การศึกษาสถาปัตยกรรมในเขตพุทธาวาสวัดเทพธิดารามวรวิหาร” วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม) ภาควิชาศิลปสถาปัตยกรรม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิยาลัยศิลปากร, 2538.
ศักดิ์ชัย สายสิงห์. พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว กับพระราชศรัทธาปณิธานในการสถาปนาวัตถุสถานในพระพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2548.
สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์. การขุดตรวจสอบทางโบราณคดี บริเวณหอพระไตรปิฎก กุฏิคณะ 5 วัดเทพธิดารามวรวิหาร กรุงเทพมหานคร. ม.ป.ท., 2552.
สุนทรภู่. รำพันพิลาป. กรุงเทพฯ : วรรณศิลป์สโมสร, 2530.