ที่หล่อปืนใหญ่นางพญาตานีและเตาหลอม


โพสต์เมื่อ 3 เม.ย. 2022

ชื่ออื่น : ที่หล่อปืนปัตตานี, ที่หล่อปืนใหญ่นางพญาตานีและเตาหลอม(แหล่งที่2)

ที่ตั้ง : ถ.ปัตตานี - นราธิวาส (42) ม.3 บ้านกรือเซะ

ตำบล : ตันหยงลุโละ

อำเภอ : เมือง

จังหวัด : ปัตตานี

พิกัด DD : 6.872404 N, 101.307610 E

เขตลุ่มน้ำหลัก : ปัตตานี, อ่าวไทย

เขตลุ่มน้ำรอง : คลองกรือเซะ

เส้นทางเข้าสู่แหล่ง

จากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดปัตตานี ใช้ทางหลวงหมายเลข 42 (ถ.เพชรเกษม ช่วงปัตตานี-นราธิวาส) ไปทางตะวันออกมุ่งหน้าตำบลตันหยงลุโละ หรือมุ่งหน้ามัสยิดกรือเซะ ประมาณ 4.6 กิโลเมตร จะพบแหล่งโบราณคดีตั้งอยู่ริมถนนทางขวามือ (ต้องกลับรถเพื่อไปยังแหล่ง) โดยอยู่ฝั่งตรงข้ามเยื้องกับซอยโรงเรียนจงรักสัตย์วิทยา

ประโยชน์ทางการท่องเที่ยว

ไม่เป็นแหล่งท่องเที่ยว

หน่วยงานที่ดูแลรักษา

กรมศิลปากร

การขึ้นทะเบียน

ขึ้นทะเบียนของกรมศิลปากร

รายละเอียดการขึ้นทะเบียน

- ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่ม  52 หน้า 3690 วันที่ 8 มีนาคม 2478

- ประกาศกำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน (เฉพาะแปลงที่ 2) ในราชกิจจานุเบกษา เบ่ม 83 ตอนที่ 40 หน้า 1781 วันที่ 3 พฤษภาคม 2509

ภูมิประเทศ

ที่ราบ

สภาพทั่วไป

ตั้งอยู่ริมถนนเพชรเกษม (ปัตตานี-นราธิวาส) สภาพเป็นพื้นที่โล่งที่อยู่ระหว่างถนนเพชรเกษมด้านทิศเหนือ กับคลองกรือเซะที่อยู่ทางทิศใต้

ความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง

8 เมตร

ทางน้ำ

ทะเลอ่าวไทย, คลองกรือเซะ, แม่น้ำปัตตานี

สภาพธรณีวิทยา

ตะกอนหาดทรายปัจจุบัน (กรมทรัพยากรธรณี 2559)

ยุคทางโบราณคดี

ยุคประวัติศาสตร์

สมัย/วัฒนธรรม

สมัยรัตนโกสินทร์, สมัยอยุธยา

ประวัติการศึกษา

ไม่พบผลลัพธ์

ประเภทของแหล่งโบราณคดี

แหล่งผลิต

สาระสำคัญทางโบราณคดี

ตำนานเมืองปัตตานี กล่าวว่า “รายาบีรู” ทรงมีรับสั่งให้เสนาบดีดำเนินการหล่อปืนใหญ่ขึ้น โดยสั่งการให้ห้ามจำหน่ายหรือส่งออกทองเหลืองเป็นเวลา 3 ปี เมือรวบรวมทางเหลืองได้มากเพียงพอแล้ว จึงรับสั่งให้หล่อปืนใหญ่ โดยพื้นที่ที่ใช้หล่อปืนใหญ่นั้นปรากฏร่องรอยของดินเป็นดินสีดำและไม่มีหญ้างอกเลยมาจนปัจจุบัน เมื่อหล่อปืนใหญ่เสร็จสิ้น รายาบีรู ประทานนามให้ปืนกระบอกใหญ่ 2 กระบอกว่า “ศรีปัตตานีและศรีนครา” ส่วนกระบอกเล็กนั้นประทานชื่อว่า “มหาเลลา”

ต่อมาใน พ.ศ.2329 สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท เสด็จยกทัพมาตีเมืองปัตตานีได้ จึงโปรดให้นำ “ปืนศรีปัตตานีและศรีนครา” ขึ้นเรือ แต่เกิดอุบัติเหตุทำให้ปืนศรีนคราตกน้ำสูญหายไปขณะเคลื่อนย้าย จึงได้แต่ปืนศรีปัตตานีมายังกรุงเทพฯ กระบอกเดียว พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงโปรดเกล้าฯ ให้แก้ไขลวดลายท้ายสังข์ ขัดสีเสียใหม่ และพระราชทานชื่อใหม่ว่า “ปืนพญาตานี” และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หล่อปืน “นารายณ์สังหาร” ตั้งไว้เป็นคู่กัน

จากการสำรวจทางโบราณคดี พบร่องรอยหลักฐานเกี่ยวกับกิจกรรมการหล่อปืนของเมืองปัตตานีในพื้นที่จำนวน 3 แปลง ประกอบด้วย แปลงที่ 1 ตั้งอยู่ในพื้นที่ ต.ตันหยงลุโละ ส่วนแปลงที่ 2 และ 3 ตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลบาราโหม (ภาณุวัฒน์ เอื้อสามาลย์ และคณะ 2561: 239)

ผู้เรียบเรียงข้อมูล-ผู้ดูแลฐานข้อมูล

ทนงศักดิ์ เลิศพิพัฒน์วรกุล

บรรณานุกรม

กรมทรัพยากรธรณี. การจำแนกเขตเพื่อการจัดการด้านธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณีจังหวัดปัตตานี. กรุงเทพฯ: บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จํากัด (มหาชน), 2559.

กรมศิลปากร. "ที่หล่อปืนใหญ่นางพญาตานีและเตาหลอม(แหล่งที่2)" ระบบภูมิสารสนเทศ แหล่งมรดกทางศิลปวัฒนธรรม. (ออนไลน์). เข้าถึงเมื่อ 15 มกราคม 2565. เข้าถึงจาก http://gis.finearts.go.th/fineart/

ภาณุวัฒน์ เอื้อสามาลย์, ศิริพร สังข์ศิริ,  และธวัชชัย ชั้นไพศาลศิลป์. 247 โบราณสถานภาคใต้ที่ขึ้นทะเบียนแล้วและข้อมูลหลักฐานใหม่ทางโบราณคดี. นครศรีธรรมราช : สำนักศิลปากรที่ 12 นครศรีธรรมราช, 2561.


ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ภาพเกี่ยวกับแหล่งโบราณคดี