ม.3 บ้านเมืองน้อยใต้ ต.ในเมือง (เทศบาลเมืองชัยภูมิ) อ.เมืองชัยภูมิ จ.ชัยภูมิ
ตั้งอยู่ภายในอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท บ้านติ้ว ต.เมืองพาน อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี ปรากฏลวดลายของภาพเขียนสียุคก่อนประวัติศาสตร์ 2 จุด เขียนเป็นภาพลายเส้นด้วยสีแดง มีลวดลายเป็นเส้นคู่ขนานคล้ายตัววาย (Y) กากบาท ภาพเส้นคดขนานกันหลายเส้น ลายรูปวงกลมที่มีเส้นคู่ขนานยื่นออกไป 6 ทิศทาง คล้ายกับพระอาทิตย์ นอกจากนี้ยังมีเส้นคู่ขนานที่เป็นตัวเชื่อมต่อกับภาพต่างๆ อีกด้วย
เมืองโบราณสำคัญของล้านนา ปัจจุบันตั้งอยู่ที่ ต.ท่าวังตาล อ.สารภี จ.เชียงใหม่ เวียงกุมกามน่าจะถูกสร้างขึ้นในช่วงพุทธศตวรรษที่ 19 แต่ก่อนหน้านั้นก็เป็นที่ตั้งของชุมชนขนาดเล็กในวัฒนธรรมหริภุญชัย ราวพุทธศตวรรษที่ 18 กระทั่งถูกทิ้งร้างไปเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 23
ตังอยู่ภายในอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท บ้านติ้ว ต.เมืองพาน อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี ปรากฏภาพเขียนสียุคก่อนประวัติศาสตร์ เขียนด้วยสีแดงเป็นลายคดคล้ายงูภาพเดียว เป็นการเขียนแบบหยาบๆ ทำนองไม่ตั้งใจเขียน คล้ายทดลองแปร
กองหินที่ลานสาวเอ้ อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท ต.เมืองพาน อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี ปรากฏลวดลายภาพเขียนสีแดงยุคก่อนประวัติศาสตร์ เป็นเส้นแนวตั้งเรียงกันเป็นแถวจำนวน 22 เส้น และมีเส้นแนวนอนเชื่อมด้านล่างหลายช่วง นอกจากนี้ยังพบเศษภาชนะดินเผาเนื้อแกร่ง สีเทาเข้มและดำ ตกแต่งด้วลายขูดขีดเป็นเส้นคู่ขนานรอบคอภาชนะ
ตังอยู่ภายในอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท บ้านติ้ว ต.เมืองพาน อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี ปรากฏลวดลายภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์บนเพดานของเพิงหิน เป็นภาพเขียนสีกลุ่มหนึ่งที่เขียนเป็นลายเส้นรูปทรงไม่แน่นอน หยักไปมา ลายเส้นโค้ง ลายเส้นคู่ขนาน ลายรูปปสี่เหลี่ยมขนานกัน ลายเส้นรูปสามเหลี่ยม และลายเส้นรูปสี่เหลี่ยมมุมม มาประกอบเป็นรูปเดียวกัน จนหาจุดเริ่มต้นและสิ้นสุดไม่ได้
ตั้งอยู่ภายในอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท บ้านติ้ว ต.เมืองพาน อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี เพิงหินด่านใหญ่ มีปรากฏลวดลายภาพเขียนสีบนเพดานของเพิงหิน มีภาพ 2 กลุ่ม เขียนด้วยสีแดง ล้วนแล้วแต่เป็นภาพสัญลักษณ์ เช่น เส้นหยักคู่ขนาน เส้นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน เส้นหยักฟันปลา เส้นรูปตัวยู (U) เส้นโค้ง เส้นตรงคู่ขนาน เส้นรูปตัววี (V)
ต.ท่าวังตาล อ.สารภี จ.เชียงใหม่ เนื่องจากตั้งอยู่บนที่ดินของนายหลาน จึงเรียกชื่อตามเจ้าของที่ดิน โบราณสถานวัดกู่อ้ายหลาน ประกอบด้วย วิหาร เจดีย์ กำแพงแก้ว และซุ้มโขง สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 19 – 21
ต.หนองผึ้ง อ.สารภี จ.เชียงใหม่ ที่มาของชื่อโบราณสถานมาจากเดิมบริเวณโบราณสถานมีลักษณะเป็นเนินที่มีต้นมะเกลือขนาดใหญ่ปกคลุมอยู่ โบราณสถานประกอบด้วยวิหาร เจดีย์ และกำแพงแก้ว น่าจะสร้างขึ้นในช่วงพุทธศตวรรษที่ 21–22
ต.ท่าวังตาล อ.สารภี จ.เชียงใหม่ บริเวณโบราณสถานแต่เดิมมีต้นริดไม้หรือต้นเพกาขึ้นเป็นจำนวนมาก ชาวบ้านจึงเรียกโบราณสถานแห่งนี้ว่า วัดกู่ริดไม้ โบราณสถานสำคัญคือ วิหาร เจดีย์ ฐานโบาณสถานแปดเหลี่ยม กำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ 20 – 21