โพสต์เมื่อ 27 ก.พ. 2021
ชื่ออื่น : วังหน้า, พระราชวังบวรสถานมงคล
ที่ตั้ง : เลขที่ 2 ถ.พระจันทร์
ตำบล : พระบรมมหาราชวัง
อำเภอ : เขตพระนคร
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร
พิกัด DD : 13.758860 N, 100.490271 E
เขตลุ่มน้ำหลัก : เจ้าพระยา
รถเมล์: สาย 32, 53, 124, 203, 201, ปอ.32, ปอ.524
เรือข้ามฟาก: มายังท่าพระจันทร์ได้จาก ท่าวังหลัง (พรานนก), ท่าพระปิ่นเกล้า, ท่ารถไฟ
เรือด่วนเจ้าพระยา: ลงที่ ท่าวังหลัง (ท่าพรานนก) แล้วนั่งเรือข้ามฟากมายังท่าพระจันทร์
สามารถเข้าเยี่ยมชมสถานที่สำคัญภายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้ทุกวัน
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ฝั่งทิศตะวันออก ภายในเขตเกาะรัตนโกสินทร์ชั้นใน กรุงเทพมหานคร ปัจจุบันเป็นสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา มีการจัดแสดงจำลองหลักฐานทางโบราณคดีบริเวณอาคารอเนกประสงค์ 2 และหน้าคณะรัฐศาสตร์
แม่น้ำเจ้าพระยา
ตะกอนน้ำพาสมัยโฮโลซีน (Holocene)
ชื่อผู้ศึกษา : สุนิสา มั่นคง, กรมศิลปากร
ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2537, พ.ศ.2538, พ.ศ.2539, พ.ศ.2540, พ.ศ.2541
วิธีศึกษา : ขุดค้น
องค์กรร่วม / แหล่งทุน : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ผลการศึกษา :
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จะดำเนินการก่อสร้างอาคารใหม่ภายในวิทยาเขตท่าพระจันทร์ มหาวิทยาลัยจึงได้สนับสนุนให้มีงานโบราณคดีภายใต้ "โครงการก่อสร้างอาคารหอสมุด และโครงการก่อสร้างอาคารธรรมศาสตร์ 60 ปี" (บริเวณอาคารเอนกประสงค์และโรงอาหาร) ภายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เขตพระนคร เนื่องด้วยจากเอกสารประวัติศาสตร์พบว่าบริเวณพื้นที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เคยเป็นที่ตั้งของพระราชวังบวรสถานมงคล (พระราชวังหน้า) มาก่อน ผลการขุดค้นศึกษา พบหลักฐานทางโบราณคดีสมัยที่เป็นพระราชวังบวสถานมงคลจำนวนมากชื่อผู้ศึกษา : ภัทรวรรณ พงศ์ศิลป์, กรมศิลปากร
ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2563
วิธีศึกษา : ขุดกู้
ผลการศึกษา :
ม.ธรรมศาสตร์ ปรับปรุงสายไฟใต้ดินตามแนวถนนเดิมบริเวณหน้าตึกโดม หอสมุด คณะวารสารศาสตร์ และสถาบันภาษา โดยขุดตักดินเป็นแนวยาวประมาณ กว้างประมาณ 1.1 เมตร ยาว 42 เมตร พบร่องรอยโบราณสถาน โบราณวัตถุ ที่ฝังอยู่ใต้พื้นคอนกรีต พบหลักฐานทางโบราณคดีที่สำคัญ (ภัทรวรรณ พงศ์ศิลป์ 2563) ได้แก่ - แนวโบราณสถานหมาเลข 1 ที่เป็นฐานก่ออิฐก้อนเล็ก สอและฉาบปูน วางตัวขนานกับแนวถนนหน้าตึกโดม สันนิษฐานว่าเชื่อมต่อกับแนวกำแพงวังหน้าที่สร้างสมัยรัชกาลี่ 4 ซึ่งได้พบหลักฐานจากการขุดค้นทาง.โบราณคดี ในบริเวณที่ตั้งหอสมุด ม.ธรรมศาสตร์ เมื่อปี 2540 - แนวโบราณสถานหมาเลข 2-3 มีลักษณะเป็นฐานอาคารก่อด้วยอิฐขนาดใหญ่ สอปูน แต่ถูกรบกวนจากกิจกรรมของมนุษย์ปัจจุบัน ทำให้หลงเหลือหลักฐานที่ไม่ชัดเจนนัก จากการศึกษาของผู้ขุดค้นพบว่าพื้นที่บริเวณนี้เคยเป็นที่ตั้งตำหนักฝ่ายในของวังหน้า แนวโบราณสถานนี้อาจเป็นฐานอาคารของฝ่ายในวังหน้าประวัติมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (2564) ก่อตั้งเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2477 โดยมีชื่อเมื่อเริ่มก่อตั้งว่า "มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์ และการเมือง" (มธก.) มหาวิทยาลัยนี้ถือกำเนิดมาจากความคิดริเริ่มของ ศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์ (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในขณะนั้น)
โดยเล็งเห็นว่าการศึกษาในระดับอุดมศึกษา ขณะนั้นมีจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยเพียงแห่งเดียว เมื่อมีการ เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยใน พ.ศ.2475 ประเทศชาติ มีความจำเป็นต้องมีบุคคล ที่มีความรู้ ทางกฎหมาย การปกครอง และสังคม มารับใช้ประเทศชาติโดยด่วน จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัย วิชาธรรมศาสตร์ และการเมือง พ.ศ.2476 เพื่อเปิดสอนในวิชาแขนงดังกล่าว เมื่อพระราชบัญญัติผ่านสภาผู้แทนราษฎรแล้ว ได้มีพิธีเปิดมหาวิทยาลัยขึ้น เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2477 โดยผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เป็นผู้กระทำพิธีเปิด และศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์ ได้รับแต่งตั้งเป็นบุคคลสำคัญของมหาวิทยาลัยคนแรกของมหาวิทยาลัย (และเป็นบุคคลสำคัญของมหาวิทยาลัยคนเดียว เพราะต่อมาได้เปลี่ยนชื่อ ตำแหน่ง เป็นอธิการบดี
ปรัชญาของการตั้งมหาวิทยาลัย ปรากฏตามสุนทรพจน์ ของศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์ รายงานต่อผู้สำเร็จราชการ แทนพระองค์มีดังนี้
"...มหาวิทยาลัยย่อมอุปมา ประดุจบ่อน้ำ บำบัดความกระหายของราษฎร ผู้สมัครแสวงหาความรู้ อันเป็นสิทธิและโอกาส ที่เขาควรมีควรได้ ตามหลักเสรีภาพของการศึกษา..."
ด้วยเหตุนี้มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง จึงเป็นตลาดวิชา และเป็น มหาวิทยาลัยเปิดแห่งแรกของประเทศไทย โดยให้สิทธิแก่ผู้ที่เคยศึกษาในโรงเรียน
กฎหมายผู้สำเร็จประโยคมัธยมศึกษา และเปิดกว้างให้ถึงผู้ที่เป็น ข้าราชการ สมาชิกสภาผู้แทนฯ ผู้แทนตำบล ครู ทนายความ เข้าเรียน ได้ด้วย ปรากฏว่าในปีแรกมีผู้สมัครเข้าศึกษาถึง 7,094 คน
วิชาที่เปิดสอนมี 2 แขนงคือ หลักสูตรธรรมศาสตรบัณฑิต ซึ่งสอนวิชากฎหมายเป็นหลัก แต่ได้สอนวิชารัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ และการฑูตด้วย เมื่อจบปริญญาตรีธรรมศาสตรบัณฑิตก็อาจศึกษาต่อปริญญาโท แยกเป็นแขนงนิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ และการฑูตต่อไป วิชาอีกแขนงหนึ่งคือ วิชาการบัญชี โดยมี หลักสูตร 3 ปี สำหรับประกาศนียบัตร ทางการบัญชี (เทียบเท่าปริญญาตรี) และ 5 ปี สำหรับประกาศนียบัตร ชั้นสูงทางการบัญชี (เทียบเท่าปริญญาโท)
จากวิสัยทัศน์ของศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์ ทำให้ผู้ไม่มีโอกาสได้ศึกษาถึงขั้นมหาวิทยาลัยได้จบปริญญา และประกาศ นียบัตรไปรับใช้ประเทศชาติ ในทางการเมือง กระทรวงทบวงกรมต่าง ๆ วงการธุรกิจ และอาชีพอิสระเป็นอันมาก
สำหรับที่ตั้งมหาวิทยาลัย ครั้งแรกใช้ตึกโรงเรียนกฎหมายเดิมที่เชิงสะพานผ่านฟ้าภิภพลีลา ต่อมาเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2478 มหาวิทยาลัยขอซื้อที่ดินบริเวณ ท่าพระจันทร์ ซึ่งเดิมป็นที่ของทหาร และปรับปรุงอาคารเดิมพร้อมทั้งสร้างตึกโดม (อันหมายถึงปัญญา และความเฉียบแหลม) เงินที่ซื้อที่ดินรวมทั้ง การก่อสร้างได้มาจากเงินที่มหาวิทยาลัย เก็บจากค่าสมัคร และค่าเล่าเรียน (คนละ 20 บาท ต่อปี) นอกจากนี้ ในเวลาต่อมามหาวิทยาลัยยังได้ตั้งธนาคารเอเชียขึ้น เพื่อเป็นสถานที่ สำหรับนักศึกษาวิชาการบัญชี ใช้เป็นที่ฝึกงานด้วย
ในปี พ.ศ.2481 มหาวิทยาลัยตั้งโรงเรียนเตรียมปริญญามีหลักสูตร 2 ปี เพื่อรับผู้ประสงค์จะเข้าเรียนต่อ ที่มหาวิทยาลัย วิชาธรรมศาสตร์และการเมืองโดยตรง โรงเรียนเตรียมปริญญามีหลักสูตรการสอนหนักไปทางด้านภาษา ทั้งภาษาไทย ภาษาบาลี ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส และวิชาด้านสังคม เช่น ปรัชญา วิชาเทคโนโลยี ดนตรี พิมพ์ดีด และชวเลข เป็นต้น โรงเรียนเตรียม ปริญญามีทั้งหมดรวม 8 รุ่น จนถึงปี พ.ศ.2490 จึงถูกยกเลิกไป
เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2490 คณะรัฐประหาร ได้ยึดอำนาจการปกครองประเทศ ด้วยเหตุผลทางการเมือง และการ ปกครอง ของคณะรัฐประหาร ทำให้ มหาวิทยาลัยได้รับผลกระทบ และถูกเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม บุคคลสำคัญของมหาวิทยาลัย ปรีดี พนมยงค์ ต้องลี้ภัย การเมืองไปอยู่ต่างประเทศ ชื่อมหาวิทยาลัยถูกตัดคำว่า"การเมือง" ออก เปลี่ยนเป็น "มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์" ตำแหน่ง ผู้ประศาสน์ การถูกยกเลิก เปลี่ยนเป็นอธิการบดี หลักสูตรการศึกษาธรรมศาสตรบัณฑิตถูกเปลี่ยนแปลงเป็น นิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ พาณิชยศาสตร์และการบัญชี ความเป็นตลาดวิชาหมดไป ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ พ.ศ.2495
ในปี พ.ศ.2518 ศาสตราจารย์ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ เป็นอธิการบดี ท่านเห็นว่า ควรที่จะขยายการศึกษา ด้านวิทยาศาสตร์ในชั้น ปริญญาตรีเพิ่มขึ้น ทั้งนี้เพราะ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี มีส่วนสำคัญ ในการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาสังคมเช่นเดียวกับหลักสูตรทางสังคมศาสตร์ที่มียู่เดิม พื้นที่ธรรมศาสตร์ท่าพระจันทร์ มีเนื้อที่ประมาณ 50 ไร่ ไม่เพียงพอ ต่อการขยายตัว ทางวิชาการและการพัฒนา มหาวิทยาลัยจึงเจรจาขอใช้ที่ดินนิคมอุตสาหกรรม กระทรวง อุตสาหกรรม เนื้อที่ประมาณ 2,400 ไร่ ที่รังสิต เพื่อสนองรับการขยายตัว ของมหาวิทยาลัยต่อไป มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จึงขยายออกไปที่รังสิต เรียกว่า มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ซึ่งเจริญ ก้าวหน้าและพัฒนามาจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ ยังขยายไปที่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์พัทยาด้วย โดยอยู่บนพื้นฐานการปลูกฝังจิตวิญญาณความเป็นธรรมศาสตร์ ดั่งเช่น จิตวิญญาณธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
สถานที่สำคัญภายใน ม.ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เช่น ตึกโดม หอประชุมใหญ่ ลานปรีดี ลานโพธิ์ สนามฟุตบอล ซึ่งสถานที่เหล่านี้นอกจากจะมีความสำคัญต่อมหาวิทยาลัยแล้ว ยังมีความสำคัญกับประวัติศาสตร์การเมืองไทย
หลักฐานทางโบราณคดี
ภายในเนื้อที่ 50 ไร่ ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ในปัจจุบัน แต่เดิมเคยเป็นเขตพระราชฐานวังหน้าหรือพระราชวังบวรสถานมงคล มาตั้งแต่ต้นกรุงรัตนโกสินทร์
กำแพงพระราชวังบวรสถานมงคลเมื่อแรกสร้างใน พ.ศ.2325 คงเป็นแต่กำแพงปักเสาไม้ระเนียดในภายหลังจึงมาเปลี่ยนเป็นกำแพงก่ออิฐโบกปูนสำเร็จใน พ.ศ.2328 ตัวกำแพงแต่เดิมมีอาณาเขตโอบล้อมตั้งแต่ถนนพระจันทร์ผ่านกลางสนามหลวงขึ้นไปตามถนนราชดำเนินในวกกลับมาทางตะวันตกตามถนนราชินีถึงริมแม่น้ำเจ้าพระยาตรงท่าช้างวังหน้าซึ่งได้แก่บริเวณที่เป็นมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร สนามหลวงตอนเหนือ อนุสาวรีย์ทหารอาสาโรงละครแห่งชาติ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ เนื่องจากพระราชวังสร้างหันหน้าไปทางทิศตะวันออกตามแบบอย่างวังหน้าที่กรุงศรีอยุธยาด้านหลังพระราชวังจึงเป็นด้านที่ติดแม่น้ำเจ้าพระยากำแพงพระราชวังด้านนี้ใช้ร่วมกับกำแพงพระนครตามกำแพงพระราชวังมีป้อมโดยรอบ 10 ป้อม ป้อม 4 มุมวังทำเป็นป้อมรูปแปดเหลี่ยมหลังคากระโจมนอกนั้นทำเป็นหอรบมีประตูพระราชวัง 13 ประตูกำแพงและป้อมประตูพระราชวังบวรฯ ส่วนใหญ่ได้ถูกรื้อในสมัยรัชกาลที่ 5 หลังจากที่ยกเลิกตำแหน่งกรมพระราชวังบวรฯแล้วโดยสิ่งก่อสร้างในพื้นที่ของพระราชวังบวรฯบางส่วนได้ถูกรื้อลงเพื่อขยายเขตท้องสนามหลวงส่วนบริเวณที่เป็นมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในปัจจุบันเป็นที่ตั้งของกรมทหารจนในปี พ.ศ.2476 ได้มีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมืองขึ้นใน พ.ศ.2477 จึงมีการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินกรมทหารให้แก่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์พื้นที่ของพระราชวังบวรฯในส่วนนี้จึงเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มาจนถึงปัจจุบันกำแพงพระราชวังบวรฯส่วนที่เหลืออยู่ทางด้านทิศใต้จึงได้ใช้เป็นกำแพงส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัย
ภายในพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) ในอดีต แบ่งพื้นที่ออกเป็น เขตพระราชฐานชั้นนอก เขตพระราชฐานชั้นกลาง และเขตพระราชฐานชั้นใน โดยเขตพระราชฐานแต่ละชั้นมีอาณาเขตโดยสันนิษฐาน ได้แก่
- เขตพระราชฐานชั้นนอก ครอบคลุมพื้นที่ในปัจจุบันของสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ โรงละครแห่งชาติ สโมสรข้าราชการเทศบาลกรุงเทพมหานคร และถนนหน้าโรงละครแห่งชาติ
- เขตพระราชฐานชั้นกลาง ครอบคลุมพื้นที่ในปัจจุบันของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
- เขตพระราชฐานชั้นใน ครอบคลุมพื้นที่ในปัจจุบันของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
การขุดค้นทางโบราณคดีในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เกิดขึ้นจากทางมหาวิทยาลัยจะดำเนินการก่อสร้างอาคารใหม่ภายในวิทยาเขตท่าพระจันทร์ มหาวิทยาลัยจึงได้สนับสนุนให้มีงานโบราณคดีภายใต้โครงการก่อสร้างอาคารหอสมุด และโครงการก่อสร้างอาคารธรรมศาสตร์ 60 ปี (บริเวณอาคารเอนกประสงค์และโรงอาหาร) ภายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เขตพระนคร เนื่องด้วยจากเอกสารประวัติศาสตร์พบว่าบริเวณพื้นที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เคยเป็นที่ตั้งของพระราชวังบวรสถานมงคล (พระราชวังหน้า) มาก่อน
หลักฐานทางโบราณคดีสำคัญ ได้แก่
1. กำแพงพระนคร สมัยรัชกาลที่ 1 พระราชวังบวรสถานมงคลมีกำแพงวังล้อมรอบทั้งสี่ด้าน หากด้านทิศตะวันตกใช้กำแพงพระนครเป็นกำแพงวัง จากการขุดค้นทางโบราณคดีได้พบแนวกำแพงพระนครฝั่งตะวันตกของกรุงรัตนโกสินทร์ (กำแพงด้านที่ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา) บริเวณหอสมุดปัจจุบัน กำแพงพระนครฝั่งตะวันตกที่พบทอดยาวจากหอสมุดไปตามทิศเหนือในแนวเกือบขนานกับแม่น้ำเจ้าพระยา จนถึงบริเวณหน้าอาคารคณะรัฐศาสตร์ โดยพบว่าในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ได้รื้อแนวกำแพงพระนคร และสร้างอาคารโรงทหารขึ้นในบริเวณหน้าอาคารคณะรัฐศาสตร์ กำแพงพระนครที่พบมีเทคนิคการก่อสร้างจากชั้นล่างสุดถึงชั้นบนสุด ดังนี้
1) ขุดดินเป็นหลุมยาว ก้นสอบเข้า แล้วตอกเสาเข็มไม้เสลาเรียงติดกันตลอดแนว
2) วางเรียงอิฐบนพื้นดินเหนียว โดยเรียงใช้ด้านสั้นสลับด้านยาวทีละ 2 ก้อน
3) ถมอัดด้วยเศษอิฐหักและอิฐป่นเป็นชั้นหนา 30 เซนติเมตร แล้วจึงปรับผิวหน้าชั้นดินอิฐหัก อิฐป่นจนเรียบ
4) วางอิฐสภาพไม่สมบูรณ์แบบเดียวกับอิฐชั้นล่างสุด
5) ถมด้วยเศษอิฐหัก อิฐป่นเช่นเดียวกับชั้นล่างแล้วปรับผิวหน้าให้เรียบ
6) นำอิฐก้อนบางกว่า 2 ชั้นแรก มาเรียงโดยเอาสันตั้ง เรียงเอาด้านกว้างสลับด้านยาวทีละ 4 ก้อนตลอดจนทั้งแนว
7) ถมอัดด้วยเศษอิฐหัก อิฐป่นอีก 1 ชั้น ปรับผิวเรียบ แล้ววางอิฐแบบชั้นที่ 3 อีกชั้นหนึ่ง ขนาดความสูงของฐานรากกำแพงพระนครที่พบทั้งหมด มีความสูงประมาณ 1.5 เมตร สันนิษฐานว่ากำแพงพระนครที่สร้างในสมัยรัชกาลที่ 1 น่าจะสูงประมาณ 3.6 เมตร (เปรียบเทียบกับแนวกำแพงเมืองที่ ป้อมพระสุเมรุ ป้อมมหากาฬ และกำแพงเมืองหน้าวัดบวรนิเวศ)
2. อาคารโรงทหาร สมัยรัชกาลที่ 5 จากการขุดค้นทางโบราณคดีบริเวณหน้าอาคารคณะรัฐศาสตร์ ได้พบแนวฐานรากของอาคารก่ออิฐถือปูน กว้าง 11 เมตร ในระดับความลึกจากผิวดิน 60 เซนติเมตร ไม่สามารถระบุความยาวของอาคารได้ จากการสอบทานกับแผนที่เก่าและเอกสารประวัติศาสตร์ ทำให้สันนิษฐานได้ว่าร่องรอยของอาคารที่พบเป็นอาคาร โรงทหารราบ และต่อมาสมัยรัชกาลที่ 6 ได้มีการก่อเสริมหรือซ่อมแซมอาคารและได้เปลี่ยนเป็นกองพันทหารราบที่ 4 จนกระทั่งปี พ.ศ. 2478 - 2479 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมืองได้จัดตั้งขึ้น จึงรื้ออาคารที่ เคยอยู่ในพื้นที่เดิม และก่อสร้างอาคารของมหาวิทยาลัยทับบริเวณที่ขุดค้น
3. ปืนใหญ่และลูกกระสุน ปืนใหญ่หล่อจากเหล็ก พบบริเวณประตูป้อม จำนวน 9 กระบอก ลึกจากผิวดิน 1.20 เมตร เป็นปืนใหญ่ประเภทบรรจุกระสุนทางปากกระบอก ตัวอย่างปืนใหญ่สภาพสมบูรณ์ 1 กระบอก มีขนาดความยาวจากปากกระบอกถึงท้ายปืน 154 เซนติเมตร มีเส้นผ่าศูนย์กลางส่วนท้ายปืน 31 เซนติเมตร ลูกกระสุนปืนที่พบมีสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ พบทั้งแบบกลวงและแบบตัน
4. ซากเรือ ซากเรือที่พบมีสภาพค่อนข้างชำรุด มีขนาดประมาณ 3.30x14.80 เมตร สันนิษฐานว่าเรือขนาดสมบูรณ์จะมีขนาด 20 เมตร และเป็นเรือที่ใช้ในกิจการของทหารวังหน้าในช่วงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวและกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ซึ่งพื้นที่บริเวณนี้เคยเป็นอู่ต่อเรือหลวงฝ่ายวังหน้ามาก่อน
นอกจากนี้ เมื่อปี 2563 ม.ธรรมศาสตร์ ได้ปรับปรุงสายไฟใต้ดินตามแนวถนนเดิมบริเวณหน้าตึกโดม หอสมุด คณะวารสารศาสตร์ และสถาบันภาษา โดยขุดตักดินเป็นแนวยาวประมาณ กว้างประมาณ 1.1 เมตร ยาว 42 เมตร พบร่องรอยโบราณสถาน โบราณวัตถุ ที่ฝังอยู่ใต้พื้นคอนกรีต พบหลักฐานทางโบราณคดีที่สำคัญ (ภัทรวรรณ พงศ์ศิลป์ 2563) ได้แก่
- แนวโบราณสถานหมายเลข 1 ที่เป็นฐานก่ออิฐก้อนเล็ก สอและฉาบปูน วางตัวขนานกับแนวถนนหน้าตึกโดม สันนิษฐานว่าเชื่อมต่อกับแนวกำแพงวังหน้าที่สร้างสมัยรัชกาลี่ 4 ซึ่งได้พบหลักฐานจากการขุดค้นทาง.โบราณคดี ในบริเวณที่ตั้งหอสมุด ม.ธรรมศาสตร์ เมื่อปี 2540
- แนวโบราณสถานหมายเลข 2-3 มีลักษณะเป็นฐานอาคารก่อด้วยอิฐขนาดใหญ่ สอปูน แต่ถูกรบกวนจากกิจกรรมของมนุษย์ปัจจุบัน ทำให้หลงเหลือหลักฐานที่ไม่ชัดเจนนัก จากการศึกษาของผู้ขุดค้นพบว่าพื้นที่บริเวณนี้เคยเป็นที่ตั้งตำหนักฝ่ายในของวังหน้า แนวโบราณสถานนี้อาจเป็นฐานอาคารของฝ่ายในวังหน้า
กรรณิการ์ สุธีรัตนาภิรมย์. โบราณคดีเมือง โบราณคดีกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), 2562.
ภัทรวรรณ พงศ์ศิลป์. กำแพงวังหน้า มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์. กรุงเทพฯ: กองโบราณคดี กรมศิลปากร, 2563.
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. "ประวัติมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์". (ออนไลน์). เข้าถึงเมื่อ 25 สิงหาคม 2564. เข้าถึงจาก https://tu.ac.th/history_tu
สถาบันไทยคดีศึกษา. ประวัติศาสตร์บนพื้นที่วังหน้า-ธรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ : ฐานการพิมพ์, 2555.
สุนิสา มั่นคง. "การขุดแต่งโบราณสถานภายในเขตพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์." ศิลปากร 43, 1 (ม.ค. - ก.พ. 2543) : 54-99.
สุนิสา มั่นคง. รายงานฉบับที่ 1 การขุดแต่งโบราณสถานภายในเขตพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า). เอกสารอัดสำเนา, 2541ก
สุนิสา มั่นคง. รายงานฉบับที่ 2 การขุดแต่งโบราณสถานภายในเขตพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า). เอกสารอัดสำเนา. 2541ข
สุนิสา มั่นคง. วังหน้ารัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ : มติชน, 2545