ม.ธรรมศาสตร์ เป็นมหาวิทยาลัยแห่งที่สองของไทย ก่อตั้งปี 2477 เพื่อเป็นตลาดวิชาศึกษาด้านกฎหมายและการเมืองสำหรับประชาชนทั่วไป ภายในเนื้อที่ 50 ไร่ ของ ม.ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ แต่เดิมเคยเป็นเขตพระราชฐานของพระราชวังบวรสถานมงคล มาตั้งแต่ต้นกรุงรัตนโกสินทร์
ตั้งอยู่แขวงสำราญราษฎร์ เขตพระนคร กรุงเทพฯ เดิมชื่อ “วัดพระยาไกรสวนหลวง” เป็นพระอารามหลวงแรกที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ.2379 เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระราชทานพระเจ้าลูกเธอพระองค์เจ้าวิลาส ภายหลังทรงได้ดรับสถาปนาเป็น กรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ นับเป็นพระราชธิดาที่ได้รับพระราชอิสริยยศใหญ่ยิ่งเหนือกว่าพระราชธิดาทั้งปวง
พระอุโบสถวัดเทพธิดารามวรวิหาร แขวงสำราญราษฎร์ เขตพระนคร กรุงเทพฯ เป็นอาคารประธานของวัด สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ มีความโดดเด่นด้านสถาปัตยกรรมไทยผสมกับจีนตามแบบพระราชนิยมในรัชกาลที่ 3 ภายในประดิษฐาน “หลวงพ่อขาว” และ “พระพุทธเทววิลาส”
พระวิหารวัดเทพธิดารามวรวิหาร แขวงสำราญราษฎร์ เขตพระนคร กรุงเทพฯ มีความโดดเด่นด้านสถาปัตยกรรมไทยผสมกับจีนตามแบบพระราชนิยมในรัชกาลที่ 3 ภายในพระวิหารมีจิตรกรรมฝาผนังเขียนเป็นลายหงส์จีนบนพื้นสีแดง พระวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัย ที่เบื้องหน้าพระประธานประดิษฐานประติมากรรมรูปหมู่อริยสาวิกา 52 องค์
การเปรียญวัดเทพธิดาราม แขวงสำราญราษฎร์ กรุงเทพฯ เป็น 1 ใน 3 อาคารหลักของวัด นอกเหนือจากพระอุโบสถและพระวิหาร ภายในการเปรียญ ที่ผนังด้านหลังทำเป็นซุ้มประดิษฐานพระประธาน เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หมู่ตู้พระธรรมมีอายุเก่าแก่ที่สุดมาจากสมัยรัตนโกสินธ์ตอนต้น
พื้นที่กระทรวงพาณิชย์เดิม ปัจจุบันคือสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ มิวเซียมสยาม ตั้งอยู่ริมถนนสนามไชย บริเวณสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินสนามไชย เขตพระนคร กรุงเทพฯ เดิมเป็นที่ตั้งของสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ทั้งป้อมวไชยเชนทร์ในสมัยอยุธยา วังที่ประทับของเจ้านายสมัยรัชกาลที่ 3 ถึงรัชกาลที่ 5 และกระทรวงเศรษฐการหรือกระทรวงพาณิชย์ในปัจจุบัน หลักฐานทางโบราณคดีที่ขุดค้นพบ ล้วนแต่สื่อเรื่องราวและประวัติของสถานที่อย่างชัดเจน
วัพิชยญาติการาม หรือวัดพิชัยญาติ เดิมเป็นวัดร้าง ก่อนที่ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ (ทัต บุนนาค) จะสถาปนาวัดขึ้นใหม่ใน พ.ศ.2384 ทั้งวัด แล้วน้อมเกล้าฯ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว นับเป็นวัดสำคัญวัดหนึ่งของตระกูลบุนนาค
ตั้งอยู่ ต.นาโยงเหนือ อ.นาโยง จ.ตรัง วัดจอมไตรสร้างราวปี 2393 สิ่งสำคัญภายในวัดคืออุโบสถ ที่สร้างด้วยสถานปัตยกรรมพื้นถิ่นภาคใต้ และ "พระพุทธจอมไตร" ที่ประดิษฐานในอุโบสถ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่ทำพิธีหล่อด้วยโลหะองค์แรกของจังหวัดตรัง) สร้างเมื่อปี 2488
ตั้งอยู่ริมแม่น้ำท่าจีน บริเวณที่เป็นคุ้งน้ำกระเพาะหมู ใน ต.ท่าฉลอม อ.เมืองสมุทรสาคร ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ.2369 โบราณสถานสำคัญคือ อุโบสถไม้ ผนังอุโบสถมีลักษณะพิเศษคือ บริเวณระหว่างช่องหน้าต่างด้านนอกอาคาร ประดับด้วยพระพุทรูปปูนปั้น ปางมารวิชัย บนฐานบัวปูนปั้น ทาสีทองทั้งองค์
ตั้งอยู่บ้านทุ่งผักกูด ต.ห้วยด้วน อ.ดอนตูม จ.นครปฐม ตั้งวัดเมื่อสมัยรัชกาลที่ 3 หรือรัชกาลที่ 5 สอดคล้องกับประวัติการตั้งถิ่นฐานของชุมชนชาวลาวครั่ง (ลาวคั่ง) ในพื้นที่อำเภอดอนตูม โบราณสถานและสถานที่สำคัญของวัดได้แก่ อุโบสถ เจดีย์ 5 องค์ ศาลาการเปรียญไม้ และพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นชาติพันธุ์ลาวคั่ง วัดทุ่งผักกูด
ต.พร่อน อ.ตากใบ จ.นราธิวาส เป็นวัดโบราณที่อาจตั้งขึ้นมาตั้งแต่เมื่อต้นกรุงรัตนโกสินทร์ สิ่งสำคัญภายในวัดได้แก่ หอไตรกลางน้ำ ที่สะท้อนสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมของท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี
ต.ตะกั่วป่า อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยพระยาเสนานุชิต (นุช ณ นคร) เป็นเจ้าเมืองตะกั่วป่า ระหว่าง พ.ศ.2383 – 2424 โดยสร้างล้อมรอบจวนที่พัก เป็นลักษณะของกำแพงค่ายป้องกันศัตรู อาจสร้างขึ้นเพื่อป้องกันอันตรายจากลุ่มชาวจีนที่ก่อความวุ่นวายขึ้นในเมืองตะกั่วป่าบ่อยครั้ง