วัดปัจจันตาราม


โพสต์เมื่อ 7 เม.ย. 2022

ชื่ออื่น : วัดพรมแดน

ที่ตั้ง : ม.6

ตำบล : นาโคก

อำเภอ : เมือง

จังหวัด : สมุทรสาคร

พิกัด DD : 13.485556 N, 100.054132 E

เขตลุ่มน้ำหลัก : แม่กลอง, ท่าจีน, สุนัขหอน

เขตลุ่มน้ำรอง : คลองเขตเมือง

เส้นทางเข้าสู่แหล่ง

จากจังหวัดสมุทรสาคร ใช้ถนนหมายเลข 3242 ไปทางคู่ขนานพระราม 2 ประมาณ 1.4 กิโลเมตร ไปตามทางถนนทางหลวงหมายเลข 35 ไปทางด้านทิศใต้สู่ตำบลกาหลง ประมาณ 17.3 กิโลเมตร ใช้ถนนหมายเลข 3092 ไปยังวัดปัจจันตาราม ประมาณ 12.3 กิโลเมตร

ประโยชน์ทางการท่องเที่ยว

เป็นแหล่งท่องเที่ยว

รายละเอียดทางการท่องเที่ยว

เป็นพุทธศาสนสถานที่มีการใช้งานอยู่ในปัจจุบัน

หน่วยงานที่ดูแลรักษา

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ, วัดปัจจันตาราม

การขึ้นทะเบียน

ไม่ขึ้นทะเบียน

ภูมิประเทศ

ที่ราบ

สภาพทั่วไป

สภาพพื้นที่เป็นที่ราบลุ่มริมน้ำ ด้านทิศเหนือของวัดติดกับคลองสุนัขหอน ทิศใต้ติดกับถนนทางหลวงชนบทและที่เอกชน ทิศตะวันออกติดกับถนนทางหลวงชนบทและที่เอกชน ทิศตะวันตกติดกับคลองเขตเมืองและที่เอกชน มีเนื้อที่ตั้งวัด 10 ไร่ 3 งาน 15 ตารางวา

ความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง

1-2 เมตร

ทางน้ำ

คลองสุนัขหอน, คลองเขตเมือง, แม่น้ำแม่กลอง, แม่น้ำท่าจีน

สภาพธรณีวิทยา

ดินชุดท่าจีน เป็นดินเค็มชายฝั่งทะเล ลักษณะเป็นดินเลน เนื้อดินเหนียวและเค็มจัด เป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง แต่เป็นดินเค็มเพราะน้ำทะเลท่วมถึง และระดับน้ำใต้ดินขึ้นมาสูงเกือบถึงหน้าดินตลอดปี (คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ 2543 : 3)

ยุคทางโบราณคดี

ยุคประวัติศาสตร์

สมัย/วัฒนธรรม

สมัยรัตนโกสินทร์

อายุทางโบราณคดี

พ.ศ.2460

ประวัติการศึกษา

ไม่พบผลลัพธ์

ประเภทของแหล่งโบราณคดี

ศาสนสถาน

สาระสำคัญทางโบราณคดี

วัดปัจจันตาราม เป็นวัดราษฎร์ สังกัดมหานิกาย ตั้งเมื่อ พ.ศ.2460 ตามคำบอกเล่ามาว่า ชาวรามัญร่วมกับคนไทยที่อยู่ในละแวกบ้านนั้นตั้งชื่อว่า “วัดพรมแดน” เพราะอยู่ระหว่างเขตแดนจังหวัดสมุทรสาคร และจังหวัดสมุทรสงคราม ต่อมาท่านเจ้าคุณสุนทรคุณากร ได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น “วัดปัจจันตาราม” จนกระทั่งปัจจุบัน  ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ.2492  เขตวิสุงคามสีมา กว้าง 20 เมตร ยาว 40 เมตร อาคารเสนาสนะส่วนใหญ่เป็นอาคารสมัยใหม่ที่มีการก่อสร้างเมื่อไม่นานมานี้ ปัจจุบันมีการดำเนินการบูรณะซ่อมแซมวิหารหลวงพ่อพุทธศิลาแดง(หลวงพ่อแดง) ซึ่งเป็นพระพุทธรูปศิลาสีแดง มีประวัติความเป็นมาว่า สร้างมาจากหินศิลาสีแดง สร้างสมัยอยุธยาตอนกลาง อายุราว 400-500  ปี ชาวอยุธยานำมาถวาย เพื่อเป็นพระประธานในอุโบสถ ต่อมา พ.ศ.2523 สมเด็จพระธีรญาณมุนี วัดประทุมคงคา กรุงเทพฯ นิมิตว่า หลวงพ่อพุทธศิลาแดง ให้ท่านช่วยแจ้งเจ้าอาวาส ว่าหลวงพ่อต้องการประดิษฐานภายนอกอุโบสถ เพื่อต้องการให้ประชาชนและชาวบ้านได้สักการะ สมเด็จจึงแจ้งเจ้าอาวาส ต่อมาทางวัดจึงนำหลวงพ่อประดิษฐานไว้ที่วิหารทรงไทยจัตุรมุข หลวงพ่อศิลาแดง เป็นพระพุทธรูปหินทรายแดงปางสมาธิ

ผู้เรียบเรียงข้อมูล-ผู้ดูแลฐานข้อมูล

ภาวิณี รัตนเสรีสุข

บรรณานุกรม

กองพุทธศาสนสถาน กรมศาสนา. ประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม 21. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา, 2545.

คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ. วัฒนธรรม พัฒนาการ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดสมุทรสาคร. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2543.

ประวัติวัดในจังหวัดสมุทรสาคร สังกัดมหานิกาย จำนวน 96 วัด. เอกสารโรเนียว. จัดเก็บอยู่ในสำนักศิลปากรที่ 1 ราชบุรี, ม.ป.ป.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ภาพเกี่ยวกับแหล่งโบราณคดี