ตั้งอยู่ถนนหน้าค่าย ต.กันตัง อ.กันตัง จ.ตรัง เป็นสถานีรถไฟที่มีความผูกพันกับประวัติศาสตร์ของการรถไฟไทยและเสณาฐกิจของภาควต้ฝั่งอันดามัน เริ่มก่อสร้างในปี พ.ศ. 2454 โดดเด่นด้วยตัวคารที่เป็นอาคารไม้ชั้นเดียว ทรงปั้นหยา ทาด้วยสีเหลืองมัสตาร์ดสลับสีน้ำตาล
กรมการค้าภายใน (เดิม) และคลังราชการ ที่ตั้งอยู่บริเวณท่าราชวรดิฐและท่าเตียน เขตพระนคร กรุงเทพฯ นั้น มีประวัติการใช้พื้นที่มาตั้งแต่ก่อนการก่อตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ กระทั่งในสมัยรัตนโกสินทร์ ก็กลายมาเป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญเนื่องจากอยู่ติดกับพระบรมมหาราชวังและริมแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นวังที่ประทับของพระบรมวงศานุวงศ์ จนกลายมาเป็นแหล่งเศรษฐกิจการค้าสำคัญ ต่อเนื่องมาจนสมัยรัชกาลที่ 9
สถานีรถไฟธนบุรี หรือสถานีรถไฟบางกอกน้อย (เดิม) ปัจจุบันตั้งอยู่ในโรงพยาบาลศิริราช กรุงเทพฯ เคยเป็นสถานีต้นทางแห่งแรกของรถไฟสายใต้ ตัวสถานีรถไฟได้รับการออกแบบโดย ม.จ.โวฒยากร วรวรรณ สร้างแล้วเสร็จ พ.ศ. 2493 แต่ก่อนหน้าเป็นสถานีรถไฟ พื้นที่นี้เคยเป็นส่วนหนึ่งของวังหลังในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์
อาคารศุลกสถาน ตั้งอยู่ในซอยเจริญกรุง 36 กรุงเทพฯ สร้างขึ้นตั้งแต่ราวปี 2529 สมัยรัชกาลที่ 5 นับเป็นอาคารสำคัญที่แสดงถึงประวัติการปฏิรูประบบเศรษฐกิจการค้าของไทย ซึ่งเป็นผลจากการทำสนธิสัญญาบาวริงสมัยรัชกาลที่ 4 ปัจจุบันอาคารศุลกสถานกำลังได้รับการปรับปรุงเป็นโรงแรมขนาดใหญ่