ตั้งอยู่ ต.ห้วยขุนราม อ.พัฒนานิคม จ.ลพบุรี พบหลักฐานของชุมชนและสุสานยุคก่อนประวัติศาสตร์ ตั้งแต่ 3,500-1,500 ปีมาแล้ว หลักฐานสำคัญ เช่น หลุมฝังศพมนุษย์ และวัตถุอุทิศให้กับศพ ทั้งเครื่องมือหินขัด เครื่องประดับทำจากหินอ่อนและเปลือกหอยทะเล ภาชนะดินเผา เครื่องประดับทำจากสำริด เครื่องมือเหล็ก ลูกปัดหินกึ่งมีค่า ลูกปัดแก้ว แม่พิมพ์สำหรับหล่อหัวลูกศรโลหะ แวดินเผา ลูกกระสุนดินเผา เป็นต้น
แหล่งโบราณคดีบ้านยางทองใต้ ต.สันปูเลย อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ เป็นพื้นที่ประกอบพิธีกรรมฝังศพ ของคนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย หรือสมัยเหล็ก ราวพุทธศตวรรษที่ 1-5
ตั้งอยู่บ้านวังไฮ ต.เวียงยอง อ.เมืองลำพูน ปรากฏร่องรอยหลักฐานการใช้พื้นที่เป็นแหล่งสุสานมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย กระทั่งเข้าสู่ยุคประวัติศาสตร์ สมัยหริภุญชัย
ต.กำพวน อ.สุขสำราญ จ.ระนอง แหล่งโบราณคดีแห่งนี้เป็นเมืองท่ายุคแรก ๆ ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีการติดต่อทางการค้ากับอินเดียอย่างชัดเจน หลักฐานสำคัญที่พบมีทั้งลูกปัดแก้ว ลูกปัดหินกึ่งมีค่า ลูกปัดทอง เครื่องปั้นดินเผาจากทั้งที่ผลิตในท้องถิ่นและจากดินแดนตะวันตก
ต.สำเภาล่ม อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา พื้นที่ที่เป็นที่ตั้งของชุมชนชาวโปรตุเกสสมัยอยุธยา นำเสนอผลการขุดค้นพื้นที่โบสถ์และสุสานของชาวโปรตุเกสและคริสตชนในสมัยอยุธยา
วัดพรหมทินใต้ ต.หลุมข้าว อ.โคกสำโรง จ.ลพบุรี พบหลักฐานการอยู่อาศัยมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ต่อเนื่องมาจนสมัยทวารวดี ที่เป็นเมืองโบราณมีคูน้ำคันดินล้อมรอบ พบจารึกอักษรปัลลวะ ภาษาบาลีและสันสกฤต เหรียญเงิน ลูกปัด เป็นต้น