กองหินที่ลานสาวเอ้ อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท ต.เมืองพาน อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี ปรากฏลวดลายภาพเขียนสีแดงยุคก่อนประวัติศาสตร์ เป็นเส้นแนวตั้งเรียงกันเป็นแถวจำนวน 22 เส้น และมีเส้นแนวนอนเชื่อมด้านล่างหลายช่วง นอกจากนี้ยังพบเศษภาชนะดินเผาเนื้อแกร่ง สีเทาเข้มและดำ ตกแต่งด้วลายขูดขีดเป็นเส้นคู่ขนานรอบคอภาชนะ
ตังอยู่ภายในอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท บ้านติ้ว ต.เมืองพาน อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี ปรากฏลวดลายภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์บนเพดานของเพิงหิน เป็นภาพเขียนสีกลุ่มหนึ่งที่เขียนเป็นลายเส้นรูปทรงไม่แน่นอน หยักไปมา ลายเส้นโค้ง ลายเส้นคู่ขนาน ลายรูปปสี่เหลี่ยมขนานกัน ลายเส้นรูปสามเหลี่ยม และลายเส้นรูปสี่เหลี่ยมมุมม มาประกอบเป็นรูปเดียวกัน จนหาจุดเริ่มต้นและสิ้นสุดไม่ได้
ตั้งอยู่ภายในอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท บ้านติ้ว ต.เมืองพาน อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี เพิงหินด่านใหญ่ มีปรากฏลวดลายภาพเขียนสีบนเพดานของเพิงหิน มีภาพ 2 กลุ่ม เขียนด้วยสีแดง ล้วนแล้วแต่เป็นภาพสัญลักษณ์ เช่น เส้นหยักคู่ขนาน เส้นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน เส้นหยักฟันปลา เส้นรูปตัวยู (U) เส้นโค้ง เส้นตรงคู่ขนาน เส้นรูปตัววี (V)
อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท บ้านเมืองพาน ต.เมืองพาน อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี
อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท บ้านเมืองพาน ต.เมืองพาน อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี
อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท บ้านเมืองพาน ต.เมืองพาน อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี
รอยพระบาทหลังเต่า อยู่ภายในอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท บ้านเมืองพาน ต.เมืองพาน อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี เป็นรอยพระพุทธบาทที่ประดิษฐานอยู่บนลานหินบริเวณสันเขาทางทิศใต้ของภูพระบาท ที่มาของชื่อพระพุทธบาทหลังเต่า มาจากก้อนหินขนาดใหญ่ก้อนหนึ่งที่อยู่บริเวณใกล้เคียง มีลักษณะด้านบนโค้งและมีลวดลายคล้ายหลังเต่า ชาวบ้านจึงเรียกพระพุทธบาทที่อยู่บริเวณใกล้เคียงกันว่า “พระพุทธบาทหลังเต่า”
อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท บ้านติ้ว ต.เมืองพาน อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี พบภาพเขียนสีก่อประวัติศาสตร์ปรากฏอยู่บนเพดานของเพิงหิน ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 จุด ที่โดดเด่นจนเป็นที่มาของชื่อถ้ำหรือเพิงหินคือภาพในจุดที่ 3 ที่มีลวดลายเป็นเส้นตรงหักมุมหลายครั้ง คล้ายกับหัวกวางมีเขา
ต.หนองผึ้ง อ.สารภี จ.เชียงใหม่ สภาพโบราณสถานโดยรวมคงเหลือแต่เพียงส่วนฐานเท่านั้น ทำให้ไม่สามารถระบุรูปแบบที่ชัดเจนของโบราณสถานได้ แต่จากโบราณวัตถุที่พบคือชิ้นส่วนพระพุทธรูปปูนปั้น และภาชนะดินเผาจากแหล่งเตาล้านนา กำหนดอายุได้ราวพุทธศตวรรษที่ 21 – 22
อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท บ้านติ้ว ต.เมืองพาน อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี
อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท บ้านติ้ว ต.เมืองพาน อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี
อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท บ้านผักบุ้ง ต.กลางใหญ่ อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี