กู่วัดน้อย


โพสต์เมื่อ 5 มิ.ย. 2022

ชื่ออื่น : วัดน้อย

ที่ตั้ง : ถ.ผากอง ต.ในเวียง อ.เมืองน่าน จ.น่าน

ตำบล : ในเวียง

อำเภอ : เมือง

จังหวัด : น่าน

พิกัด DD : 18.775999 N, 100.771290 E

เขตลุ่มน้ำหลัก : น่าน

เส้นทางเข้าสู่แหล่ง

โบราณสถานวัดน้อย ตั้งอยู่ภายในอาณาเขตของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน ริมถนนผากอง ตรงข้ามวัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร ภายในเขตเทศบาลเมืองน่าน

ประโยชน์ทางการท่องเที่ยว

เป็นแหล่งท่องเที่ยว

รายละเอียดทางการท่องเที่ยว

ปัจจุบันโบราณสถานวัดน้อยเป็นสถานที่เคารพสักการะและท่องเที่ยวแห่งหนึ่งภายในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน มีจุดดึงดูดนักท่องเที่ยวคือ วัดน้อยได้ชื่อว่าวัดที่เล็กที่สุดในประเทศไทย

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน เปิดทำการวันพุธถึงวันอาทิตย์ เวลา 08.30 - 16.30 น. สามารถติดต่อได้ตามที่อยู่

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน ถ.ผากอง ต.ในเวียง อ.เมืองน่าน จ.น่าน รหัสไปรษณีย์ 55000

โทรศัพท์ 0-5471-0561, 0-5477-2777

โทรสาร 0-5477-2777

การเข้าชมเฉพาะโบราณสถานวัดน้อยจะไม่เสียค่าเข้าชม เนื่องจากตั้งอยู่ภายนอกพิพิธภัณฑ์ แต่หากต้องการเข้าชมภายในพิพิธภัณฑ์ ต้องเสียค่าธรรมเนียมคนละ 30 บาท สำหรับคนไทย และ 100 บาท สำหรับชาวต่างชาติ

หน่วยงานที่ดูแลรักษา

กรมศิลปากร

การขึ้นทะเบียน

ไม่ขึ้นทะเบียน

รายละเอียดการขึ้นทะเบียน

ตัวโบราณสถานวัดน้อย ยังไม่ได้ทำประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานเฉพาะ แต่โบราณสถานวัดน้อยอยู่ในอาณาเขตของ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน ซึ่งประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถาน ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 103 ตอนที่ 65 วันที่ 22 เมษายน 2529

ภูมิประเทศ

ที่ราบ

สภาพทั่วไป

โบราณสถานวัดน้อย ตั้งอยู่ใต้ต้นไม้ใหญ่ ภายในสนามหญ้าด้านหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน ซึ่งเคยเป็นคุ้มของอดีตเจ้าผู้ครองนครน่าน (หอคำ) และศาลากลางจังหวัดน่าน

ความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง

205 เมตร

ทางน้ำ

แม่น้ำน่าน

สภาพธรณีวิทยา

ตะกอนที่ราบลุ่มน้ำพาในสมัยโฮโลซีน (กรมทรัพยากรธรณี 2550)

ยุคทางโบราณคดี

ยุคประวัติศาสตร์

สมัย/วัฒนธรรม

สมัยรัตนโกสินทร์, สมัยรัชกาลที่ 5

อายุทางโบราณคดี

ราว พ.ศ.2416

ประวัติการศึกษา

ชื่อผู้ศึกษา : กรมศิลปากร

ปีที่ศึกษา : พ.ศ.2545

วิธีศึกษา : บูรณปฏิสังขรณ์, ปรับปรุงภูมิทัศน์

ผลการศึกษา :

โครงการบูรณะและปรับปรุงภูมิทัศน์พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน อำเภอเมือง จังหวัดน่าน โดยสำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ 6 เชียงใหม่ ว่าจ้างห้างหุ้นส่วรจำกัดช.ประชุมพันธุ์การช่าง

ประเภทของแหล่งโบราณคดี

ศาสนสถาน

สาระสำคัญทางโบราณคดี

โบราณสถานวัดน้อย ตั้งอยู่ใต้ต้นไม้ใหญ่ ภายในสนามหญ้าด้านหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน ซึ่งเคยเป็นคุ้มของอดีตเจ้าผู้ครองนครน่าน (หอคำ) และศาลากลางจังหวัดน่าน ไม่ปรากฏปีที่สร้างโบราณสถาน แต่มีเรื่องเล่าสืบต่อกันมาว่าสร้างโดยพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 63 โดยมีสาเหตุการสร้างเกิดจากพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ ได้กราบบังคมทูลถึงจำนวนวัดในเมืองน่านต่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 แต่ปรากฏว่านับจำนวนเกินไป 1 วัด จึงได้สร้างวัดน้อยแห่งนี้ขึ้นเพื่อให้ครบตามจำนวนที่กราบบังคมทูลไป

หากเป็นไปตามเรื่องเล่าดังกล่าว ก็พออนุมานได้ว่าสร้างขึ้นหลังปี พ.ศ.2416 เพราะพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ เคยเข้าเฝ้ารัชกาลที่ 5 เพียงครั้งเดียวในปี พ.ศ.2416

ลักษณะของโบราณสถานเป็นวิหารขนาดเล็ก (คล้ายศาล) ก่ออิฐถือปูนทั้งหลัง ขนาดกว้าง 1.98 เมตร ยาว 2.34 เมตร สูง 3.35 เมตร ตัววิหารหันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีช่องประตูที่ด้านหน้าเพียงช่องเดียว หลังคาจั่ว ส่วนฐานสูงเป็นฐานบัวคว่ำบัวหงาย รูปแบบศิลปกรรมล้านนาสกุลช่างน่าน

ปัจจุบันภายในวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปไม้และแผงพระพิมพ์ไม้อยู่ภายใน นอกจากนั้นยังมีพระพุทธรูปสมัยปัจจุบันประดิษฐานอยู่ภายในอีกหลายองค์

ผู้เรียบเรียงข้อมูล-ผู้ดูแลฐานข้อมูล

ทนงศักดิ์ เลิศพิพัฒน์วรกุล

บรรณานุกรม

กรมทรัพยากรธรณี. แผนที่ธรณีวิทยาจังหวัดน่าน. (ออนไลน์). กรมทรัพยากรธรณี, 2550. เข้าถึงเมื่อ 31 พฤษภาคม 2565. เข้าถึงจาก http://www.dmr.go.th/download/pdf/North/Nan.pdf

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ภาพเกี่ยวกับแหล่งโบราณคดี