ต.ตะกั่วป่า อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยพระยาเสนานุชิต (นุช ณ นคร) เป็นเจ้าเมืองตะกั่วป่า ระหว่าง พ.ศ.2383 – 2424 โดยสร้างล้อมรอบจวนที่พัก เป็นลักษณะของกำแพงค่ายป้องกันศัตรู อาจสร้างขึ้นเพื่อป้องกันอันตรายจากลุ่มชาวจีนที่ก่อความวุ่นวายขึ้นในเมืองตะกั่วป่าบ่อยครั้ง
ต.ท้ายช้าง (เทศบาลเมืองพังงา) อ.เมืองพังงา จ.พังงา เจดีย์เขาล้างบาตร์ ไม่ปรากฏหลักฐานการก่อสร้าง ผู้ค้นพบคนแรกคือพระยาบริรักษ์ภูธร (แสง ณ นคร) หรือเจ้าคุณงา เจ้าเมืองพังงาคนแรก (เป็นเจ้าเมืองระหว่าง พ.ศ.2383-2404) ลักษณะเป็นเจดีย์ย่อมุมซ้อนกันสามชั้น ประดับด้วยลายเครือเถา แกนกลางเป็นไม้แก่นยาวต่อเนื่องถึงยอดเจดีย์
ต.วังสะพุง (เทศบาลเมืองวังสะพุง) อ.วังสะพุง จ.เลย โนนหลักเมือง 1 เป็นหลักเมืองของอำเภอวังสะพุง ลักษณะของหลักเมืองเป็นเสมาสมัยทวารวดี
ต.บ้านใหม่ อ.เมืองปทุมธานี หลุมหลบภัยสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2486 สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เนื่องด้วยทหารบกได้มาตั้งค่ายทหารสื่อสารที่วัดเทียนถวาย จังหวัดปทุมธานี จึงจำเป็นต้องสร้างบ้านพักและหลุมหลบภัยให้ในบริเวณป่าใกล้วัด
ต.เทพกระษัตรี อ.ถลาง จ.ภูเก็ต เมืองถลางบ้านดอนมีซากกำแพงที่ก่อด้วยอิฐ เคยเป็นที่ว่าการเมืองถลางบ้านดอนในสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศแห่งกรุงศรีอยุธยา มีเจ้าเมืองคือ จอมเฒ่าบ้านดอน มีศักดิ์เป็นลุงของท้าวเทพกระษัตรีและท้าวศรีสุนทร
ต.นาเตย อ.ท้ายเหมือง จ.พังงา วัดลุมพินีเป็นวัดราษฎร์สังกัดมหานิกาย โบราณสถานที่สำคัญภายในวัด คือ กุฏิหลังเก่า ซึ่งเป็นกุฏิไม้ทรงไทยพื้นถิ่น ตามประวัติกล่าวว่าสร้างเมื่อ พ.ศ. 2463 ในสมัยพระครูสุทัศนธรรมคุณ เป็นเจ้าอาวาส
ต.ตะกั่วป่า อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา ตามประวัติกล่าวว่าอุโบสถของวัดสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2479 เดิมชื่อ "วัดคงคา" ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2483 จึงเปลี่ยนชื่อเป็น "วัดคงคาพิมุข" ได้รับการบูรณะเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2503 โบราณสถานสำคัญคือ อุโบสถ และเจดีย์