โพสต์เมื่อ 3 เม.ย. 2022
ชื่ออื่น : วัดกะพัง
ที่ตั้ง : เลขที่ 28 ถ.เวียนกะพัง
ตำบล : ทับเที่ยง
อำเภอ : เมือง
จังหวัด : ตรัง
พิกัด DD : 7.572362 N, 99.624632 E
เขตลุ่มน้ำหลัก : ตรัง
เขตลุ่มน้ำรอง : คลองปอน, คลองน้ำเจ็ด
จากที่ทำการองค์การบริหารส่วนจังหวัดตรัง ใช้ถนนพัทลุง (ถนนเพชรเกษม) มุ่งหน้าไปทางตะวันออก มุ่งหน้าไปทางจังหวัดพัทลุง ประมาณ 1.5 กิโลเมตร เมื่อถึงสามแยกหน้าอนุสาวรีย์พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี ให้เลี้ยวซ้ายใข้ถนนควรหาญ ประมาณ 150 เมตร พบสามแยกให้เลี้ยวขวา ไปอีกประมาณ 170 เมตรพบสามแยกให้เลี้ยวซ้ายใช้ถนนเวียนกะพัง ไปตามถนนประมาณ 700 เมตร พบวัดกะพังสุรินทร์ทางขวามือ
สามารถเข้าเยี่ยมโบราณสถานอุโบสถหลังเก่าของวัดกะพังสุรินทร์ได้ทุกวัน โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย แต่โดยปกติไม่เปิดให้เข้าชมด้านใน หากต้องการเข้าชมด้านในหรือติดต่อทางวัด สามารถติดต่อได้ที่ โทร.0-7522-6571
วัดกะพังสุรินทร์, สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ, กรมศิลปากร
ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 116 ตอนพิเศษ 17ง หน้า 3 วันที่ 17 มีนาคม 2542
สภาพพื้นที่เป็นชายเนินเตี้ย ๆ ที่ลาดเอียงจากทิศเหนือไปสู่ทุ่งนา บริเวณทิศเหนือของวัดเป็นที่ตั้งของสระกะพังหรือสระกะพังสุรินทร์ สระน้ำขนาดใหญ่ ที่ปัจจุบันได้รับการพัฒนาเป็นสวนสาธารณะสระกะพังสุรินทร์ ใกล้ ๆ มีหนองน้ำเรียกว่า “สระกระพัง” สภาพแวดล้อมโดยทั่วไปเป็นเขตเมือง
แม่น้ำตรัง, คลองน้ำเจ็ด, คลองปอน
ตะกอนเศษหินเชิงเขาและตะกอนผุพังอยู่กับที่ สมัยโฮโลซีน ลักษณะตะกอนเป็นกรวด ทราย ทรายแป้ง ศิลาแลง และเศษหิน (กรมทรัพยากรธรณี 2550)
วัดกะพังสุรินทร์ ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ยกฐานะเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ใน พ.ศ.2547 (สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ 2565) สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2440 เดิมชื่อ “วัดกะพัง” ตั้งอยู่บริเวณชายเนินเตี้ย ๆ ที่ลาดเอียงจากทิศเหนือไปสู่ทุ่งนา บริเวณด้านทิศเหนือของวัดมีหนองน้ำเรียกว่า “สระกระพัง” ต่อมาในสมัยพระยาสุรินทราชา เป็นสมุหเทศาภิบาล ได้พัฒนาสระกะพังให้เป็นที่พักผ่อน และเรียกว่า “สระกระพังสุรินทร์” โดยตั้งตามชื่อของสระน้ำ วัดกะพังสุรินทร์ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ.2480
อาคารโบราณสถานได้แก่ อุโบสถ กว้าง 9.5 เมตร ยาว 15.4 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ.2480 ลักษณะทางสถาปัตยกรรมแบบพื้นถิ่นภาคใต้ โครงสร้างเป็นเสาไม้ ฝาผนังหล่อปูน หลังคาหน้าจั่ว 2 ตับ ซ้อนกันสามชั้น ภายในประดิษฐานพระประธานที่อัญเชิญมาจากพุทธคยาราว พ.ศ.2509 ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ทหารญี่ปุ่นได้ใช้วัดนี้เป็นที่ตั้งกองกำลังเพื่อต่อสู้กับฝ่ายตรงข้าม (ภาณุวัฒน์ เอื้อสามาลย์ และคณะ 2562: 131)
สิ่งสำคัญของวัดอีกอย่างหนึ่งคือ ห้องสมุดแห่งแรกของจังหวัดตรังที่เป็นแหล่งศูนย์รวมวิชาความรู้แก่ภิกษุสามเณรในเรื่องปริยัติธรรม
กรมทรัพยากรธรณี. การจำแนกเขตเพื่อการจัดการด้านธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณีจังหวัดตรัง. กรุงเทพฯ: หจก. ไอเดีย สแควร์,2550.
กรมศิลปากร. "วัดกะพังสุรินทร์" ระบบภูมิสารสนเทศ แหล่งมรดกทางศิลปวัฒนธรรม. (ออนไลน์). เข้าถึงเมื่อ 15 มกราคม 2565. เข้าถึงจาก http://gis.finearts.go.th/fineart/
ภาณุวัฒน์ เอื้อสามาลย์, ศิริพร สังข์ศิริ, และธวัชชัย ชั้นไพศาลศิลป์. 247 โบราณสถานภาคใต้ที่ขึ้นทะเบียนแล้วและข้อมูลหลักฐานใหม่ทางโบราณคดี. นครศรีธรรมราช : สำนักศิลปากรที่ 12 นครศรีธรรมราช, 2561.
สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. ระบบทะเบียนวัด. (ออนไลน์). เข้าถึงเมื่อ 15 มกราคม 2565. เข้าถึงจาก http://binfo.onab.go.th/Temple/Temple-List-view.aspx