ภูเขาหลักจัน


โพสต์เมื่อ 3 เม.ย. 2022

ชื่ออื่น : เขาหลักจันทร์, สำนักสงฆ์เขาหลักจันทร์

ที่ตั้ง : บ้านเขาโหรง ม.12

ตำบล : น้ำผุด

อำเภอ : เมือง

จังหวัด : ตรัง

พิกัด DD : 7.703630 N, 99.729242 E

เขตลุ่มน้ำหลัก : ตรัง

เขตลุ่มน้ำรอง : คลองลำภูรา

เส้นทางเข้าสู่แหล่ง

จากตัวจังหวัดตรัง ใช้ทางหลวงหมายเลข 4123 มุ่งหน้าทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือหรือมุ่งหน้าตำบลน้ำผุด ประมาณ 18 กิโลเมตร จะพบวัดน้ำผุดทางซ้ายมือ เลยทางเข้าวัดน้ำผุดไปประมาณ 2.5 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายไปตามถนนที่มุ่งสู่เขาหลัก ประมาณ 700 เมตร จะพบทางเข้าสู่สำนักสงฆ์เขาหลักจันทร์ทางซ้ายมือ

ประโยชน์ทางการท่องเที่ยว

เป็นแหล่งท่องเที่ยว

รายละเอียดทางการท่องเที่ยว

ปัจจุบันทางสำนักสงฆ์เขาหลักจันทร์ ได้เข้ามาพัฒนาพื้นที่ถ้ำ สร้างบันไดทางขึ้นสู่ถ้ำ รวมถึงพระพุทธรูปภายในอาณาบริเวณถ้ำ ผู้สนใจสามารถเข้าเยี่ยมชมได้ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 8.00-18.00 น. โดยไม่เสียค่าเข้า นอกจากนั้นในพื้นที่ใกล้เคียงยังมีสถานที่ท่งเที่ยวตามธรรมชาติอีกหลายแห่ง เช่นน น้ำตกเขาหลัก ที่มีกิจกรรมล่องแก่ง เป็นต้น

หน่วยงานที่ดูแลรักษา

สำนักสงฆ์เขาหลักจันทร์, กรมป่าไม้

การขึ้นทะเบียน

ขึ้นทะเบียนของกรมศิลปากร

รายละเอียดการขึ้นทะเบียน

ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 52 หน้า 3685 วันที่ 8 มีนาคม 2478

ภูมิประเทศ

ถ้ำ/เพิงผา, ภูเขา

สภาพทั่วไป

เป็นภูเขาหินปูนที่วางตัวทอดยาวไปตามทิศเหนือ-ใต้ โดยภูเขามีความยาวประมาณ 2 กิโลเมตร กว้าง 700 เมตร ตั้งอยู่ติดกับแนวเทือกเขานครศรีธรรมราชที่กั้นระหว่างจังหวัดตรังกับจังหวัดพัทลุง (เขาหลักจันตั้งอยู่ทางตะวันออกของเทือกเขานครศรีธรรมราช) มีคลองลำภูราไหลจากเทือกเขาทางด้านตะวันออก ผ่านภูเขาหลักจันทั้งทางด้านตะวันอกและตะวันตก ก่อนที่จะไหลลงสู่แม่น้ำตรังทางทิศตะวันตก

ถ้ำที่พบหลักฐานทางโบราณคดีอยู่ที่บริเวณเขาหลักจัน ที่อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของแนวเขา ปากถ้ำหันหน้าไปทางทิศตะวันตะวันออก ปัจจุบันปากถ้ำเชิงเขาเป็นที่ตั้งของสำนักสงฆ์เขาหลักจันทร์ และเป็นผู้ดูแลพื้นที่ถ้ำในปัจจุบันด้วย 

ความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง

137 เมตร

ทางน้ำ

คลองลำภูรา, แม่น้ำตรัง

สภาพธรณีวิทยา

ภูเขาหินปูนในกลุ่มหินราชบุรี ยุคเพอร์เมืยน อายุประมาณ 245-286 ปีมาแล้ว (กรมทรัพยากรธรณี 2550)

ประวัติการศึกษา

ไม่พบผลลัพธ์

ประเภทของแหล่งโบราณคดี

แหล่งอยู่อาศัย, ศาสนสถาน, ที่พักชั่วคราว, ที่พัก

สาระสำคัญทางโบราณคดี

ภูเขาหลักจันเป็นภูเขาหินปูน มีถ้ำและเพิงผาอยู่บริเวณบนยอดเขา จากการดำเนินงานที่ผ่านมา เคยมีผู้พบเครื่องมือหิน และชิ้นส่วนภาชนะดินเผา ส่วนพระพุทธรูปโบราณที่อยู่ในถ้ำตามคำบอกเล่าของชาวบ้านกล่าวว่าถูกทำลายไปแล้ว ต่อมาในช่วง พ.ศ.2552 ได้มีการพบโครงกระดูกมนุษย์ที่ถ้ำเขาโหรง ซึ่งอยู่เทือกเขาเดียวกับภูเขาหลักจัน จึงแสดงให้เห็นว่าสถานที่แห่งนี้เคยเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของมนุษย์มาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์และกระจายตัวอยู่ทั่วไปตามถ้ำในภูเขาแถบนี้ ปัจจุบันภูเขาหลักจันมีผู้สร้างพระพุทธรูปใหม่มาไว้ที่ปากถ้ำ พร้อมทำบันไดทางขึ้น และตั้งสำนักสงฆ์เขาหลักจันทร์อยู่เชิงเขา (ภาณุวัฒน์ เอื้อสามาลย์ และคณะ 2561: 126)

ผู้เรียบเรียงข้อมูล-ผู้ดูแลฐานข้อมูล

ทนงศักดิ์ เลิศพิพัฒน์วรกุล

บรรณานุกรม

กรมทรัพยากรธรณี. การจำแนกเขตเพื่อการจัดการด้านธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณีจังหวัดตรัง. กรุงเทพฯ: หจก. ไอเดีย สแควร์,2550.

กรมศิลปากร. "ภูเขาหลักจัน" ระบบภูมิสารสนเทศ แหล่งมรดกทางศิลปวัฒนธรรม. (ออนไลน์). เข้าถึงเมื่อ 1 มีนาคม 2565. เข้าถึงจาก http://gis.finearts.go.th/fineart/

ภาณุวัฒน์ เอื้อสามาลย์, ศิริพร สังข์ศิริ,  และธวัชชัย ชั้นไพศาลศิลป์. 247 โบราณสถานภาคใต้ที่ขึ้นทะเบียนแล้วและข้อมูลหลักฐานใหม่ทางโบราณคดี. นครศรีธรรมราช : สำนักศิลปากรที่ 12 นครศรีธรรมราช, 2561.

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. ระบบทะเบียนวัด. (ออนไลน์). เข้าถึงเมื่อ 1 มีนาคม 2565. เข้าถึงจาก http://binfo.onab.go.th/Temple/Temple-List-view.aspx


ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ภาพเกี่ยวกับแหล่งโบราณคดี